โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบร่วมมือกันเรียนรู้ เทคนิค STAD เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

โรงเรียน : ลับแลศรีวิทยา สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์

ระดับ : ระดับจังหวัด

กลุ่มสาระฯ : คณิตศาสตร์

เผยแพร่เมื่อ : 20 ก.ค. 2557 โดย : นายจิรภัทร ทองสุทธิ์ จำนวนผู้เข้าชม 2206 คน


 

 

การคัดเลือกผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศ(Best Practice) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39

------------------------------------------

 

                                                       ส่วนที่ 1

 

1.  ผู้นำเสนอผลงาน  (ทำเครื่องหมาย ü ในช่อง      )

                1.1  ผู้อำนวยการโรงเรียน                   1.4  งานแนะแนว

                1.2  รองผู้อำนวยการโรงเรียน               1.5  ห้องสมุด

                1.3  ศึกษานิเทศก์                            1.6  ประกันคุณภาพ

          R  1.7  ครูผู้สอน  กลุ่มสาระการเรียนรู้

                             1. ภาษาไทย                                       R  2. คณิตศาสตร์

                         3. สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม                4. ภาษาต่างประเทศ

                             5. สุขศึกษาและพลศึกษา

                             6. วิทยาศาสตร์     ระดับ        6.1  ม.ต้น               6.2  ม.ปลายวิทยาศาสตร์ทั่วไป

                                      6.3 เคมี                      6.4  ชีววิทยา                6.5 ฟิสิกส์

                             7. ศิลปะ

                                      7.1 ศิลปะ                     7.2 ดนตรี                     7.3 นาฏศิลป์

                             8. การงานอาชีพและเทคโนโลยี

                                       8.1 คอมพิวเตอร์             8.2 ธุรกิจ                      8.3 เกษตรกรรม

                                                         8.4 อุตสาหกรรม                   8.5  คหกรรม

                             9. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

 

2.  ชื่อผลงาน/นวัตกรรม :  รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

                                 แบบร่วมมือกันเรียนรู้ เทคนิค STAD  เรื่อง  ระบบจำนวนเต็ม  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1

     ชื่อเจ้าของผลงาน       ชื่อ  นายจิรภัทร              สกุล    ทองสุทธิ์

     ตำแหน่ง ครู  วิทยฐานะ ชำนาญการ    โรงเรียนลับแลศรีวิทยา  อำเภอ ลับแล    จังหวัดอุตรดิตถ์   

     เบอร์โทรศัพท์โรงเรียน  055-453416-9    โทรสาร 055-453419   มือถือ  086-2363592

     E-mail :  jirasut001@gmail.com

 

 

 

ส่วนที่ 2      

 

 

1. ความสำคัญของผลงาน หรือ นวัตกรรมที่นำเสนอ

    1. ความเป็นมาและสภาพปัญหา

คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์  คิดอย่างมีเหตุผล  เป็นระบบ  ระเบียบ  มีแบบแผน  สามารถวิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบทำให้สามารถคาดการณ์  วางแผน  ตัดสินใจ  และแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม  และเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิทยาศาสตร์  และเทคโนโลยีตลอดจนศาสตร์อื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้อง  คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตและช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น  นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังช่วยพัฒนามนุษย์  มีความสมดุลทั้งทางร่างกาย  จิตใจ สติปัญญาและอารมณ์ สามารถคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.    2551  :  1)  การจัดการเรียนรู้ของกลุ่มสาระคณิตศาสตร์จะคำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญ  การจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมต้องสอดคล้องกับวุฒิภาวะ  ความสนใจ  และความถนัดของผู้เรียน  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง  จากการฝึกปฏิบัติฝึกให้นักเรียนคิด  วิเคราะห์  และแก้ปัญหา  กิจกรรมการเรียนการสอนต้องผสมผสานสาระทั้งทางด้านเนื้อหา  และด้านทักษะกระบวนการ  ตลอดจนปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยมที่ดีงาม  ถูกต้องและเหมาะสมให้แก่ผู้เรียน  การจัดการเรียนรู้จึงควรจัดให้มีหลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความสนใจ  รูปแบบของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควรมีหลากหลาย  ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ร่วมกันทั้งชั้น  เรียนเป็นกลุ่มย่อย  เรียนเป็นรายบุคคล  (กรมวิชาการ.    2545  :  188)การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่ผ่านมา  พบว่าการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษายังเน้นครูเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน  ผู้เรียนเรียนด้วยการจำมากกว่าเรียนด้วยความเข้าใจ  โดยที่ผู้เรียนบางคนที่เข้าใจก็ทำได้  คนที่ไม่เข้าใจจึงเกิดความท้อแท้เบื่อหน่าย  ไม่อยากเรียน  (สุวร  กาญจนมยูร.    2543  :  39)  จากสาเหตุดังกล่าวทำให้ผู้เรียนขาดทักษะทางคณิตศาสตร์และมีความรู้พื้นฐานอยู่ในระดับต่ำ  ไม่สามารถค้นพบหรือสรุปกฎเกณฑ์เองได้และไม่เข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง  ส่งผลให้เกิดปัญหา  คือ  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ  ไม่เป็นที่น่าพอใจ  (ปานทอง  กุลนารถศิริ.    2540  :  25)  และผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ  (O-Net)      ปีการศึกษา  2555  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  โรงเรียนลับแลศรีวิทยา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต  39  พบว่า  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ  25.52  นักเรียนที่มีผลการทดสอบสูงกว่าค่าขีดจำกัดล่างร้อยละ 32.94  (โรงเรียนลับแลศรีวิทยา.  2556  :  14)  ซึ่งยังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่น่าพอใจ  โดยมีสาระการเรียนรู้ที่ควรเร่งพัฒนา ได้แก่  สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  โรงเรียนลับแลศรีวิทยา ปีการศึกษา 2555  พบว่า เรื่องที่เป็นปัญหาคือ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม

การที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนต่ำซึ่งอยู่ในระดับไม่น่าพอใจเนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ  คือ  ปัญหาจากตัวผู้เรียน  เช่น  นักเรียนขาดความสนใจในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์  มีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์  นักเรียนที่มีปัญหาในการคิดและแก้ปัญหาไม่เป็น  คิดช้า  เพราะขาดการฝึกฝน  ถูกครูดุและลงโทษเมื่อทำการบ้านผิด  นักเรียนไม่ชอบคิดไม่ชอบเรียน  เพราะคิดว่าไม่รู้จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร  (อนุชิต ล้ำยอดมรรคผล.    2539  :  3-7)  ซึ่งสอดคล้องกับ  สิริพร  ทิพย์คง  (2545  :  118)  ที่กล่าวว่าสิ่งที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนภายในตัวนักเรียนเอง  ได้แก่ ปัญหาสุขภาพ  ปัญหาเกี่ยวกับสมอง  อารมณ์  และขาดพื้นฐานความรู้เดิม  ภายนอกตัวนักเรียน ได้แก่   ครู  บรรยากาศภายในห้องเรียน  เพื่อน  บิดา-มารดา  และผู้ปกครอง  ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์  ของกรมวิชาการ  (2542  :  86-88) ที่พบว่า  องค์ประกอบที่มีผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์สูงสุด  คือ  คุณภาพการสอน  รองลงมาคือความรู้พื้นฐานเดิม  และความเอาใจใส่ของผู้ปกครองตามลำดับ  ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่สำคัญที่สุดของครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์  ที่จะต้องหาวิธีต่าง ๆ  มาใช้ในการเรียน

การสอนเพื่อให้การศึกษาเกิดการพัฒนาและเป็นไปตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร

    1. แนวทางการแก้ปัญหา

การแก้ปัญหาวิธีหนึ่งที่จะช่วยในเรื่องการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  ครูต้องรู้จักนำเอาสื่อการสอน  และวิธีการสอนที่เหมาะสม  ซึ่งการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนขึ้นอยู่กับครูผู้สอน  ต้องมีการเตรียมการสอนและวางแผนที่ดี  จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับเนื้อหาจะทำให้การสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  (สุบันรัตน์  รัตนศิลา.    2536  :  3)  การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์นั้นจะต้องมีการฝึกให้นักเรียนได้คิด  ให้นักเรียนฝึกวิเคราะห์แนวคิด  การใช้คำถามกระตุ้นให้คิด  ฝึกบ่อย ๆ  (วรณัน  ขุนศรี.    2546  :  75)  การฝึกทักษะต้องทำอย่างต่อเนื่องโดยสอดแทรกทุก ๆ  ขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ให้นักเรียนได้คิดเวลาเห็นปัญหาว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น  จะมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร  (พิสมัย ศรีอำไพ.    2548  :  79)  การฝึกเป็นประจำและฝึกอย่างสม่ำเสมอของนักเรียนทำให้เข้าใจวิธีการคิดคำนวณและเกิดทักษะนอกจากนี้ทำให้ครูได้ทราบข้อบกพร่องต่างๆของนักเรียน  อันจะเป็นหนทางในการพัฒนาและแก้ปัญหาในการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้  แบบฝึกทักษะเป็นสื่อการเรียนประเภทหนึ่งที่เป็นส่วนเพิ่มเติมหรือเสริมสำหรับให้นักเรียนฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ  และมีทักษะเพิ่มขึ้น  การให้นักเรียนได้ทำแบบฝึกมาก ๆ   ช่วยให้มีพัฒนาการทางด้านเนื้อหาวิชาได้ดีขึ้น  (วิมลรัตน์  สุนทรโรจน์.    2545  :  113)  และนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกวิธีต่าง ๆ  จะมีความคงทนในการเรียนรู้ได้ดีเพราะนักเรียนได้ฝึกกระทำบ่อย ๆ  ได้ลงมือฝึกกระทำเองและเกิดความสุขสนุกสนานในการทำแบบฝึก  แบบฝึกทักษะเป็นสื่อการเรียนประเภทหนึ่งที่เป็นส่วนเพิ่มเติมหรือเสริมสำหรับให้นักเรียนฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความรู้  ความเข้าใจ  และทักษะเพิ่มขึ้น  การสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะ  เป็นการสอนอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้นักเรียนได้ทำแบบฝึกมากๆ  เป็นสิ่งที่จะช่วยให้นักเรียนมีพัฒนาการทางการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาได้ดีขึ้น  เพราะนักเรียนมีโอกาสนำความรู้  ที่เรียนมาแล้ว  มาฝึกทักษะให้เกิดความเข้าใจกว้างขวางยิ่งขึ้น(วิมลรัตน์  สุนทรโรจน์.    2545 : 113)  การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะได้มีผู้สนใจนำมาใช้พัฒนาการเรียนการสอน   ดังปรากฏจากผลการศึกษาค้นคว้าที่สนับสนุนให้เห็นจริงว่า การเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะมีผลต่อความสามารถในการเรียนรู้ของนักเรียนสูงขึ้น  และเป็นวิธีสอนหนึ่งที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ได้ผลดี  ซึ่งจริยา  เจือจันทร์  (2547  :  102)  ได้ศึกษาการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ผลการศึกษาพบว่า   แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  สอดคล้องกับผลการศึกษาค้นคว้าของ  สรรพศิริ  เอี่ยมสะอาด (2547 : 85) ได้ศึกษาการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกลบเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ผลการศึกษา  พบว่าหลังการเรียนตามแผนการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้  โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ  วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 จากผลการศึกษาดังกล่าวได้สนับสนุนให้เห็นจริงว่า  การเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะมีผลต่อความสามารถในการเรียนรู้ของนักเรียนสูงขึ้น  และเป็นวิธีสอนที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ได้ผลดี  (อภิรักษณ์  จงวงศ์.    2549  :  78 -82)  นอกจากนั้นวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ  (Cooperative  learning)  โดยใช้วิธีสอนแบบประสบความสำเร็จเป็นทีม  (Student  Teams  Achievement  Division)  หรือ  STAD เป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบที่ง่ายและใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด  ซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  เพราะตระหนักว่ากระบวนการเรียนรู้นั้นมิใช่เกิดจากการถ่ายทอดความรู้จากครูเพียงฝ่ายเดียว  แต่เป็นการร่วมมือกันทำกิจกรรมระหว่างครูและนักเรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย  ทำให้ผู้เรียนพัฒนาศักยภาพของตน  และช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จ

          จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบเทคนิค  STAD  สามารถพัฒนาผู้เรียนได้ตามศักยภาพของตนเอง  ดังนั้นผู้ศึกษาค้นคว้าจึงได้นำรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ  (STAD)  มาใช้ในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้  เทคนิค  STAD  เรื่อง  ระบบจำนวนเต็ม   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1             โรงเรียนลับแลศรีวิทยา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต 39  เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้ดีขึ้น  และนักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้

2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน

              1.  เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้    เรื่อง  ระบบจำนวนเต็ม  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  75/75

    2.  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้  เทคนิค  STAD  เรื่อง  ระบบจำนวนเต็ม  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์        

   3.  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้  แบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้  เทคนิค  STAD  เรื่อง  ระบบจำนวนเต็ม           กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

 

            3. กระบวนการผลิตผลงาน หรือขั้นตอนการดำเนินงาน

                3.1  การออกแบบผลงาน หรือนวัตกรรม

                       1.  ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ  (2551: 56 - 91) และหลักสูตรของโรงเรียนลับแลศรีวิทยา เพื่อวิเคราะห์สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

                       2.  วิเคราะห์เนื้อหาเรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  กำหนดจุดประสงค์

เชิงพฤติกรรม วางเค้าโครงเรื่องเพื่อลำดับบทเรียนก่อนหลัง

                                 3.  เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม

              4.  ศึกษาเอกสารทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ เทคนิค STAD

                                 5.  นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่จัดทำเรียบร้อยแล้วมาสร้างแบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ เทคนิค STAD

                                 6.  กำหนดเนื้อหาในแต่ละแบบฝึกทักษะให้เหมาะสมกับจำนวนเวลาที่เรียน โดยใช้เนื้อหาสั้น ๆ ให้ผู้เรียนได้เข้าใจง่าย

                         7.  สร้างแบบทดสอบหลังเรียนหลังจากจบแบบฝึกทักษะแต่ละชุด 

                         8.  นำแบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ เทคนิค STAD เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ เพื่อขอคำแนะนำในส่วนที่บกพร่องและความสมบูรณ์ของแบบฝึกทักษะ

               9.  ปรับปรุงแก้ไขแบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ เทคนิค STAD ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ

 

               3.2  การดำเนินงานตามกิจกรรม

                      1. นำแบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ เทคนิค STAD ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขแล้ว พร้อมทั้งแบบประเมินแบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ เทคนิค STAD ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นเสนอผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน เพื่อทำการประเมิน แบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ เทคนิค STAD ว่ามีความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ เพียงใด

                    2. นำแบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ เทคนิค STAD  ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น  ไปทดลองใช้กับนักเรียนกลุ่มทดลองหนึ่งต่อสาม (1 :3)  ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2555  โรงเรียนลับแลศรีวิทยา  ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3 คน โดยแยกเป็นนักเรียนที่เรียนเก่งจำนวน 1 คน นักเรียนที่เรียน  ปานกลางจำนวน 1 คน และนักเรียนที่เรียนอ่อนจำนวน 1 คน  เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ เทคนิค STAD  ตามเกณฑ์ 

           3. นำแบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ เทคนิค STAD  ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น ไปทดลองใช้กับนักเรียนกลุ่มทดลองแบบกลุ่มเล็ก (1 :9) ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2555  โรงเรียนลับแลศรีวิทยา  ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 9 คน โดยแยกเป็นนักเรียนที่เรียนเก่งจำนวน 3 คน นักเรียนที่เรียน  ปานกลางจำนวน 3 คน และนักเรียนที่เรียนอ่อนจำนวน 3 คน  เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ เทคนิค STAD  ตามเกณฑ์ 

                     4. นำแบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ เทคนิค STAD  ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น  ไปทดลองใช้กับนักเรียนกลุ่มทดลองแบบกลุ่มใหญ่  โดยนำแบบฝึกทักษะไปทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2555  โรงเรียน

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0