โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

การสอนด้วยรูปแบบผสมผสานผ่าน Team Learning

โรงเรียน : เนินทรายวิทยาคม สพม.จันทบุรี ตราด

ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ

กลุ่มสาระฯ : คณิตศาสตร์

เผยแพร่เมื่อ : 10 ก.ย. 2561 โดย :   จำนวนผู้เข้าชม 613 คน


วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ของครูผู้สอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
เรื่อง การสอนด้วยรูปแบบผสมผสานผ่าน Team Learning
นายอธิพงษ์  วรสิงห์  โรงเรียนเนินทรายวิทยาคม จังหวัดตราด

1.ความสำคัญของนวัตกรรม/วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ

ในการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการเน้นการสร้าง
องค์ความรู้ด้วยตนเองของนักเรียน การเน้นปฏิบัติเป็นรายบุคคล ทำให้นักเรียนสามารถสังเคราะห์ความรู้จากแบบฝึกหัดได้
แต่ด้วยภาวะความแตกต่างระหว่างบุคคล ทำให้นักเรียนบางส่วนต้องใช้เวลาในการเรียนรู้มากกว่านักเรียนคนอื่น โดยสังเกตจากความถี่ในการส่งงาน และคะแนนที่ได้จากการทดสอบความรู้แต่ละครั้ง จะพบว่านักเรียนที่มีความถี่ในการส่งงานน้อย มักจะมีคะแนนจากทดสอบที่น้อยด้วย ซึ่งข้าพเจ้าจึงศึกษารูปแบบวิธีการสอนจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ พบว่า นักเรียนแต่ละคนใช้เวลาในการเรียนรู้ไม่เท่ากัน การเรียนซ้ำ ๆ เรียนจากเพื่อน เป็นเทคนิคการจัดการเรียนชั้นเรียนที่สามารถช่วยพัฒนานักเรียนจึงจัดรูปแบบการเรียนรู้เป็นกลุ่ม นั่นคือ การเรียนรู้แบบ Team Learning

2.วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน

2.1 เพื่อเพิ่มร้อยละของความถี่ในการส่งงานของแต่ละคนให้
มากขึ้น
2.2 นักเรียนมีคะแนนในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์มากขึ้น
2.3 นักเรียนมีการทำงานเป็นทีมมากขึ้น

3.ขั้นตอนการดำเนินงาน

3.1 เก็บข้อมูลความถี่ในการส่งงานของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมที่เกิดขึ้น
3.2 รวบรวมข้อสอบที่เคยใช้ทดสอบมีระดับง่าย ระดับ
ปานกลาง ระดับยาก เพื่อทำเป็นคลังข้อสอบ
3.3 ทดสอบนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประเมินผล
เพื่อวินิจฉัยและแบ่งกลุ่มนักเรียน
3.4 แบ่งกลุ่มนักเรียน กลุ่มละ 2 – 3 คน โดยแต่ละกลุ่มมี
นักเรียนที่มีคะแนนในระดับเก่ง ระดับกลาง ระดับอ่อน กลุ่มละ 1 คน ถ้ากลุ่มที่มีสมาชิก 2 คนจะมีระดับเก่งหรือกลาง 1 คน และระดับอ่อน 1 คน
3.5 กำหนดหลักเกณฑ์การให้คะแนน
- คะแนนสอบซ่อม/คะแนนการทำแบบฝึกหัด
- คะแนนตรงต่อเวลา ( T ) ถ้าสมาชิกในกลุ่มทุกคนส่งงานตรงต่อเวลาจะได้ 0.5 คะแนนในช่อง T ถ้าส่งไม่ครบจะไม่ได้คะแนนในช่อง T ถ้าสอบไม่ตรงเวลาค่า T จะหารด้วยสองก่อน
- ผลการสอบซ่อม/ผลการทำแบบฝึกหัด (P) ถ้าสอบผ่านจะได้ 0.5 คะแนน ถ้าไม่ได้จะผ่านจะได้ 0 แล้วนำมาเฉลี่ย

 

Team 1

Score

Score N. total
สมาชิก 1
สมาชิก 2
สมาชิก 3 0
       

3.6 เปรียบเทียบลักษณะของพฤติกรรมในการส่งงานและจำนวนครั้งในการสอบผ่านของนักเรียน

4.ผลการดำเนินงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ

4.1 จากกระบวนการ Team Learning สามารถแสดง
ร้อยละจำนวนครั้งในการส่งงานที่เพิ่มขึ้น ดังนี้



จากกราฟจำนวนนักเรียนส่งงานตรงเวลาเพิ่มมากขึ้นคิดเป็น
ร้อยละ 45.10
4.2 จากกระบวนการ Team Learning แสดงร้อยละจำนวน
ครั้งที่การสอบผ่านที่เพิ่มขึ้น ดังนี้

จากกราฟจำนวนนักเรียนสอบผ่านเพิ่มมากขึ้นคิดเป็น
ร้อยละ 41.67

5.ปัจจัยความสำเร็จ

การทำงานเป็นทีม การช่วยเหลือซึ่งกันและกันของนักเรียน
นักเรียนได้รับการเสริมแรงมากขึ้นในการทำงาน การได้รับคำแนะนำจากผู้บริหารและคณะครูในชั่วโมง PLC

6.บทเรียนที่ได้รับ

การสร้างแบบฝึกที่ทำให้นักเรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วย
ตนเอง ทำให้นักเรียนมีทักษะการวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้ได้ดีขึ้น แต่การเรียนรู้แบบทีมจะช่วยให้นักเรียนได้ช่วยเหลือกัน ได้ทบทวนตนเองด้วยการสอนเพื่อน เพื่อนในกลุ่มได้ทบทวนความรู้

7.การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ

เผยแพร่ผลงาน/เทคนิคการจัดการเรียนการสอนให้กับ
บุคลากรในโรงเรียนในชั่วโมง PLC

 

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0