โรงเรียน : นางรอง สพม.บุรีรัมย์
ระดับ : ระดับสหวิทยาเขต
กลุ่มสาระฯ : การงานฯ
เผยแพร่เมื่อ : 24 ก.พ. 2560 โดย : นางจารุณี การรัมย์ จำนวนผู้เข้าชม 588 คน
1.ความสำคัญของปัญหา
ในสภาพปัจจุบันการเรียนการสอน โดยได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้เป็นกรอบในการดำเนินงาน เพื่อสร้างผลผลิต ผลลัพธ์ให้เกิดกับผู้เรียนได้อย่างมีความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) และยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ซึ่งได้ระบุสาระสำคัญเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ ของกระทรวงศึกษาธิการ ที่สามารถตอบสนองต่อเป้าหมายของการพัฒนาประเทศได้ทั้งมิติความมั่นคง มติเศรษฐกิจ มิติสังคม และมิติการบริหารจัดการภาครัฐ ได้อย่างเป็นรูปธรรม กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) สำหรับเป็นเครื่องมือในการกำกับทิศทางการปฏิบัติงานของกระทรวงศึกษาธิการ และส่วนราชการ/หน่วยงานในสังกัด การบริหารจัดการพัฒนางาน แผนกลยุทธ์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 ดังนั้นกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี จัดให้มีการส่งเสริมทักษะความสามารถผู้เรียนด้าน งานบ้าน งานประดิษฐ์ เพื่อให้ผู้เรียนได้ค้นพบความสามารถและแสดงออก พัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์ การฝึกทดลองปฏิบัติ การนำไปใช้ และสืบทอดเอกลักษณ์ได้อย่างอิสระตามความถนัดตามความสนใจ ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม พัฒนาการด้านการเรียนรู้ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และมีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันในระดับต่างๆ ตามความเหมาะสม มุ่งมั่นส่งเสริมการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับสูงต่อไป
2.จุดประสงค์ของการดำเนินงาน
2.1 เพื่อส่งเสริมผู้เรียนแสดงออกด้านงานบ้าน งานประดิษฐ์ อาหารไทย ขนมไทย ขนมอบ ตามความถนัดและความสนใจ
2.2 เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.3 เพื่อให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติสร้างสรรค์ผลงานด้านงานบ้าน งานประดิษฐ์ อาหารไทย ขนมไทย เบเกอรี เกิดความภูมิใจต่อตนเอง ครอบครัว สถาบัน และชุมชน
2.4 เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
2.5 เพื่อสร้างเจตคติที่ดีต่อกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยีเพื่อนร่วมงานและสถาบัน
3. ขั้นตอนวิธีการและนวัตกรรมที่เป็นเลิศ (Flowchart ดังแนบ)
เตรียมนักเรียนที่มีทักษะด้านงานบ้าน งานประดิษฐ์ งานช่าง งานเกษตร ฝึกปฏิบัติหลาย ๆ ครั้งจนเกิดความชำนาญ ตาม
3.1 ขั้นตอนการดำเนินการตาม Flow Chart
1. วางแผน โดยเตรียมนักเรียนที่จะนำมาฝึกทักษะ
2. ค้นคว้า โดยค้นคว้าหาข้อมูลที่จะฝึกทักษะในการแข่งขันแต่ละรายการเพื่อมอบหมายให้
นักเรียนไดฝึก
3. ศึกษาตัวอย่าง ให้นักเรียนได้ศึกษาตัวอย่างจากข้อมูลการแข่งขันที่ผ่านมา
4. ฝึกปฏิบัติตามตัวอย่าง โดยให้นักเรียนฝึกตามตัวอย่างจนเกิดทักษะความชำนาญ
5. สร้างแนวคิดใหม่ ให้นักเรียนสร้างแนวคิดใหม่เป็นของตัวเอง แล้วทำตามแนวคิดใหม่จน
เกิดทักษะ
6. ประเมินผล ผ่าน / ไม่ผ่าน / ปรับปรุง
7. สรุป / รายงานผล
3.2 การดำเนินงานตามกิจกรรม เพื่อให้เกิดคุณลักษณะสุจริต
Best Practiceมีความสอดคล้องกับคุณลักษณะของโรงเรียนสุจริต 5 ประการ
1.ทักษะกระบวนการคิด
ความคิดริเริ่ม (originality) คือ ลักษณะความคิดที่แปลกใหม่ แตกต่างจากความคิดเดิม ประยุกต์ให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้น ที่ไม่ซ้ำกับของเดิม ไม่เคยปรากฏมาก่อน
ความคล่องในการคิด (fluency) คือ ความสามารถในการคิดหาคำตอบได้อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็ว และมีปริมาณที่มากในเวลาจำกัด เช่น ให้ผู้เรียนสามารถพับกลีบได้อย่างหลากหลายจากใบตอง
ความยืดหยุ่นในการคิด (flexibility) คือ ความสามารถในการคิดหาคำตอบได้หลายประเภท และหลายทิศทาง ดัดแปลงจากสิ่งหนึ่งไปเป็นหลายสิ่งได้ เช่น ให้ผู้เรียนบอกวิธีการนำใบตอง นำไปทำอะไรให้เกิดประโยชน์ ได้บ้าง
. ความคิดละเอียดลออ (elaboration) คือ ความคิดในรายละเอียดเพื่อตกแต่ง หรือขยายความคิดหลักให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
2.ความมีวินัย
การลงมือทำงานด้วยตนเอง โดยมุ่งเน้นการฝึกวิธีการทำงานอย่างสม่ำเสมอ ทั้งการทำงาน เป็นรายบุคคล และการทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อให้สามารถทำงานได้บรรลุเป้าหมาย ได้แก่ การวิเคราะห์งาน การวางแผนในการทำงาน การปฏิบัติงาน และการประเมินผลการทำงานการทำงานเป็นกลุ่ม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียน ได้ทำงานอย่างมีกระบวนการตามขั้นตอนการทำงาน และฝึกหลักการทำงานกลุ่ม โดยรู้จักบทบาทหน้าที่ภายในกลุ่ม มีทักษะในการฟัง - พูด มีคุณธรรมในการทำงานร่วมกัน สรุปผล และนำเสนอรายงาน
3.ความซื่อสัตย์สุจริต
ทำงานที่ได้รับมอบหมาย บรรลุเป้าหมาย ทำงานถูกวิธี ทำงานเป็นขั้นตอน ทำงานเป็นระบบ มีความคิดสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพ รักษาสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย ความซื่อสัตย์ เสียสละ ยุติธรรม ประหยัด ขยัน อดทน รับผิดชอบ ตรงเวลา รอบคอบ ปลอดภัย คุ้มค่า ยั่งยืน สะอาด ประณีต มีเหตุผล มีมารยาท ช่วยเหลือตนเอง ฯลฯ
4.อยู่อย่างพอเพียง
เป็นการทำงานที่จำเป็นเกี่ยวกับความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ช่วยเหลือตนเอง ครอบครัว เพื่อให้ค้นพบความสามารถ ความถนัดและความสนใจของตนเอง มีคุณธรรม จริยธรรม เจตคติ และลักษณะนิสัยในการทำงาน และอยู่สังคมได้ในสภาพเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เน้นการปฏิบัติจริงจนเกิดความมั่นใจ และภูมิใจในผลสำเร็จของงาน ต่อยอดผลผลิต สร้างงาน สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ เจริญตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
5.จิตสาธารณะ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โดยรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง และมีจิตสาธารณะ เช่น
4. ผลการดำเนินการ
4.2 ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
- นักเรียนได้รับรางวัลและเกียรติบัตรจากการแข่งขันทักษะ
- นักเรียนมีแรงจูงใจในการเรียนรู้สาระการงานอาชีพมากขึ้น
- นักเรียนได้รับการพัฒนาด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสู่ความเป็นเลิศ
- นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพได้ในโอกาสต่อไป
4.2 ผลที่เกิดขึ้นกับครู
- ครูมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนตามมาตรฐานและ
พัฒนาตนเองสู่ครูมืออาชีพ
- ครูได้พัฒนาความรู้และทักษะการจัดการเรียนการสอนเพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับโรงเรียน
- ทำให้โรงเรียนเป็นที่ยอมรับและศรัทธา ต่อผู้ปกครองและชุมชน
- โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวิชาชีพให้กับชุมชนมากขึ้น
4.4ผลที่เกิดขึ้นกับชุมชน
- ชุมชนมีความมั่นใจในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน
- ชุมชนมีความภาคภูมิใจ ศรัทธาต่อโรงเรียนและช่วยกันพัฒนาโรงเรียนเพิ่มขึ้น
- ชุมชนสามารถเข้าร่วมกับโรงเรียนในการฝึกวิชาชีพให้กับนักเรียน
5 ปัจจัยความสำเร็จ
1 โรงเรียนมีนโยบายที่ชัดเจนในการปฏิรูปการเรียนรู้ มีความพร้อมในด้านอาคารสถานที่
และสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอน
2 ผู้บริหารให้การสนับสนุนด้านงบประมาณในการดำเนินการ
3ผู้ปกครองให้การสนับสนุนในการแสวงหาความรู้ของนักเรียน
6. บทเรียนที่ได้รับ
1 โรงเรียนได้รับการยอมรับจากชุมชนมากยิ่งขึ้นและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้เกิดทักษะ
การเรียนรู้หลาย ๆ ด้านอย่างหลากหลาย
2 โรงเรียนได้พัฒนาห้องเรียนห้องปฏิบัติการสู่การเรียนรู้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นซึ่งนำไปสู่
ความสำเร็จโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนสุจริต และโรงเรียนมาตรฐานสากล
3 โรงเรียนได้พัฒนาส่งเสริมคุณลักษณะนิสัยให้นักเรียนมีคุณธรรม – จริยธรรม มากยิ่งขึ้น
4 นักเรียนมีความภาคภูมิใจในขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมไทยมากยิ่งขึ้น
7. การเผยแพร่ / การได้รับการยอมรับ / รางวัลที่ได้รับ
7.1 การเผยแพร่
- ได้เผยแพร่ผลงานทางเว็บไซน์ของโรงเรียน และFace Book เพื่อนครู
- จัดนิทรรศการในกลุ่มสาระ / งานOpen house
- โรงเรียนในเครื่อข่ายสหวิทยาเขตได้มีโอกาสมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดกิจกรรม
Open house
7.2 การยอมรับ / รางวัลที่ได้
-เหรียญทอง ระดับประเทศ ครั้งที่ 63 ปีการศึกษา 2556 ที่ เมืองทองธานี การแข่งขันการทำอาหารจานเดียว(ประเภทข้าว)และอาหารหวาน(ขนมไทย)ระดับ ม.4-6
-เหรียญทอง ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 67 ปีการศึกษา 2560 อำเภอกระนวน จังหวัด ขอนแก่น การแข่งขันประดิษฐ์กระทงดอกไม้ธูปเทียนแพ ม.1-ม.3
-.เหรียญทอง ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือครั้งที่ 67 ปีการศึกษา 2560 อำเภอกระนวน จังหวัด ขอนแก่น การแข่งขันทำอาหาร น้ำพริก ผักสด เครื่องเคียง ม.1-ม.3
-ผลการแข่งขันชนะเลิศเหรียญทอง ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือครั้งที่ 67 ปีการศึกษา 2560 อำเภอกระนวน จังหวัด ขอนแก่น การแข่งขันทำอาหารคาวหวานเพื่อสุขภาพ ม.1-ม.3
-เหรียญทอง ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือครั้งที่ 67 ปีการศึกษา 2560 อำเภอกระนวน จังหวัด ขอนแก่น การแข่งขันทำอาหารคาวหวานเพื่อสุขภาพ ม.4-ม.6
-เหรียญทอง ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 66 ปีการศึกษา 2559 จังหวัด หนองคาย-บึงกาฬ การแข่งขันการทำอาหารจานเดียว(ประเภทข้าว)และอาหารหวาน(ขนมไทย)ระดับ ม.4-6
-เหรียญทอง ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 66 ปีการศึกษา 2559 จังหวัด หนองคาย-บึงกาฬ การแข่งขันการประดิษฐ์กระทงดอกไม้ธูปเทียนแพ ระดับชั้น ม.1-3
-ชนะเลิศ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 66 ปีการศึกษา 2559 จังหวัด บุรีรัมย์ การแข่งขันการทำอาหารจานเดียว(ประเภทข้าว)และอาหารหวาน(ขนมไทย)ระดับ ม.4-6
-ชนะเลิศ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 66 ปีการศึกษา 2559 จังหวัด บุรีรัมย์ การแข่งขันการประดิษฐ์กระทงดอกไม้ธูปเทียนแพ ระดับชั้น ม.1-3
-รองชนะเลิศ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 66 ปีการศึกษา 2559 จังหวัด บุรีรัมย์ การแข่งขันการทำอาหารจานเดียว(ประเภทข้าว)และอาหารหวาน(ขนมไทย)ระดับชั้น ม.1-3
-รองชนะเลิศอันดับที่2 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 66 ปีการศึกษา 2559 จังหวัด บุรีรัมย์ การแข่งขันน้ำพริก ผักสด เครื่องเคียง ระดับชั้น 4-6
-เหรียญทอง ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 65 ปีการศึกษา 2558 จังหวัด สุรินทร์ การแข่งขันการประดิษฐ์ยายศรีสู่ขวัญ ระดับชั้น ม.4-6
-เหรียญทอง ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 65 ปีการศึกษา 2558 จังหวัด สุรินทร์ การแข่งขันการประดิษฐ์กระทงดอกไม้ธูปเทียนแพ ระดับชั้น ม.1-3
-เหรียญทอง ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 64 ปีการศึกษา 2557 จังหวัด สกลนคร การแข่งขันการประดิษฐ์บายศรีสู่ขวัญ ระดับชั้น ม4-6
-เหรียญเงิน ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 64 ปีการศึกษา 2557 จังหวัด สกลนคร การแข่งขันการการทำอาหารคาวหวานจานเดียว(ประเภทข้าว)และอาหารหวาน(ขนมไทย)ระดับชั้น ม.4-6
-ชนะเลิศ ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 63 ปีการศึกษา 2556 จังหวัด นครพนม-มุกดาหาร การแข่งขันการทำอาหารจานเดียว(ประเภทข้าว)และอาหารหวาน(ขนมไทย)ระดับ ม.4-6
-เหรียญทอง ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 63 ปีการศึกษา 2556 จังหวัด นครพนม-มุกดาหาร การแข่งขันการประดิษฐ์กระทงดอกไม้ธูปเทียนแพ ระดับชั้น ม.1-3
-เหรียญทอง ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 63 ปีการศึกษา 2556 จังหวัด นครพนม-มุกดาหาร การแข่งขันการประดิษฐ์บายศรีสู่ขวัญ ระดับชั้น ม4-6
-เหรียญทอง ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 62 ปีการศึกษา 2555 จังหวัด ชัยภูมิ การแข่งขันการทำอาหารจานเดียว(ประเภทเส้น)และอาหารหวาน(ขนมไทย)ระดับ ม.4-6
-เหรียญทอง ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 62 ปีการศึกษา 2555 จังหวัด ชัยภูมิ การแข่งขันการประดิษฐ์กระทงดอกไม้ธูปเทียนแพ ระดับชั้น ม.1-3
-เหรียญทอง ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 60 ปีการศึกษา 2553 จังหวัด อุดร การแข่งขันการประดิษฐ์บายศรีสู่ขวัญ ระดับชั้น ม4-6
-เหรียญทอง ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 59 ปีการศึกษา 2552 จังหวัด อุบลราชธานี การแข่งขันการประดิษฐ์บายศรีสู่ขวัญ ระดับชั้น ม4-6