โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

วาดเส้นสร้างสรรค์ ด้วยเทคนิค Active Learning

โรงเรียน : เนินทรายวิทยาคม สพม.จันทบุรี ตราด

ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ

กลุ่มสาระฯ : ศิลปะ

เผยแพร่เมื่อ : 10 ก.ย. 2561 โดย :   จำนวนผู้เข้าชม 1963 คน


แบบเสนอผลงาน/นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ( Best Practice )
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ วาดเส้นสร้างสรรค์ ด้วยเทคนิค
Active Learning 
ชื่อผู้เสนอผลงาน  นายปิยะพงษ์ ทองช่วย  โรงเรียนเนินทรายวิทยาคม  สพม.17

1. ความสำคัญของผลงาน
นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันการเขียนภาพ มีวิวัฒนาการมาโดยตลอด ไม่ว่าเชื้อชาติใด ภาษาใดในโลกมีการสื่อสารกันผ่านมาทางภาพเขียน ซึ่งถือได้ว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งไม่ว่าจะเป็นการบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ในอดีต อย่างไรก็ตามการเขียนภาพนั้นจึงนับเป็นการเริ่มต้นของการสร้างสรรค์งานศิลปะทั้งด้านจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ภาพพิมพ์และงานออกแบบประยุกต์ศิลป์ประเภทต่างๆ การวาดเส้นสร้างสรรค์ เป็นลักษณะการวาดที่ไม่ได้ลอกเลียนแบบของจริงเพียงอย่างเดียว แต่มีการผสมผสานความคิดสร้างสรรค์ของศิลปิน เช่น การลด ตัดทอนหรือเพิ่มเติมสิ่งใหม่ จากภายนอกมาจัดภาพใหม่ตามโครงสร้างเรื่องราวของศิลปินที่ต้องการแสดงออกมา
การวาดเส้นสร้างสรรค์ (Creative Drawing) เป็นการการวาดภาพลายเส้นในลักษณะไม่เหมือนจริงตามธรรมชาติ เพื่อฝึกให้นักเรียนได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้ธรรมชาติมาเป็นต้นแบบ แล้วนำมาคลี่คลายจากความเป็นจริงไปสู่รูปแบบต่างๆ เช่น การวาดภาพลายเส้นเหมือนจริงแต่เติมรายละเอียดเนื้อหาให้เกินความจริง การวาดภาพลายเส้นกึ่งนามธรรม (Semi-abstract) ดังนั้นการวาดเส้นสร้างสรรค์จึงสามารถ ช่วยพัฒนาให้นักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตทั้ง ด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม
2. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
   2.1 เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์
   2.2 เพื่อให้นักเรียนฝึกทักษะการวาดเส้นสร้างสรรค์
   2.3 เพื่อให้นักเรียนรักศิลปะ และรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
3. ขั้นตอนการดำเนินงาน
  ใช้กระบวนการสอนแบบ Active Learning
คือ กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำและได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไปเป็นการจัดกิจกรรมเรียนรู้ภายใต้สมมติฐาน 2 ประการ คือ
1. การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของมนุษย์
2. แต่ละคนมีแนวทางในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
   3.1 สร้างบรรยากาศจัดแสดงผลงานวาดเส้นประเภทต่างๆพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับผลงานระหว่างครูกับนักเรียน นักเรียนกับเพื่อน
   3.2 นักเรียนร่วมกลุ่มกันศึกษาลักษณะของลายเส้น และทดลองวาดภาลายเส้น
   3.3 จัดกิจกรรมการวาดเส้น นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานวาดเส้นจากจินตนาการของตนเอง
   3.4 นำผลงานการวาดเส้นสร้างสรรค์ของนักเรียนจัดแสดงนิทรรศการ
   3.5 ครู นักเรียน ร่วมกันอภิปราย วิจารณ์ผลงาน วิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
   3.6 สรุป ปัญหาจากการวิเคราะห์ผลงาน และวางแผนในการพัฒนาผลงานต่อไป
4. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
   4.1 นักเรียนกล้าแสดงออกด้านงานศิลปะในเชิงสร้างสรรค์
มีความสุขขณะปฏิบัติกิจกรรม มีความกระตือรือร้นและสนใจ มีความรับผิดชอบในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน
   4.2 นักเรียนสามารถสร้างชิ้นงานของตนเองได้ด้วยความภาคภูมิใจ
   4.3 นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการสร้างสรรค์งานศิลปะ
5. ปัจจัยความสำเร็จ
ปัจจุบัน แนวการจัดการศึกษามุ่งเน้นการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็น ศูนย์กลาง ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เต็มตามศักยภาพสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รู้จักแสวงหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ศิลปศึกษาเป็นวิชาที่สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะดี เก่งมีสุข การวาดเส้นสร้างสรรค์ เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาไปสู่ความชำนาญในงานศิลปะทุกแขนง การวาดเส้น ฝึกให้เป็นคนช่างสังเกต ค้นหา แยกแยะ อดทน เปรียบเทียบ มีสมาธิ และเกิดความคิดสร้างสรรค์
6. บทเรียนที่ได้รับ
  6.1 ควรดูแลนักเรียนที่มีปัญหาด้านไม่มีพื้นฐานทักษะการวาดเส้นซึ่งครูควรยืดหยุ่นเรื่องระยะเวลา
  6.2 ขณะทำการสอน ควรสังเกตพฤติกรรมและเก็บข้อมูลนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษในด้านนั้นๆ เพราะนักเรียนกลุ่มนี้ จะมีส่วนร่วมในการจัดทำสื่อตัวอย่างประกอบการเรียนการสอนร่วมกับครูผู้สอน
  6.3 ควรให้แรงเสริม โดยการให้นักเรียนมีส่วนร่วมประเมินตนเอง เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาของตัวเองไม่ไปเปรียบเทียบผลงานกับผู้อื่น
   6.4 นำนักเรียนศึกษาแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ ตามโอกาส
7. เผยแพร
   7.1 จัดแสดงนิทรรศการผลงาน เปิดบ้าน Open House


 

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0