โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

กระเป๋าอเนกประสงค์

โรงเรียน : เทพพิทยาภาณุมาศ สพม.สงขลา สตูล

ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ

กลุ่มสาระฯ : อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ : 6 ต.ค. 2561 โดย : นางสาวสุวรรณา  ศรีวัชรวงศ์ จำนวนผู้เข้าชม 155 คน


กิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ Best Practice
กระเป๋าอเนกประสงค์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ชื่อผลงาน                  กระเป๋าอเนกประสงค์
ชื่อเจ้าของผลงาน         นางสาวอุษณีย์  ศรีเจริญ    นางงามจิต  กฤษณาพันธ์
                             โรงเรียนเทพพิทยาภาณุมาศ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16                       

สภาพปัญหา
ส่งเสริมให้นักเรียนคิดนำเอาวัสดุเหลือใช้อย่างเศษผ้าที่ยังสามารถหาได้จากร้านตัดเย็บเสื้อผ้า แล้วเราก็เอามาตัดเย็บหรือประดิษฐ์เป็นกระเป๋าอเนกประสงค์ เพื่อที่จะเป็นการลดขยะ ไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรอื่นๆ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และสามารถหารายได้เสริมได้

เป้าหมาย
นักเรียนสามารถผลิตและสร้างสรรค์ผลงาน ผลิตภัณฑ์กระเป๋าอเนกประสงค์ เพื่ออุปโภคและจัดจำหน่ายเป็นรายได้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ขั้นตอนการดำเนินงานตาม Flowchart
1. วางแผนโดยเตรียมนักเรียนที่จะนำมาฝึกทักษะ
2. ค้นคว้าโดยคว้าหาข้อมูลที่จะฝึกทักษะ
3 .ศึกษาตัวอย่าง
4. ปฏิบัติตามตัวอย่างโดยให้นักเรียนฝึกตามตัวอย่างจนเกิดทักษะและเกิดวามชำนาญ
5. สร้างแนวคิดใหม่ให้นักเรียนสร้างแนวคิดเป็นของตนองแล้วทำตามแนวคิดใหม่จนเกิดทักษะและความชำนาญ
6. ประเมินผล ผ่าน/ไม่ผ่าน/ปรับปรุง
การดำเนินงานตามกิจกรรม (PDCA)
          1. ขั้นเตรียมการ (Plan)
                 - ประชุมปรึกษาหารือหรือชี้แจงในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพเพื่อคัดเลือกนักเรียนฝึกปฏิบัติ
                 - แจ้งจุดมุ่งหมายในการพัฒนานักเรียนสู่ความเป็นเลิศ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
                 - เตรียมวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติให้พร้อม
         2. ขั้นดำเนินการ (Do)
                 - นักเรียนปฏิบัติจริงตามรูปแบบขั้นตอนหลายๆครั้งจนได้ผลการพัฒนาที่ต่อเนื่อง
         3. ขั้นตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนา (Check)
                 - ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบผลการปฏิบัติงานของนักเรียน
                 - ดูผลงานที่ปรากฏ และประเมินผลงาน
         4. ขั้นสรุปและรายงาน (Action)
                 - สรุปอภิปรายปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนา
                 - ปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
                 - สรุปและรายงานผลเป็นระยะ
ปัจจัยความสำเร็จ
1. โรงเรียนมีนโยบายที่ชัดเจนในการปฏิรูปการเรียนรู้ มีความพร้อมในด้านอาคารสถานที่ และสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอน https://scontent.fhdy1-1.fna.fbcdn.net/v/t1.15752-9/s2048x2048/40752523_247217449270596_8946581237376483328_n.jpg?_nc_cat=100&oh=fdb20bc917d8ca4d977d5c21bae69e16&oe=5C6006E7
 2. ผู้บริหารให้การสนับสนุนด้านงบประมาณในการดำเนินการ
 3. ผู้ปกครองให้การสนับสนุนในการแสวงหาความรู้ของนักเรียน
 

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0