โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

โครงการส่งเสริมคุณธรรมนำชีวิตเชิดชูชาติศาสตร์กษัตริย์

โรงเรียน : พุทธชินราชพิทยา สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์

ประเภท : โรงเรียนเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา(โรงเรียนสุจริต)

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 14 ต.ค. 2561 โดย : ภารณี.  เสนีวงศ์ ณ อยุธยา จำนวนผู้เข้าชม 144 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการส่งเสริมคุณธรรมนำชีวิตเชิดชูชาติศาสตร์กษัตริย์
ประเภท โรงเรียนเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา(โรงเรียนสุจริต)
ปีการศึกษา 2558-2561
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน

ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา
1.ความเป็นมา  
ปัจจุบันความเจริญทางเทคโนโลยีและการสื่อสาร ส่งผลต่อความก้าวหน้าของประเทศอย่างไม่หยุดยั้ง  ภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายที่แฝงไว้ด้วยคติธรรมถูกบดบังและแทนที่ด้วยวัฒนธรรมตะวันตกอย่างเด่นชัด ทั้งในเรื่องการแต่งกาย ชีวิตความเป็นอยู่ เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย การประพฤติตนไม่เหมาะสม ลุ่มหลงอบายมุข สิ่งยั่วยุ และเสพสารเสพติดเกิดความต้องการอย่างไร้ขีดจำกัด จนมองข้ามคุณธรรมจริยธรรมและความดีงามในอดีต ส่งผลให้เกิดการกระทำโดย  มิชอบ กระทำทุจริตโดยขาดจิตสำนึก เกิดปัญหาร้ายแรงและส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างมาก ด้วยความเป็นจริงดังกล่าว โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา จึงได้จัดกิจกรรม “การเสริมสร้างคุณลักษณะ 5 ประการเล่าขานความสุจริต  โดยใช้ PUTTHA MODEL” ขึ้น เพื่อใช้เป็นใช้แนวทางในการแก้ปัญหาและพัฒนา

 
วัตถุประสงค์ 2.วัตถุประสงค์
         2.1 เพื่อส่งเสริมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สู่ความสุจริตภายใต้การบูรณาการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
         2.2  เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกที่ดีตามคุณลักษณะของความสุจริต มีทักษะการคิด มีวินัย มีความซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียงและมีจิตอาสา
         2.3  เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมแห่งความสุจริต และ ป้องกันการทุจริต ที่ยั่งยืน

 
เป้าหมาย
3.  เป้าหมายและผลผลิต (Goals &Outputs)  
 
    3.1 เชิงปริมาณ ( Quantity)
              ผู้บริหาร ครู มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการสู่โรงเรียนสุจริต สามารถขับเคลื่อนการพัฒนา และบูรณาการการจัดการเรียนรู้แบบคู่ขนานกับวิชาที่สอนตลอดจนสามารถสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งความสุจริตและป้องกันการทุจริตที่ยั่งยืน
              นักเรียนโรงเรียนพุทธชินราชพิทยาจำนวน 2,300 คน มีความรู้ความเข้าใจ มีจิตสำนึกที่ดีมีทักษะการคิด มีวินัย มีความซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียงและมีจิตอาสาตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ สพฐ.         
  
   3.2  เชิงคุณภาพ ( Quality)
             ร้อยละ 80 ของผู้บริหาร และ ครู มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการสู่โรงเรียนสุจริต สามารถขับเคลื่อนการพัฒนา และ
บูรณาการการจัดการเรียนรู้แบบคู่ขนานกับวิชาที่สอนตลอดจนสามารถสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งความสุจริตและป้องกันการทุจริตที่ยั่งยืน
            ร้อยละ 80 ของนักเรียนโรงเรียนพุทธชินราชพิทยามีความรู้ความเข้าใจ มีจิตสำนึกที่ดี มีทักษะการคิด มีวินัย  มีความซื่อสัตย์สุจริต
อยู่อย่างพอเพียงและมีจิตอาสาตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของ สพฐ. และ มีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริตที่ยั่งยืน
ระยะเวลา 12 ต.ค. 2561 - 12 ต.ค. 2561
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา
ตัวชี้วัด 4. ตัวชี้วัด
1.มีการประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำหลักสูตรและการขับเคลื่อนโรงเรียนสุจริต ปีละ 1 ครั้ง
2. มีการเข้าค่าย ป.ป.ช.น้อย ปีละ 1 ครั้ง
3. จัดทำศูนย์ข้อมูลสารสนเทศสุจริตและป้องกันการทุจริต
4.นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษามีจิตสำนึกที่ดีมีส่วนร่วมในกิจกรรมความสุจริต ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 และมีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริต ส่งผลให้นักเรียนมีพฤติกรรมการทุจริตลดลงถึงไม่มีเลย
 5. มีการจัดกิจกรรมตลาดนัดโครงงานสุจริตเพื่อเผยแพร่อย่างน้อย  ปีละ 1 ครั้ง

 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 5.ผลที่คาดว่าจะได้รับ (End-products of Expected outcomes)
    5.1
  โรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีระบบและวิถีแห่งความสุจริต 
    5.2 ผู้บริหาร ครู เป็นผู้นำในเรื่องความสุจริต และป้องกันการทุจริตที่ยั่งยืน
    5.3 นักเรียนโรงเรียนพุทธชินราชพิทยา มีจิตสำนึกที่ดี มีทักษะการคิด มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย มีความพอเพียงและมีจิตสาธารณะ และช่วยกันป้องกันการทุจริตที่ยั่งยืนยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ 158สรุปรายละเอียดตัวชี้วัดคุณลักษณะสุจริต
ขั้นเตรียมการ ขั้นเตรียมการ
6.1  ประชุม เพื่อรับทราบนโยบายการขับเคลื่อนกับเขตพื้นที่สพม 39                        6.2  ประชุมชี้แจงกิจกรรมกับคณะครูและผู้ที่เกี่ยวข้องพร้อมประกาศให้นักเรียนและบุคลากรรับทราบ
6.3  ประสานความร่วมมือผู้เกี่ยวข้้องเพื่อประชุมนัดหมายหาข้อตกลงการทำงานร่วมกัน
6.4 ออกคำสั่งแต่งตั้งบุคลากรแกนนำ หรือผู้เกี่ยวข้อง
6.5 จัดเตรียมประสานการดำเนินงานกิจกรรมต่าง ๆ พร้อมเตรียมเอกสาร อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต้องใช้ดำเนินกิจกรรม
6.6 ดำเนินกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ ประกอบด้วย 
     - กิจกรรม ค่าย ป.ป.ช.น้อย ร้อยใจสุจริต (ดำเนินการ)
     - กิจกรรมเสริมการสร้างศูนย์ข้อมูลสารสนเทศสุจริตและป้องกันการทุจริต 
     - กิจกรรมสร้างเสริมจิตสำนึกที่ดีเรื่องความสุจริตและป้องกันการทุจริต (ดำเนินการ)
     -  6.4 กิจกรรมตลาดนัดโครงงานสุจริต (ดำเนินการในวันเปิดโลกวิชาการ)
      -  ประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำหลักสูตรและการขับเคลื่อนโรงเรียนสุจริต
      - กิจกรรมค่ายเยาวชนคนดีของแผ่นดินร่วมกับเขต)


 
ขั้นดำเนินการ ขั้นดำเนินการ
การดำเนินงานของงานสุจริตโรงเรียนแบ่งออกเป็น 3 ระยะดังนี้

ระยะที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ระยะเริ่มแรกเป็นการขานรับนโยบายจากสพฐ. มีการประกาศเจตนารณ์ การทำปฏิญญาร่วมกัน การแต่งเพลงสุจริต เพื่อสร้างแรงจูงใจ มีการเผยแพร่ประชาาสัมพันธ์โครงการทั้งในโรงเรียนและชุมชนทั้งนี้เพื่อสร้างความเข้าใจตามบริบทและสร้างความตระหนักให้กับบุคลากรของสถานศึกษา และนักเรียนโรงเรียนพุทธชินราชพิทยา ตลอดจนในชุมชนทั้งทางสถานีวิทยุ โทรทัศน์ และเอกสารแผ่นพับ
ระยะที่ 2 ปีกาศึกษา 2557 ระยะของการขับเคลื่อน มีการออกแบบ Model เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อน มีการประชุมเพื่อวางแผนดำเนินงาน พร้อมขับเคลื่อน การสรรหาและคัดเลือตัวแทน ปปช.สพฐ.ชุมชน ปปช.สพฐ.น้อย การขยายผล 10 % สู่โรงเรียนเครือข่ายรุ่นแรก ประกอบด้วย 6+1 โรงเรียน คือ โรงเรียนบางระกำวิทยศึกษา โรงเรียนทรัพย์ไพรวัลย์วิทยคม โรงเรียนวังโพรงวิทยา โรงเรียนเนินมะปรางศึกษาวิทยา
 รร.เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าฯอุตรดิตถ์  รร.ทุ่งกะโล่วิทยา และ  รร.ทรัพย์ไพรวัลย์วิทยาคม และมีโรงเรียนพรหมพิรามวิทยาขอเข้าร่วมเป็นเครือข่ายเพิ่มอีก 1 โรงเรียนรวมเป็น 7 โรงเรียน การประชุมหัวหน้ากลุ่มสาระ ฯ และคณะครูเพื่อจัดทำหลักสูตรสุจริต และพัฒนาสู่การจัดทำ Best Practices ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ตลอดจนการคัดเลือกตัวแทนของกลุ่มสาระฯเพื่อนำเสนอผลงาน ณ เวทีสุจรติธรรมนำไทย ระดับชาติ ณ แอมบาสเดอร์ พัทยา 
ระยะที่ 3 ปีการศึกษา 2558 ระยะของการต่อยอดกิจกรรม ตามนโยบายสพฐ. อันได้แก่
    1.  กิจกรรม "สำนึกรักพลเมือง/ Project Citizen" ซึ่งโรงเรียนพุทธชินราชพิทยาได้ออกแบบกิจกรรม "โรงเรียนปลอดขยะ หรือ ZERO Weast รับผิดชอบโดย ครูสุรภา  จันทร์เปล่ง มีการขับเคลื่อนการดำเนนินงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ได้รับรางวัล ZERO Weast ระดับชาติ
    2. กิจกรรม "บริษัทสร้างการดี" โดยจัดตั้งบริษัทสร้างารดีภายใต้ชื่อ Gift Shop & Flower Ltd ขึ้น ตามประกาศจัดตั้งบริษัทหมายเลข 222 มีการดำเนินงานตาม สก.1 ถึง สก.13 ตามรูปแบบของสพฐ.กำหนด สินค้าประกอบด้วย ของที่ระลึก ช่อปูเก้ ดอกไม้ แจกัน กระเช้า ตามรูปแบบต่าง ๆ ได้รับความนิยมจากบุคลากรทั้งภายในและนอกสถานศึกษา มีการปันผลกำไรตามระเบียบ คือ ร้อยละ 50 ของผลกำไร มอบเป็นทุนการศึกษาหรือค่าขนมเด็กสมาชิก และอีก 50 % มอบเป็นทุนสาธารณประโยชน์ ช่วยเหลือผู้ยากไร้ในชุมชน ต่อมาในปี 2559 - 2560 ได้ต่อยอดชิ้นงานสู่การจัดทำของที่ระลึกด้วยเทคนิคการม้วนกระดาษ Quilling paper ได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนระดับภาคเหนือเข้านำเสนอผลงานระดับชาติ ที่ โรงแรมเอวานา กรุงเทพมหานคร

รายละเอียดกิจกรรมที่ได้ดำเนินงาน
  1.  กิจกรรม ค่าย ป.ป.ช.น้อย ร้อยใจสุจริต (ดำเนินการ)
  2. กิจกรรมเสริมการสร้างศูนย์ข้อมูลสารสนเทศสุจริตและป้องกันการทุจริต 
  3. กิจกรรมสร้างเสริมจิตสำนึกที่ดีเรื่องความสุจริตและป้องกันการทุจริต (ดำเนินการ)
  4. กิจกรรมตลาดนัดโครงงานสุจริต (ดำเนินการในวันเปิดโลกวิชาการ)
  5. ประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำหลักสูตรและการขับเคลื่อนโรงเรียนสุจริต
  6. กิจกรรมค่ายเยาวชนคนดีของแผ่นดินร่วมกับเขต)
  7. กิจกรรมสำนึกรักพลเมือง Project Citizen
  8. กิจกรรมบริษัทสร้างการดี Gift Shop & Flower Ltd 


 
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ประเมินผลการดำเนินการจัดกิจกรรม....กิจกรรมการพัฒนาโรงเรียนสุจริต........................................
 

รายการประเมิน
ระดับคุณภาพ
ดีมาก(4) ดี(3) พอใช้(2) ปรับปรุง(1)
1.  การวางแผนดำเนินงานมีประสิทธิภาพ P - - -
2.  งบประมาณมีความเหมาะสม P - - -
3.  วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ปฏิบัติงานเหมาะสมและเพียงพอ P - - -
4.  ความร่วมมือของผู้ร่วมงาน - P - -
5.  การดำเนินงานเป็นไปตามกำหนดเวลา P - - -
6.  ผลการดำเนินงานบรรลุตามตัวบ่งชี้ P - - -
7. เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนควรดำเนินการต่อเนื่อง P - - -
รวม 24 3 - -
เฉลี่ย 3.85
ขั้นสรุปและรายงาน ขั้นสรุปและรายงาน
ผลงานดีเด่น : รางวัลที่ได้รับ /เอกสารอ้างอิง  ข้อมูลเชิงประจักษ์  
1. ได้รับคัดเลือกจาก สพฐ. ให้เป็นโรงเรียนต้นแบบสุจริตโรงเรียนเดียวที่นำเสนอผลงานการ
ดำเนินงานในวันต่อต้านคอรับชันสากลระดับชาติ   ที่ส่วนราชการแจ้งวัฒนะ                                                            2. กิจกรรมกรรมค่ายสุจริตระดับ ม. 1และ ม.4
3. กิจกรรม Project Citizen “ค่ายเสริมสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตามหลัก
4’Rs สู่การพัฒนาโรงเรียนปลอดขยะ ภายใต้แนวคิด PUTTHA MODEL”กิจกรรมประกอบด้วย                  
        ฐานที่ 1 สถานการณ์ขยะและการแยกขยะ
        ฐานที่ 2  การจัดการขยะ
        ฐานที่ 3  รู้จัก 4 RS กันเถอะ
        ฐานที่ 4  การสร้างวินัยในตนเองในเรื่องของการอนุรักษ์
5.
ค่ายเยาวชนคนดีศรีแผ่นดิน ร่วมกับโรงเรียนเครือข่ายสุจริต 7 โรงเรียน ที่โรงแรมธรรมชาติรีสอร์ท
 
งบประมาณ งบประมาณงบประมาณ   จำนวน    .....39,000  บาท.......................   เป็นค่าใช้จ่ายดังนี้
  4.1   ค่าวัสดุ/ครุภัณฑ์  
         -  ค่าวัสดุ                   ........... 20,000  ...............  บาท
         -  ค่าครุภัณฑ์              .....................................      บาท
  4.2  ค่าใช้สอย (ค่าจัดจ้าง)     ............ 14,000  ........        บาท
  4.3  ค่าตอบแทน (วิทยากร)   ............ 5,000  ............       บาท


 
การบรรลุตัวชี้วัด การบรรลุตัวชี้วัด
1.ตอบแบบ สอบถาม
2.ศึกษาสังเกต 
3.ประเมินตามสภาพจริง
ความพึงพอใจ ผลการดำเนินงานพบว่า
 นักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุดในเรื่องของรูปแบบของโครงงาน คิดเป็นร้อยละ 85.00 รองลงมาคือการมีส่วนร่วมกับกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ84.00 นักเรียนได้รับความรู้จากการจัดกิจกรรมคิดเป็นร้อยละ 82.00  และนักเรียนสามารถใช้ภาษาในการพูดนำเสนอได้อย่างคล่องแคล่วและมีสุนทรียภาพ คิดเป็นร้อยละ 81.00 สรุปแล้วนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมในครั้งนี้อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
 
ปัญหาและอุปสรรค ปัญหาและอุปสรรค
1.ครูผู้รับผิดชอบโครงการไม่ตรงกับบริบทของงาน และบางครั้งติดภาระในการสอนจึงมีผลต่อการจัดกิจกรรมในบางครั้ง
2.กิจกรรมของโรงเรียนมีมาก บางครั้งกระทบกับการจัดกิจกรรม ส่งผลให้บางครั้งไมาสามารถดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ได้ทั้งหมด
3.ครูทุกคนมีภาระหน้าที่กันหลายงานส่งผลกระทบต่อการจัดกิจกรรมตามแผน 
4.บุคลากรบางคนไม่เห็นความสำคัญของกิจกรรมส่งผลกระบต่อกลุ่มนักเรียนแกนนำ
ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะ
1.สพฐ.ควรสร้างความตระหนักต่อการขับเคลื่อนโครงการลงมาสู่ผู้บริหารก่อนโโยให้ผู้บริหารทุกโรงเรียนเห็นความสำคคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนา
2.มีการประเมินผลติดตามอย่างจริงจังและต่อเนื่องและมีผลได้ผลเสียกับการปฏิบัติหน้าที่
3.กิจกรรมควรปรับห้วงของเวลาในเรื่องการนำเสนอผลการดำเนินงานให้อยู่ในแต่ละปีเนื่องจากให้ตรงกับปีทีเด็กผู้รับผิดชอบหรือปฏิบัติงาน ในปีนั้น ๆ ไม่ใช่เด็กจบไปแล้ว ทำให้เกิดปัญหาคนทำไม่ได้รายงานแต่คนที่ต้องนำเสนอหรือรายงานยังไม่ได้ลงมือปฏิบัติ
4.ขอให้มีการขับเคลื่อนกันอย่างจริงจังและต่อเนนื่อง เป็นลำดับขั้นตอน และมีการวัดประเมินผลการดำเนินงานของแต่ละะเขตตามความเป็นจริง 
รูปภาพประกอบ


ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0