โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

โครงการห้องเรียนปลอด ๐ , ร. , มส.

โรงเรียน : เซิมพิทยาคม สพม.หนองคาย

ระดับ : ระดับสหวิทยาเขต

กลุ่มสาระฯ : อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ : 30 ก.ค. 2563 โดย :   จำนวนผู้เข้าชม 4481 คน


ชื่อนวัตกรรม  โครงกาห้องเรียนปลอด ๐ , ร. , มส.
เจ้าของผลงาน  โรงเรียนเซิมพิทยาคม


ความเป็นมาของวิธีปฏิบัติที่ดี
      จากสภาพปัญหาการบริหารงานวิชาการ ของกลุ่มงานบริหารวิชาการ พบว่า นักเรียนมีปัญหาด้านผลการเรียนอันส่งผลต่อการจบหลักสูตร และผลการทดสอบในระดับชาติของนักเรียน ทั้งระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยในวิชาหลักต่ำกว่าระดับชาติ มีนักเรียนบางส่วนได้รับผลการเรียน ๐ , ร. , มส. การประเมินผลปลายภาคเรียนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้จากการรายงานผลการเรียน พบว่าสถิตินักเรียนที่มีผลการเรียน ๐ , ร. , มส. เพิ่มสูงขึ้น และเป็นผลทำให้นักเรียนไม่จบหลักสูตรตามโครงสร้างเวลาเรียนที่กำหนด และส่งผลต่อการทดสอบระดับชาติ ทั้งนี้เป็นเพราะสาเหตุในหลายประการ ประการหนึ่งเกิดจากตัวของนักเรียนขาดความรับผิดชอบในการดำเนินการสอบแก้ตัว  ขาดความรับผิดชอบในการขอซ่อมเสริมเวลาเรียน ขาดความรับผิดชอบในการส่งงานที่ครูประจำวิชามอบหมาย และมีสาเหตุอันเนื่องมาจากกระบวนการติดตามช่วยเหลือของครูประจำวิชา และผู้เกี่ยวข้อง จากปัญหาดังกล่าวจึงควรได้รับการแก้ไขโดยทั้งจากนักเรียน และครูประจำวิชา ตลอดจนบุคลากรในกลุ่มงานบริหารวิชาการ ที่จะต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ดังนั้นกลุ่มงานบริหารวิชาการจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ทั้งในระดับห้องเรียน ระดับโรงเรียน ระดับท้องถิ่น และในการทดสอบระดับชาติ
2.  เพื่อให้ห้องเรียนเป็นห้องเรียนปลอด ๐ , ร. , มส. โดยอาศัยการมีส่วนร่วม จากตัวนักเรียน ครูที่
ปรึกษา ครูประจำวิชา บุคลากรในกลุ่มงานบริหารวิชาการ และผู้ปกครองนักเรียน
3.  เพื่อแก้ปัญหาด้านกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ มุ่งให้นักเรียนเห็นคุณค่ามีเจตคติที่ดีในการศึกษาเล่าเรียน และจบหลักสูตรตามโครงสร้างเวลาเรียนที่โรงเรียนกำหนด

ขั้นตอนวิธีการพัฒนา

  1. สำรวจรายวิชาที่ติด "0, ร, มส " ว่ามีจำนวนกี่คนในแต่ละระดับ

  2. นำข้อมูลที่ได้เข้าที่ประชุมเพื่อวางแผนในการแก้ปัญหา

  3. ประชุมผู้ปกครองที่นักเรียนมีปัญหาเรื่องผลการเรียน 0 ร มส เพื่อชี้แนะแนวทางและวางแผนร่วมกันในการแก้ปัญหา

  4. ประกาศรายชื่อนักเรียนที่ติด 0 ร มส เพื่อให้ดำเนินการสอบแก้ตัว

  5. ครูที่ปรึกษาร่วมกับผู้ปกครองช่วยกันกำกับดูแลและติดตามนักเรียน

  6. ครูที่ปรึกษารายงานผลการสอบแก้ตัวของนักเรียนทุกสัปดาห์ ที่งานวัดผลประเมินผลเพื่อรับทราบความก้าวหน้าในการดำเนินการสอบแก้ตัวของนักเรียน

  7. หัวหน้างานวัดผลประเมินผลรายงานผลการสอบแก้ตัวให้ผู้บริหารทราบความก้าวหน้าในการดำเนินการสอบแก้ตัวของนักเรียน

  8. ดำเนินการกับนักเรียนที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จโดยกำหนดนโยบายซ้ำชั้นหากไม่ดำเนินการให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด

  9. ประชุมสรุปผลการดำเนินการตามโครงการปลอด 0 ร มส เพื่อรายงานผู้บังคับบัญชาในลำดับต่อไป

ผลของวิธีปฏิบัติที่ดี ความสำเร็จของผลงานที่เกิดตามวัตถุประสงค์

  1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ทั้งในระดับห้องเรียน ระดับโรงเรียน ระดับท้องถิ่น และในการทดสอบระดับชาติ

  2. ห้องเรียนเป็นห้องเรียนปลอด ๐ , ร. , มส. โดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากตัวนักเรียน ครูที่ปรึกษา ครูประจำวิชา บุคลากรในกลุ่มงานบริหารวิชาการ และผู้ปกครองนักเรียน

  3. นักเรียนเห็นคุณค่ามีเจตคติที่ดีในการศึกษาเล่าเรียน และจบหลักสูตรตามโครงสร้างเวลาเรียนที่โรงเรียนกำหนด

ปัจจัยเงื่อนไขที่ทำให้สำเร็จ

1. การให้ความร่วมมือจากผู้ปกครอง โรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

2. ผู้บริหารให้การส่งเสริม สนับสนุนและอุทิศเวลาในการช่วยกำกับดูแลอย่างเต็มความสามารถ

3. ครูที่ปรึกษาให้การกำกับ ดูแล และติดตามนักเรียนอย่างจริงจัง

4. นักเรียนให้ความร่วมมือและใฝ่เรียนรู้ที่จะแก้ 0 ร มส

ผลการยอมรับ

  1. ได้รับการยอมรับจากผู้ปกครอง ชุมชน ทั้งในพื้นที่บริการและใกล้เคียง ในการให้นักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียนเซิมพิทยาคมมากขึ้น

  2. นักเรียนมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียนมากขึ้นเนื่องจากไม่อยากมีผลการเรียน 0 ร มส

  3. โรงเรียนสามารถนำผลการดำเนินงานดังกล่าวไปใช้ในการแก้ปัญหานักเรียนที่ติด 0 ร มส         ในปีการศึกษาต่อไป

 


 

 

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0