โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

พัฒนาความเข้มแข้งงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

โรงเรียน : ลานสักวิทยา สพม.อุทัยธานี ชัยนาท

ประเภท : โรงเรียนเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา(โรงเรียนสุจริต)

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 24 ก.ย. 2561 โดย : วุฒิพงษ์ ขำศิริ จำนวนผู้เข้าชม 712 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม พัฒนาความเข้มแข้งงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ประเภท โรงเรียนเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา(โรงเรียนสุจริต)
ปีการศึกษา 2561
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน


ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา ด้วยกระแสโลกาภิวัฒน์และการดำรงอยู่ในสังคมยุคข้อมูลข่าวสารตลอดจนความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ที่ แทรกซึมสู่วิถีชีวิตของผู้คนในสังคมทุกรูปแบบ ทำให้คนไทยโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนต้องเผชิญกับ
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รุนแรง และเต็มไปด้วยสถานการณ์ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน นอกจากนี้
การไหลบ่าของวัฒนธรรมต่างชาติที่เข้ามาสู่สังคมโลกด้วยกระบวนการทุนนิยมและบริโภคนิยม ขณะที่วัฒนธรรมดั้งเดิมนับวันจะอ่อนแอลง ทำให้เด็กและเยาวชนตกเป็นเหยื่อของสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมดังกล่าว จนนำไปสู่การมีพฤติกรรม  ที่ไม่พึงประสงค์และความล้มเหลวทั้งทางด้านการเรียน ความไม่มั่นคงในอนาคต

            การพัฒนานักเรียนให้เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข มีความสามารถ สนับสนุนการแข่งขันของประเทศ อยู่ร่วมกันในสังคมโลกได้อย่างยั่งยืนบนพื้นฐานความเป็นไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง เป็นเป้าหมายสำคัญของนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 ของกระทรวงศึกษาธิการ และการพัฒนานักเรียน
ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีวิถีชีวิตที่เป็นสุขตามสังคมมุ่งหวัง โดยผ่านกระบวนการทางการศึกษานั้น  นอกจากจะดำเนินการด้วยการส่งเสริม สนับสนุนนักเรียนแล้ว การป้องกันและช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่าง ๆที่เกิดขึ้นกับนักเรียนเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทั้งด้านการสื่อสารเทคโนโลยีต่างๆ ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสิ่งเสพติด หรืออื่นๆ ที่เป็นผลเสียต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกายของทุกคนที่เกี่ยวข้อง

            ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นนวัตกรรมที่จะช่วยให้ครู อาจารย์ ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ใช้เป็นกลไกในการเฝ้าระวัง พิทักษ์ ปกป้องคุ้มครอง และให้การดูแลช่วยเหลือนักเรียนซึ่งมีศักยภาพที่แตกต่างกันให้ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม อันจะส่งผลให้นักเรียนประสบผลสำเร็จทางการเรียน และมีทักษะชีวิต ในการเผชิญสถานการณ์ปัญหาทางสังคมได้อย่างเข้มแข็งและอยู่รอดปลอดภัยจากปัญหาต่างๆได้  ดังนั้นภาพความสำเร็จที่เกิดจากการพัฒนานักเรียนจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุกคน โดยเฉพาะครูและบุคลากรทุกคนในโรงเรียน ซึ่งมีครูที่ปรึกษาเป็นหลักสำคัญในการดำเนินการต่างๆ เพื่อการดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิดด้วยความรักและเมตตาที่มีต่อศิษย์ และภาคภูมิใจในบทบาทที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนให้เติบโตงอกงาม เป็นบุคคลที่มีคุณค่าของสังคมต่อไป
          โรงเรียนลานสักวิทยา ตระหนักถึงความสำคัญของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง  มีการประสานความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งภายในและนอกโรงเรียน รวมทั้งมีวิธีการ กิจกรรม และเครื่องมือต่างๆ ที่มีคุณภาพในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีการพัฒนาครูให้มีความรู้ ความสามารถในกระบวนการทำงาน ดำเนินงานได้ครบขั้นตอนอย่างเป็นระบบครอบคลุมรอบด้าน
 
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจและเสริมสร้างทักษะในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้แก่บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ
 2. เพื่อขับเคลื่อนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีความมั่นคงเข้มแข็ง สามารถนำไปสูการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อให้ผู้ปกครอง ชุมชน และสังคมมีส่วนร่วมในการส่งเสริม ป้องกัน แก้ไข การดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างทั่วถึงทันเวลาและถูกวิธี
เป้าหมาย ผลผลิต (Output)
-  นักเรียนทุกคนได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างเป็นองค์รวมทั้งทางสติปัญญา อารมณ์ สังคม สุขภาพร่างกายและจิตใจ
-  นักเรียนทุกคนได้รับการดูแลช่วยเหลือด้วยกระบวนการ 5 ขั้นตอน ได้แก่ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรอง การส่งเสริม/พัฒนา การป้องกันแก้ไข/ดูแลช่วยเหลือ และการส่งต่อ
-  โรงเรียนมีเครือข่ายความร่วมมือจากผู้ปกครองที่มั่นคงเข้มแข็ง ตลอดจนมีเครือข่ายความร่วมมือจากท้องถิ่น ชุมชนและสังคม เพื่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างชัดเจนและเป็นระบบ
 ผลลัพธ์ (Outcomes)
-  นักเรียนโรงเรียนลานสักวิทยาทุกคนได้รับการดูแลช่วยเหลือ
-  ได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองในรูปแบบของเครือข่ายผู้ปกครอง
 
ระยะเวลา 9 พ.ค. 2561 - 1 ก.พ. 2562
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนลานสักวิทยา
ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีการประเมิน เครื่องมือที่ใช้
(Output)
-  การคัดกรองนักเรียน
-  ประเมิน SDQ
-  ประเมิน EQ
(Outcomes)
-  คัดกรองนักเรียน
-  ประเมิน SDQ
-  ประเมิน EQ

- แบบคัดกรองนักเรียน
- แบบประเมิน SDQ
- แบบประเมิน EQ

- แบบสรุปคัดกรองนักเรียน
- แบบประเมิน SDQ
- แบบประเมิน EQ

- แบบคัดกรองนักเรียน
- แบบประเมิน SDQ
- แบบประเมิน EQ

- แบบสรุปคัดกรองนักเรียน
- แบบประเมิน SDQ
- แบบประเมิน EQ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ           1. ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทุกคนตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและสามารถบูรณาการเข้ากับระบบอื่นๆ ในโรงเรียน ได้แก่ การเรียนการสอน กิจกรรมนักเรียน การรักษาความปลอดภัย ตลอดจนระบบการบริหาร อาทิ งานวิชาการ งานปกครอง งานบริหารงานบุคคล งานบริหารทั่วไป เป็นต้น
            2. ครูทุกคนให้การดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยความเอาใจใส่ สามารถนำหลัก 5 ขั้นตอนของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนไปปรับใช้ในชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสม
            3. โรงเรียนมีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เข้มแข็ง สามารถนำข้อมูลจากการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และการคัดกรองไปสู่การกำหนดแผนงานโครงการเพื่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียน
            4. โรงเรียนปลอดจากการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ นักเรียนได้รับการพิทักษ์ ปกป้องคุ้มครอง ดูแลช่วยเหลือและได้รับการพัฒนาส่งเสริมจากการใช้วินัยเชิงบวก การเสริมสร้างทักษะชีวิต การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมและค่า นิยมที่ดีงาม ภายใต้ระบบการจัดการเรียนรู้ที่มีผู้บริหาร ครูและบุคลากรในโรงเรียนเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
กิจกรรม/ขั้นตอน เป้าหมาย ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ
1. ประชุมวางแผนดำเนินการ - นักเรียนทุกคน 9 พ.ค. 61 น.ส.จันทนา  มณีรัตน์
2. เขียนโครงการและนำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ/แต่งตั้งคณะกรรมการ 3 ชุด คือ คณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการประสานงาน คณะกรรมการดำเนินงาน โดยออกคำสั่งและกำหนดภาระหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจน - นักเรียนและผู้ปกครอง  12 พ.ค. 61 น.ส.จันทนา  มณีรัตน์
 
3. สร้างความตระหนักและความเข้าใจกับครูและบุคลากรในโรงเรียน - ครูและบุคลากรในโรงเรียน 12 พ.ค. 61 น.ส.จันทนา  มณีรัตน์
4. วิเคราะห์สภาพความพร้อมพื้นฐานของโรงเรียน และจัดทำแผนปฏิบัติงาน จัดทำปฏิทินปฏิบัติงาน ตลอดจนจัดเตรียมสื่อ เอกสารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน - นักเรียนทุกคน 25 – 29
พ.ค. 61
น.ส.จันทนา  มณีรัตน์
ครูที่ปรึกษา
5. ดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยจัดกิจกรรมในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างรอบด้าน ตามกระบวนการ ๕ ขั้นตอน คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน  การส่งเสริม/พัฒนา การช่วยเหลือแก้ไข/ดูแลช่วยเหลือ การส่งต่อ - นักเรียนและผู้ปกครอง


 
 มิ.ย. 61 – ธ.ค. 61 น.ส.จันทนา  มณีรัตน์
ครูที่ปรึกษาทุกห้อง


 
6. ดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริม ป้องกัน และแก้ไข - นักเรียน ม.ค. 62 น.ส.จันทนา  มณีรัตน์น.ส.อรวรรณ  รังษีวงศ์
7. สรุปผล  รายงาน   1 ก.พ. 62 น.ส.จันทนา  มณีรัตน์น.ส.อรวรรณ  รังษีวงศ์
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0