โรงเรียน : เนินทรายวิทยาคม สพม.จันทบุรี ตราด
ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ
กลุ่มสาระฯ : การงานฯ
เผยแพร่เมื่อ : 10 ก.ย. 2561 โดย : จำนวนผู้เข้าชม 1093 คน
แบบนําเสนอผลงาน/วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชื่อผลงาน “ห้องเรียนกลับด้าน Recap Learning”
ชื่อผู้เสนอผลงาน นางสาวจิราภรณ์ ทินกระโทก โทร 090-828-5980 โรงเรียน/หน่วยงาน โรงเรียนเนินทรายวิทยาคม สพม.17
1.ความสำคัญวิธีการ
กระบวนการเรียนรู้ในยุค ICT เทคโนโลยีและเครื่องมือการสื่อสารต่างๆ ช่วยสร้างสีสันดึงดูดใจ เปิดโลกการเรียนรู้ต่อผู้เรียนกว้างมากขึ้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาขึ้นแบบก้าวกระโดดอย่างต่อเนื่อง มีผลทำให้ผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ จึงต้องปรับรูปแบบการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตในยุค ICT
จากการสอนรายวิชา Google Sketch Up ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในชั้นเรียนปกติพบว่าผู้เรียนมีความแตกต่างด้านการเรียนรู้ระหว่างบุคคล ไม่กล้าซักถามในห้องเรียนเพราะไม่รู้ว่าไม่เข้าใจอะไร มีปัญหาทักษะด้านการใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรม ไม่กล้าคลิก ไม่กล้าลอง ทำให้เรียนรู้ได้ช้าแลส่งชิ้นงานท้ายชั่วโมงไม่ทันเวลาทำให้เกิดการสะสมงานค้างและเรียนไม่ทันเพื่อน
ผลงานที่นำเสนอคือ“ห้องเรียนกลับด้าน Recap Learning” ใช้ประกอบการสอนโปรแกรม Google Sketch Up ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่องการสร้างโมเดล 3 มิติ โดยมีหลักการสอนที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาหัวข้อจากวิดีโอในบทเรียนถัดไปครูอัพโหลดไว้ใน Recap ด้วยตนเองก่อน โดยครูสามารถตั้งคำถามหรือสร้างเส้นทางการเรียนรู้ไว้ใน Recap เพื่อให้ผู้เรียนเข้าไปศึกษาและร่วมกันตอบคำถามหรือตั้งคำถามในห้องเรียนที่สงสัยจากการดูวีดิโอ โดยมีวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหาการส่งงานช้า ด้านความแตกต่างในการเรียนรู้ระหว่างบุคคล และส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์และมีปฏิสัมพันธ์ในการเรียนมากยิ่งขึ้น
2.วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
1.เพื่อให้จำนวนผู้เรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนด้วยห้องเรียนกลับด้าน Recap Learning ส่งงานมากขึ้น
2.เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีและใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์
3.เพื่อให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนและครูในการซักถามข้อสงสัยมากขึ้น
3.ขั้นตอนการดำเนินงาน
1.วิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัด
2.ศึกษาเทคนิคการสอนและ Recap app
3.เตรียมกิจกรรมการเรียน
4.ครูผู้สอนอัพโหลดวิดีโอและตั้งคำถามใน Recap App เพื่อสร้างเส้นสร้างการเรียนรู้
5.ผู้เรียนกรอก Pin สำหรับเข้าห้องเรียนใน Recap App
6.จัดกิจกรรมการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน Recap Learning
7.ประเมินผลการเรียน
4.ผลการดำเนินการ/ ประโยชน์ที่ได้รับ
รูปแบบการสอน | จำนวนผู้เรียนที่ส่งงาน (22 คน) |
การสอนแบบสาธิต(รูปแบบเดิม) | 13 (คน) |
การสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน Recap Learning | 19 (คน) |
5.ปัจจัยความสำเร็จ
1.ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ตั้งคำถาม-ตอบใน Recap App ร่วมกันระหว่างเพื่อนและครู และผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ช้าสามารถเรียนรู้ได้เร็วและส่งงานท้ายชั่วโมงได้ทันเวลาเพิ่มขึ้น
6.บทเรียนที่ได้รับ
1.เป็นแนวทางสําหรับครูในการสร้างและพัฒนารูปแบบการสอนในห้องเรียน
7.การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ
1.ขยายผลให้แก่บุคลากรในโรงเรียน