โรงเรียน : เนินทรายวิทยาคม สพม.จันทบุรี ตราด
ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ
กลุ่มสาระฯ : อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ : 10 ก.ย. 2561 โดย : จำนวนผู้เข้าชม 380 คน
วิธีปฏิบัติเป็นเลิศ (Best Practice)
ชื่อผลงาน ข้าวเมล็ดทอง ของเนินทราย
ชื่อเจ้าของผลงาน 1. นายนที รัตนพิทักษ์ 2. นางสาวสุกัญญา สุจริต 3. นางสาวกิติยา ราชพลแสน
โรงเรียนเนินทรายวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดตราด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17
1. ความเป็นมา และความสำคัญ
อาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพที่คนไทยส่วนใหญ่ยึดเป็นอาชีพหลัก ซึ่งการเกษตรที่เกษตรกรส่วนใหญ่มักเพาะปลูก คือ การทำนา ซึ่งในวิถีชีวิตของคนไทยเองยังมีความเกี่ยวข้องกับประเพณี และวัฒนธรรมของการทำนาในหลาย ๆ ด้าน เช่น พระราชพิธีจรด พระนังคัลแรกนาขวัญ พิธีทำขวัญข้าว พิธีบุญบั่งไฟ เป็นต้น นอกจากนี้ข้าว ยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย
ในปัจจุบันวิถีชีวิตของชาวนาค่อย ๆ ถูกกลืนกินไปกับกระแสยุคโลกาภิวัตน์ โรงเรียนเนินทรายวิทยาคมเห็นความสำคัญกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน หรือผู้ปกครองของนักเรียน ซึ่งส่วนใหญ่มักจะประกอบอาชีพทำนา ทางโรงเรียนจึงได้จัดทำแปลง
นาโดยได้รับความร่วมมือจาก นักเรียน ครู บุคลากรในโรงเรียน และผู้ปกครองร่วมกันปลูกข้าวเพื่อใช้รับประทานในโรงเรียน หรืออาจนำไปขายให้กับบุคคลภายนอก นอกจากนี้ทางโรงเรียนยังนำข้าวที่ได้จากการปลูกไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อสอนให้นักเรียนรู้จักเพิ่มรายได้จากวัตถุดิบที่มีอยู่ ทั้งยังสนับสนุนให้นักเรียน เรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในการทำนา สามารถเรียนรู้วิถีชีวิตดั้งเดิมไปพร้อม ๆ กับการรู้เท่าทันเทคโนโลยี หรือที่เรารู้จักในนามว่า Smart Farmer
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อเป็นการสืบสานวิถีชีวิตการทำนา
2.2 เพื่อเป็นการเสริมสร้างความสามัคคีของนักเรียน ครู บุคลากรในโรงเรียน และผู้ปกครองของนักเรียน
2.3 เพื่อให้นักเรียนได้เห็นถึงคุณค่าของอาชีพชาวนา
2.4 เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้การแปรรูปข้าวเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มรายได้
2.5 เพื่อให้นักเรียนสามารถใช้เทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการทำนาได้
3. กระบวนการ | 4. ผลการดำเนินงาน |
3.1 กระบวนการบริหารจัดการของผู้บริหารโรงเรียน ผู้บริหารกำหนดนโยบาย ร่วมมือกับคณะครู และบุคลากรในโรงเรียนวางแผนในการจัดกิจกรรมการทำนาให้กับนักเรียน |
4.1 ผลการบริหารจัดการของผู้บริหารโรงเรียน ครู บุคลากร นักเรียน และผู้ปกครอง รับทราบนโยบายของผู้บริหาร นำนโยบายที่ได้รับลงไปสู่การลงมือปฏิบัติแบบเป็นขั้นตอน |
3.2 การจัดการเรียนรู้ การวัด ประเมินผล ทางโรงเรียนได้จัดทำแผนบูรณาการทั้ง 8 กลุ่มสาระ และได้นำไปปฏิบัติจริง ผ่านกระบวนการ Active Learning โดยวัด และประเมินผลตามสภาพจริง |
4.2 ผลการจัดการเรียนรู้ของครู นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียน สามารถหารายได้เสริมจากการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าว และเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำนา หรือเพิ่มคุณภาพของผลผลิตที่ได้ |
3.3 การเรียนรู้ของนักเรียน นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง เนื่องจากได้ลงมือปฏิบัติจริง มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีในการค้นคว้าหาความรู้ หรือการใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างเหมาะสม |
4.3 ผลงาน/ชิ้นงานของนักเรียน นักเรียนสามารถทำชิ้นงาน หรือผลิตภัณฑ์ที่ครูมอบหมายให้ได้ด้วยตนเอง และสามารถใช้เทคโนโลยีในการค้นคว้าหาความรู้ หรือนำมาปรับใช้ในการทำนาได้อย่างเหมาะสม |
5. ประโยชน์ที่ได้รับ
5.1 นักเรียนสามารถเห็นความสำคัญ และสืบสานวิถีชีวิตชาวนาได้
5.2 สามารถการเสริมสร้างความสามัคคีของนักเรียน ครู บุคลากรในโรงเรียน และผู้ปกครองของนักเรียน
5.3 นักเรียนเห็นถึงคุณค่าของอาชีพชาวนา
5.4 นักเรียนสามารถเรียนรู้ และผลิตการแปรรูปข้าวเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มรายได้
5.5 นักเรียนสามารถใช้เทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการทำนาได้
6. ปัจจัยที่ทำให้ประสบผลสำเร็จ
นักเรียน มีความกระตือรือร้นในการเรียน ทั้งยังสามารถจัดทำชิ้นงานที่ครูมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ