โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

การจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (CPS)

โรงเรียน : เนินทรายวิทยาคม สพม.จันทบุรี ตราด

ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ

กลุ่มสาระฯ : วิทยาศาสตร์

เผยแพร่เมื่อ : 10 ก.ย. 2561 โดย :   จำนวนผู้เข้าชม 437 คน


ผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice)
 

ชื่อผลงาน : การจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (CPS) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเนินทรายวิทยาคม

ชื่อผู้รับผิดชอบ : นางสาวมัสยา  วิรันทนา  ตำแหน่ง ครู โรงเรียนเนินทรายวิทยาคม สพม.17
สาระการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์
หลักการ/แนวคิด
จากแนวคิด การจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่สำคัญในการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถตามมาตรฐาน/ตัวชี้วัด และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยยึดหลักผู้เรียนสำคัญที่สุด ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้ความสำคัญทั้งความรู้และคุณธรรม
การจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่อิงกับสาระการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยฝึกให้ผู้เรียนได้ทำความเข้าใจกับปัญหา ฝึกการมองปัญหาโดยใช้ทั้งความรู้สึก และมุ่งแก้ปัญหา ทำให้การดำเนินการแก้ปัญหามีประสิทธิภาพ จึงเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และการเรียนรู้ต่อไป
วัตถุประสงค์
1.  เพื่อพัฒนากระบวนการคิดแก้ปัญหา
2. เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากการทดลอง และสามารถทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้
3. เพื่อฝึกการปฏิบัติงานทดลองค้นคว้าหาข้อเท็จจริงอย่างมีระบบขั้นตอนและรอบคอบ

ขั้นตอนการดำเนินงาน

การจัดการเรียนรู้แบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (CPS)

วิธีการสอนแบบทดลอง (Experiment)

ขั้นที่ 1 การเข้าถึงปัญหา 

1. การกำหนดปัญหา 
ขั้นที่ 2 การคิดวิธีการแก้ปัญหา  2. ความรู้
ขั้นที่ 3 การเลือกและเตรียมการ  3. ปฏิบัติการทดลอง
ขั้นที่ 4 การวางแผนการแก้ปัญหา  4. สรุปผลการทดลอง
ขั้นที่ 5 การลงมือปฏิบัติ  5. อภิปรายผลการทดลอง

ผลการดำเนินงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ
1.  ผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการคิด ใช้ความคิดอย่างมีเหตุผล
2.  ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้ขณะลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง และสามารถทำงานร่วมกันได้
3.  ผู้เรียนสามารถนำผลการทดลองไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการศึกษาขั้นต่อไปและ ในชีวิตจริง
4.  ผู้เรียนเกิดความสนุกและตื่นเต้นกับการทดลอง ทำให้บทเรียนน่าสนใจยิ่งขึ้น
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
            การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ทำให้ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาและการคิดสร้างสรรค์ ในลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง ทำให้การเรียนรู้นั้นตรงกับความเป็นจริง    
บทเรียนที่ได้รับ
            การเรียนรู้จากการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ การลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบ กล้าแสดงออก มีความรูความเขาใจในเนื้อหาวิชามากขึ้น และมีเจตคติที่ดีตอวิชาวิทยาศาสตร 
การเผยแพร่
            เผยแพร่ผลงานการจัดการเรียนการสอนร่วมกับบุคลากรในโรงเรียนในชั่วโมง PLC

































 

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0