โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

Coaching กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

โรงเรียน : พรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี สพม.เพชรบุรี

ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ

กลุ่มสาระฯ : ภาษาไทย

เผยแพร่เมื่อ : 14 ก.ย. 2561 โดย : Wassana Ngernthong จำนวนผู้เข้าชม 152 คน


เกริ่นนำความเป็นมา
โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรีขับเคลื่อนองค์กรด้วยทีมบุคลากรที่มีความเข้มแข็ง ปลูกฝังให้สมาชิกทุกคนมีความรักและศรัทธาในสถาบันแห่งนี้ จนก่อให้เกิดค่านิยมขององค์กรคือ “รักสถาบัน” ที่บุคลากรยึดถือปฏิบัติร่วมกันมาตลอดและสืบทอดยาวนานกว่าร้อยปี  มุ่งเน้นการทำงานเป็นทีม ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา โดยครูควบคุม และบริหารจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนให้กับนักเรียนอย่างมีคุณภาพ ส่งผลให้นักเรียนมีความเป็นเลิศทางวิชาการ ซึ่งสอดรับกับสมรรถหลักของโรงเรียน คือ เสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ ขณะที่ครูปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมชั้นเรียน จะมีครูพี่เลี้ยงที่มีอายุการทำงานในโรงเรียนมากกว่า 5 ปีขึ้นไปมา (Coaching) หรือทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้กับบุคลากรใหม่  เพื่อคอยสอนงาน เปิดโอกาสให้บุคลากรใหม่ได้ซึมซับวัฒนธรรม และค่านิยมของโรงเรียน  เป็นการถ่ายโอนองค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่น ด้วยความเอื้ออาทร  ซึ่งการ Coaching นี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเทศภายในอันเป็นกลไกในการขับเคลื่อนปลูกฝังแนวปฏิบัติที่ดีงาม หล่อหลอมให้องค์กรแห่งนี้เป็นองค์กรแห่งการมีส่วนร่วม ซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมหลักขององค์กร ที่นำพาสู่ความเป็นองค์กรชั้นนำตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 
วัตถุประสงค์

  1. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสอนงานให้กับบุคลากรใหม่

  2. ประเมินประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอน  และส่งเสริมให้ครูปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ เพื่อนำไปปรับปรุง/พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เกิดประสิทธิผล

กิจกรรม/วิธีการ/ขั้นตอนสำคัญ
1. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานงานวิชาการแต่ละระดับ เพื่อเป็นพี่เลี้ยง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ขณะ Coaching
2. ประเมินประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนจากแบบนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างน้อยภาคเรียนละ 2 ครั้ง
3. นอกจากการจับคู่นิเทศแล้ว ในแต่ละสัปดาห์จะมีการประชุมนิเทศภายของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในคาบ 9 ของวันอังคาร เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งงานในกลุ่มสาระฯ และงานที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ
4. ติดตามและสรุปผลการดำเนินงาน เพื่อปรับปรุงผลการดำเนินงานต่างๆ ให้เป็นระบบ

ผลสำเร็จ/ผลการได้รับการยอมรับ
จากการปฏิบัติหน้าที่เป็นครูพี่เลี้ยง (Coaching) ให้กับบุคลากรใหม่  เพื่อคอยสอนงาน เปิดโอกาสให้บุคลากรใหม่ได้ซึมซับวัฒนธรรม และค่านิยมของโรงเรียน  ส่งผลให้เกิดกิจกรรมในการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนมากมาย เช่น การติว O – NET ให้กับนักเรียนทั้งระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 กิจกรรมส่งเสริมการใช้ภาษาไทย ฯลฯ จากกิจกรรมดังกล่าวส่งผลให้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ได้รับรางวัล ดังนี้

  1. ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET สูงกว่าคะแนนระดับชาติทุกปี

  2. รางวัลเกียรติบัตรผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET วิชาภาษาไทย ติด (Top Ten) ในระดับประเทศ ในปีการศึกษา 2556

  3. ได้รับรางวัลเกียรติบัตรทั้งชนะเลิศ, รองชนะเลิศอันดับ 1, รองชนะเลิศอันดับ 2 และรางวัลชมเชยจากการแข่งขันทักษะต่างๆ ทั้งระดับจังหวัด เขตพื้นที่การศึกษา ภูมิภาค และระดับประเทศ

นอกจากนี้ การปฏิบัติหน้าที่เป็นครูพี่เลี้ยง (Coaching) ให้กับบุคลากรใหม่  ยังก่อให้เกิด
1. ความสามัคคี บุคลากรมีความผูกพันใกล้ชิดเหมือนคนในครอบครัวเดียวกัน มีน้ำใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ถึงแม้บางครั้งมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน แต่รู้จักให้อภัยกันเสมอ
2. ความคิดสร้างสรรค์ บุคลากรมีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญเฉพาะด้าน สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์/บริการที่หลากหลาย ส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ ในการให้บริการวิชาการด้านวัฒนธรรมด้วยผลงานสร้างสรรค์ซึ่งมีความโดดเด่น
3. ความมุ่งมั่นให้เกิดผลสำเร็จของงาน โรงเรียนและกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเปิดโอกาสให้ทำงานตรงตามความรู้ ความสามารถ และเปิดโอกาสให้มีอิสระทางความคิด บุคลากรในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยจึงทำงานด้วยใจรัก และถือว่าเป็นงานในหน้าที่ เป็นงานที่ท้าทาย
4. การมีจิตบริการ บุคลากรส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี จึงมีความใกล้ชิดคุ้นเคยและเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างลุ่มลึก สามารถนำมาปรับใช้ในการให้บริการได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยมุ่งสร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้า ทั้งผู้เรียนและผู้ปกครองด้วยการยึดถือลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และมุ่งเน้นการมีจิตบริการด้วยใจ เห็นได้จากการจัดโครงการ/กิจกรรมต่างๆ ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดียิ่งจากชุมชน ด้วยเหตุผลที่สำคัญประการหนึ่งก็คือบุคลากรของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีความเป็นกันเอง มีน้ำใจ และมีมนุษยสัมพันธ์ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0