โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

โรงเรียนมาตรฐานสากล

โรงเรียน : สุรวิทยาคาร สพม.สุรินทร์

ประเภท : โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 15 ก.ย. 2561 โดย : สาวิณี ฉิมพาลี จำนวนผู้เข้าชม 83 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โรงเรียนมาตรฐานสากล
ประเภท โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
ปีการศึกษา 2554
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน
     2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
     2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
     2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
     2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
     2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
     3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก
     3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
     3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา การจัดการศึกษาตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542  มาตรา 22    ความว่า  “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด  กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ” และ มาตรา 23 ความว่า “การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญ  ทั้งความรู้  คุณธรรม  กระบวน การเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา”  (ความมีเหตุผล)
           โรงเรียนสุรวิทยาคารได้กำหนดวิสัยทัศน์ของโรงเรียน “พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้  ควบคู่คุณธรรม  ล้ำเลิศกีฬา  ก้าวหน้าเทคโนโลยี  สื่อสารดีสองภาษา  เทียบเคียงมาตรฐานสากล  เป็นพลโลกตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภายในปี 2565  (ภูมิคุ้มกันที่ดี)   
           ในปีงบประมาณ 2561  โรงเรียนได้กำหนดนโยบายการพัฒนาการศึกษาตามแผนงานข้อที่ 1พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้เทียบเคียงมาตรฐานสากล  ข้อที่ 2 พัฒนาผู้เรียนมีความรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้คุณภาพและมาตรฐานระดับสากลอย่างเพียงพอในการศึกษาต่อและเชียวชาญตามความถนัดของตน  ข้อ 6 ส่งเสริมการเรียนรู้เต็มศักยภาพผู้เรียนทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี ภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศอื่นตามมาตรฐานสากลและ STEM Education  ข้อที่ 7 พัฒนาระบบเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพตามวิถีปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และข้อ 8
 พัฒนาผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา ให้มีวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์สู่มาตรฐานวิชาชีพและเป็นมืออาชีพตามหลักธรรมาภิบาล  (เงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม)  

 
วัตถุประสงค์
    1. เพื่อพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้เทียบเคียงมาตรฐานสากล
    2. เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551  มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล
              3. เพื่อให้ครูจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมและตอบสนองความสามารถ ความถนัดและ
ความสนใจของผู้เรียน และมีการวัดและประเมินผลที่มุ่งเน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการ
ที่หลากหลาย      
             4. เพื่อพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์สู่มาตรฐานวิชาชีพ
 
เป้าหมาย
    1. เป้าหมายเชิงปริมาณ
                  1.1  ครูร้อยละ 90 มีการออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานและจัดทำแผนการจัดการ
เรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและสติปัญญา จัดทำและใช้สื่อ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลที่มีคุณภาพและหลากหลาย
                 1.2  โรงเรียนมีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและระเบียบการวัดและประเมินผล
เทียบเคียงมาตรฐานสากล
                      1.3  นักเรียนร้อยละ 80 ได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้คุณภาพและมาตรฐานระดับสากล
                1.4  กลุ่มบริหารงานวิชาการมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ
2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ
                2.1  ครูผู้สอนสามารถออกแบบหน่วยการเรียนรู้ จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่สอดแทรกสาระสากลได้ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและสติปัญญา สติปัญญา จัดทำและใช้สื่อ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลที่มีคุณภาพและหลากหลาย
               2.2  ครูได้นำประสบการณ์ ความรู้ ความเข้าใจการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนา
หลักสูตร ปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
               2.3  นักเรียนมีความรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้คุณภาพและมาตรฐานสากล อย่างเพียงพอในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ
               2.4  กลุ่มบริหารงานวิชาการมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการที่มีคุณภาพตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาล
 
ระยะเวลา 14 ก.ย. 2561 - 14 ก.ย. 2561
สถานที่ดำเนินการ
ตัวชี้วัด 1. ร้อยละของครูที่จัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. การใช้สื่อ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ร้อยละ 90 ของครูที่จัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. การใช้สื่อ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ร้อยละ 90
3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น เฉลี่ยมากกว่า 3.00
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ เอกสารหมายเลข-2-โครงการกลุ่มบริหารงานวิชาการ-2561.docx
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0