โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

โครงการพัฒนาและส่งเสริมนักเรียนด้วยหลักสูตรสะเต็มศึกษา (STEM Education)

โรงเรียน : เชียงคำวิทยาคม สพม.พะเยา

ประเภท : โรงเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ (Enrichment Science Classroom : ESC)

ผลการประเมิน : 5.00

เผยแพร่เมื่อ : 11 ต.ค. 2561 โดย : ครองทรัพย์ วงศ์ใหญ่ จำนวนผู้เข้าชม 10108 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการพัฒนาและส่งเสริมนักเรียนด้วยหลักสูตรสะเต็มศึกษา (STEM Education)
ประเภท โรงเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ (Enrichment Science Classroom : ESC)
ปีการศึกษา 2561
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน


     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
     3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
     3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา                     การพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 อันเป็นทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิตและการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างอาชีพให้แก่เยาวชน และเตรียมพร้อมกำลังคนที่มีคุณภาพเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ สถาบันส่งเสริม การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จึงเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา (Science Technology Engineering and Mathematics Education : STEM Education)    ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ และประยุกต์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ในสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับสถานการณ์ที่พบในชีวิตประจำวัน และการประกอบอาชีพ นอกจากนี้ ในระหว่างการเรียนรู้ดังกล่าว ผู้เรียนยังได้พัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารญาน (critical thinking) ทักษะการทำงานเป็นทีม
(collaboration skill) ทักษะการสื่อสาร (communication skill) และความคิดสร้างสรรค์ (creativity)    สะเต็มศึกษา เป็นแนวทางการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และสามารถบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ไปใช้ในการเชื่อมโยงและแก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
                    การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เป็นการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมหรือโครงงานที่บูรณาการการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี ผนวกกับกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม โดยผู้เรียนจะได้ทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจและฝึกทักษะด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี และนำความรู้มาออกแบบชิ้นงานหรือวิธีการ เพื่อตอบสนองความต้องการหรือแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เพื่อให้ได้เทคโนโลยี ซึ่งเป็นผลผลิตจากกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีนั้น มีเป้าหมายหลักในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้รู้วิทยาศาสตร์ (science literate) ผู้รู้คณิตศาสตร์ (math literate) และผู้รู้เทคโนโลยี (technology literate) สะเต็มศึกษาเป็นการเรียนรู้แบบ       บูรณาการ ที่ใช้ความรู้และทักษะในด้านต่างๆ ผ่านการทำกิจกรรม (activity based) หรือการทำโครงงาน (project based) ที่เหมาะสมกับวัยและระดับชั้นของผู้เรียน การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาดังกล่าวนี้ จะช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิด ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการสื่อสาร ซึ่งทักษะดังกล่าวนี้เป็นทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ผู้เรียนพึงมี นอกจากนี้ผู้เรียนยังได้ความรู้แบบองค์รวมที่สามารถนำไปเชื่อมโยงหรือประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
                 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โรงเรียนเชียงคำวิทยาคมได้จัดทำโครงการพัฒนาและส่งเสริมนักเรียนด้วยหลักสูตรสะเต็มศึกษา (STEM Education) และเล็งเห็นถึงการพัฒนาทักษะดังกล่าวข้างต้น จึงได้จัดกิจกรรมการอบรมนักเรียนหลักสูตรสะเต็มศึกษา (STEM Education)  กิจกรรมชุมนุมเชิงปฏิบัติการสะเต็ม  และ กิจกรรมการเข้าร่วมการแข่งขัน Thailand STEM Festival ขึ้น เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มุ่งสู่ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างแท้จริง ดังนั้นจึงได้ดำเนินการขับเคลื่อนสะเต็มศึกษาในการพัฒนานักเรียนห้องเรียนพิเศษฯ ให้สามารถพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วยสะเต็ม รวมทั้งสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
 
วัตถุประสงค์ 1. เพื่ออบรมนักเรียนหลักสูตรสะเต็มศึกษา (STEM Education)
2. เพื่อส่งเสริมนักเรียนให้มีการปฏิบัติการเชิงสะเต็ม
3. เพื่อส่งเสริมนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขัน Thailand STEM Festival
 
เป้าหมาย ด้านผลผลิต
1.  ร้อยละของนักเรียนที่ผ่านการอบรมหลักสูตรสะเต็มศึกษา
2.  ร้อยละของนักเรียนที่เข้าร่วมชุมนุมเชิงปฏิบัติการสะเต็ม
3.  ร้อยละของนักเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขัน
ด้านผลลัพธ์
1. ร้อยละของนักเรียนที่ผ่านการอบรมหลักสูตรสะเต็มศึกษา
2.  ร้อยละของนักเรียนที่มีผลงานของแต่ละกิจกรรมอยู่ในระดับดีขึ้นไป
3. ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่ผ่านการอบรมหลักสูตรสะเต็มศึกษา
4. ร้อยละของนักเรียนที่เข้าร่วมชุมนุมเชิงปฏิบัติการสะเต็ม
5. ร้อยละของนักเรียนที่เข้าร่วมชุมนุมเชิงปฏิบัติการสะเต็ม มีผลงานของแต่ละกิจกรรมอยู่ในระดับดีขึ้นไป
6.  ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่เข้าร่วมชุมนุมเชิงปฏิบัติการสะเต็ม
7. ร้อยละของนักเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขัน
8.  ร้อยละของนักเรียนที่ได้รับรางวัล
9. ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน
 
ระยะเวลา 1 ต.ค. 2560 - 30 ก.ย. 2561
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนเชียงคำวิทยาคม
ตัวชี้วัด 1. ร้อยละของนักเรียนที่ผ่านการอบรมหลักสูตรสะเต็มศึกษา
2.  ร้อยละของนักเรียนที่มีผลงานของแต่ละกิจกรรมอยู่ในระดับดีขึ้นไป
3. ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่ผ่านการอบรมหลักสูตรสะเต็มศึกษา
4. ร้อยละของนักเรียนที่เข้าร่วมชุมนุมเชิงปฏิบัติการสะเต็ม
5. ร้อยละของนักเรียนที่เข้าร่วมชุมนุมเชิงปฏิบัติการสะเต็ม มีผลงานของแต่ละกิจกรรมอยู่ในระดับดีขึ้นไป
6.  ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่เข้าร่วมชุมนุมเชิงปฏิบัติการสะเต็ม
7. ร้อยละของนักเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขัน
8.  ร้อยละของนักเรียนที่ได้รับรางวัล
9. ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน
 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. นักเรียนที่ผ่านการอบรมหลักสูตรสะเต็มศึกษาสามารถเผยแพร่ความรู้แก่ผู้อื่นได้
2.  ผลงานที่นักเรียนสร้างสรรค์ขึ้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง
3. นักเรียนสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขันต่าง ๆ ได้ และนำชื่อเสียงมาสู่โรงเรียนเชียงคำ
สรุปคะแนนประเมิน 5.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ ขั้นวิเคระห์ (Situation :S)
วิเคราะห์โครงสร้างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษา
ขั้นวางแผน (Plan :P)
1.  กำหนดแนวทางการดำเนินโครงการพัฒนาและส่งเสริมนักเรียนด้วยหลักสูตรสะเต็มศึกษา (STEM Education)
2. จัดทำแผนการดำเนินกิจกรรม
3. นำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
4. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามกิจกรรม
ขั้นดำเนินการ ขั้นการทำงาน (Action :A)
กิจกรรมการอบรมนักเรียนหลักสูตรสะเต็มศึกษา (STEM Education)
1.  เป้าหมาย
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนเชียงคำวิทยาคม ที่สมัครตามความสนใจ
2.  ผู้รับผิดชอบกิจกรรม
     กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
3.  รายละเอียดกิจกรรม
     ภาคเช้า: ฟังการบรรยายและให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมสะเต็ม
     ภาคบ่าย: อบรมเชิงปฏิบัติการ การทดลอง การระดมความคิดของนักเรียนภายในกลุ่ม และการนำเสนอแนวคิดของแต่ละกลุ่ม
4.  ประเมินผลกิจกรรม
     - การแสดงและทดสอบผลงานที่สร้างขึ้นตามสถานการณ์ที่กำหนดในแต่ละกิจกรรม
5.  สรุปรายงานผลกิจกรรมให้ผู้เกี่ยวข้องและโรงเรียนทราบ
กิจกรรมการเข้าร่วมการแข่งขัน Thailand STEM Festival
1.  เป้าหมาย
     นักเรียนโรงเรียนเชียงคำวิทยาคม
2.  ผู้รับผิดชอบ
     กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
3.  รายละเอียดกิจกรรม
3.1 คัดเลือกนักเรียนเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันฯ
3.2 ดำเนินการฝึกซ้อมนักเรียน
3.3 นำนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันฯ
4.  ประเมินผลกิจกรรม
     รายงานและสรุปผลการแข่งขันให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและโรงเรียนทราบ
กิจกรรมชุมนุมเชิงปฏิบัติการสะเต็ม
1.  เป้าหมาย
     นักเรียนโรงเรียนเชียงคำวิทยาคม ที่สนใจ
2.  ผู้รับผิดชอบกิจกรรม
     ครูที่ปรึกษาชุมนุม (เชิงปฏิบัติการสะเต็ม)
3.  รายละเอียดกิจกรรม
     3.1  สำรวจกิจกรรมชุมนุมที่เกี่ยวข้องกับสะเต็มศึกษา
     3.2  วางแผนเพื่อกำหนดแนวทางของกิจกรรมชุมนุมร่วมกัน
     3.2.  ผลิต/จัดหา วัสดุและสื่อเทคโนโลยีเพื่อให้พร้อมต่อการใช้งาน
4.  ประเมินผลกิจกรรม
     -  แบบสอบถามนักเรียน
     -  แบบสอบถามครูที่ปรึกษาชุมนุม
5.  สรุปรายงานผลกิจกรรมให้ผู้เกี่ยวข้องและโรงเรียนทราบ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล ขั้นประเมินผล (Check :C)
1. ประเมินผลการดำเนินกิจกรรมการอบรมนักเรียนหลักสูตรสะเต็มศึกษา (STEM Education)
2. ประเมินผลการดำเนินกิจกรรมการเข้าร่วมการแข่งขัน Thailand STEM Festival
3. ประเมินผลการดำเนินกิจกรรมชุมนุมเชิงปฏิบัติการสะเต็ม
ขั้นสรุปและรายงาน ขั้นรายงานผล (Evolution :E)
1. ประเมินหลักสูตรโดยกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม/นักเรียน และผู้ปกครอง
2. วิเคราะห์ผลประเมินหลักสูตร ประเมินผลกิจกรรม
3. สรุปผลการปรับหลักสูตรจากกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
4. รายงานผลการดำเนินโครงการให้ผู้เกี่ยวข้องและโรงเรียนรับทราบ
5. ประชุมชี้แจงประเด็นที่ต้องแก้ไขในการจัดทำโครงการในปีงบประมาณต่อไป
6. ปรับปรุงโครงการการตามข้อเสนอแนะจัดทำโครงการในปีงบประมาณต่อไป
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0