โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

การทอเสื่อกกและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ (เสื่อกกเขื่อนเขตต์)

โรงเรียน : เขื่อนพิทยาสรรค์ สพม.มหาสารคาม

ประเภท : โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 11 ต.ค. 2561 โดย : ศิริวรรณา  ภูกองไชย จำนวนผู้เข้าชม 305 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม การทอเสื่อกกและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ (เสื่อกกเขื่อนเขตต์)
ประเภท โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปีการศึกษา 2560
มาตรฐาน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

     2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา 1. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ (9 คะแนน)
                    โรงเรียนเขื่อนพิทยาสรรค์ ได้มุ่งพัฒนาทักษะวิชาชีพ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม ระหว่างผู้บริหาร ครูและนักเรียน ด้วยแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
การทอเสื่อกก  เป็นภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น  ที่นำเอาต้นกกมาแปรสภาพให้เป็นเส้น ย้อมสีแล้วสานทอให้เป็นแผ่นผืน  เพื่อนำมาใช้ปูลาดรองนั่งหรือนอน  หรือทำธุรกรรมต่างๆ  ตลอดจนทำพิธีกรรมทางศาสนาและความเชื่อ ซึ่งพื้นที่ในเขตพื้นที่บริการ เป็นชุมชนเกษตรกรรม ทำนา ทำสวนมีน้ำบริบูรณ์ทั้งปี
สิ่งสำคัญคือ ผลที่เกิดกับผู้เรียน ซึ่งได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ด้วยการปฏิบัติจริง โรงเรียนสามารถสร้างนิสัยพอเพียง  ผู้เรียนมีความเพียร ความอดทนในการทำงาน และทำให้มีรายได้ระหว่างเรียนพร้อมที่จะพัฒนาไปสู่อาชีพอย่างยั่งยืนได้ นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุขสังเกตได้จากรอยยิ้มกับความภาคภูมิใจจากการได้มีโอกาส นำเสนอผลงานในระดับต่าง ๆ ร่วมกับองค์กรอื่น ๆ และได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพของตนเอง เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเองได้เป็นอย่างดี ครูได้พัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนอง กับบริบทและสภาพของโรงเรียน ชุมชน และการมีส่วนร่วมกับชุมชนอย่างต่อเนื่อง ผลที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นความสำเร็จที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษาของโรงเรียนเขื่อนพิทยาสรรค์

 
วัตถุประสงค์ 2. จุดประสงค์และเป้าหมาย ของการดำเนินงาน (6 คะแนน)
                ๑) สร้างแหล่งเรียนรู้สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเขื่อนพิทยาสรรค์ จังหวัดมหาสารคาม โดยให้โรงเรียนเป็นศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน
๒) ขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้แหล่งเรียนรู้พัฒนานักเรียนให้เป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรการศึกษาได้
๓) พัฒนานักเรียนให้สามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง จากการปฏิบัติจริงในแหล่งเรียนรู้
     สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเขื่อนพิทยาสรรค์
 
 
เป้าหมาย ศาสตร์พระราชา     เข้าใจ    เข้าถึง     พัฒนา
     สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูและบุคลากรสร้างความใจในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชั้นเรียน และการน้อมนำศาสตร์พระราชา มาสู่การปฏิบัติอย่างมีส่วนร่วม     ครู สามารถนำองค์ความรู้และน้อมนำหลักการทรงงานของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ มาประยุกต์ใช้ในการทำงานอย่างมีคุณค่า           ผู้เรียนพัฒนางานให้เกิด ผลงานที่สร้างสรรค์ลวดลายต่าง ๆ อย่างสวยงาม สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
 
 
ระยะเวลา 11 ต.ค. 2561 - 11 ต.ค. 2561
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนเขื่อนพิทยาสรรค์
ตัวชี้วัด โรงเรียนเขื่อนพิทยาสรรค์ ส่งเสริมให้บุคลากรพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ ทั้งด้านการอบรม การศึกษาต่อ การเผยแพร่ผลงาน และการสร้างเสริมประสบการณ์ในการทำงาน
                มูลนิธิยุวสถิรคุณ มอบรางวัลสูงสุดระดับประเทศในการประเมินสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ให้กับโรงเรียนเขื่อนพิทยาสรรค์อ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ให้ทุนสนับสนุนในการจัดทำแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา ในการจัดกิจกรรมการจัดเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้ ปฏิบัติการทอเสื่อกกได้อย่างคุ้มค่า 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ  สถานศึกษาควรส่งเสริมให้มีการประเมินเพื่อความยั่งยืนในการปฏิบัติที่เป็นเลิศต่อไป จนถึงระดับเป็นแบบอย่างต่อไปได้
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0