โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

โครงการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่ (ตามโครงการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย-ปวช.(ทวิศึกษา))

โรงเรียน : เทพศิรินทร์ลาดหญ้า กาญจนบุรี สพม.กาญจนบุรี

ประเภท : โรงเรียนโครงการทวิศึกษา

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 12 ต.ค. 2561 โดย : Siwaporn Klayjek จำนวนผู้เข้าชม 594 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่ (ตามโครงการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย-ปวช.(ทวิศึกษา))
ประเภท โรงเรียนโครงการทวิศึกษา
ปีการศึกษา 2561
มาตรฐาน

     2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
     2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้

     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
     3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก
     3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
     3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายในการผลิตผู้เรียนด้านอาชีวศึกษาให้มากขึ้น เพื่อรองรับการจ้างงาน ทั้งภาคธุรกิจบริการ ภาคอุตสาหกรรม และภาคการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอาชีพที่เป็นความต้องการของตลาดแรงงานที่กำลังขยายตัวในทุกภาคส่วน กระทรวงศึกษาธิการซึ่งเป็นหน่วยงานที่ผลิตกำลังคนจำเป็นอย่างยิ่งต้องเร่งประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจ ให้นักเรียนได้หันมาสนใจเรียนทางด้านอาชีพซึ่งมีตลาดรองรับอย่างแน่นอนให้มากขึ้น แต่เนื่องจากสภาพปัจจุบันค่านิยมของผู้ปกครองและผู้เรียนมุ่งที่จะสนับสนุนให้มีการเรียนสายสามัญเพื่อเข้าสู่ระดับอุดมศึกษา ส่งผลให้ขาดกำลังคนในภาคแรงงานเป็นอย่างมาก รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะให้มีการจัดการศึกษาหลักสูตรเรียนร่วมอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลายควบคู่กันไป เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีความรู้พื้นฐานด้านอาชีพและสามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานได้ทันที การจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สอดคล้องและสัมพันธ์กับตลาดแรงงาน สามารถผลิตกำลังคนในระดับฝีมือที่ได้มาตรฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงจัดให้มีการจัดการอาชีวศึกษาอย่างหลากหลายยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาด้านวิชาชีพให้แก่ประชาชนวัยเรียนและวัยทำงานตามความถนัด ความสนใจ และสามารถเข้าถึงการอาชีวศึกษาได้ง่ายขึ้น โดยการขยายวิชาชีพและกลุ่มเป้าหมายเข้าสู่ระบบการจัดการอาชีวศึกษาให้ชัดเจน ทั่วถึง และรวดเร็วขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความประสงค์จะเรียนควบคู่กันไปทั้งสายสามัญและสายอาชีพ เมื่อเรียนครบตามหลักสูตร ผู้เรียนสามารถสำเร็จการศึกษาทั้งหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญและหลักสูตรสายอาชีพไปพร้อมกัน ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดการจัดการเรียนการสอนโดยการทำความตกลงร่วมมือกันในการจัดการเรียนการสอนระหว่างสถานศึกษาที่เปิดสอนมัธยมศึกษากับสถานศึกษา ที่เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
โครงการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย(ทวิศึกษา) เป้าหมายการอาชีวศึกษา มาตรา 6 พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนในด้านวิชาชีพระดับฝีมือ ระดับเทคนิคและระดับเทคโนโลยี รวมทั้งเป็นการยกระดับการศึกษาวิชาชีพให้สูงขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยนำความรู้ในทางทฤษฎีอันเป็นสากลและภูมิปัญญาไทยมาพัฒนาผู้รับการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถในทางปฏิบัติและสมรรถนะ จนสามารถนำไปประกอบอาชีพในลักษณะผู้ปฏิบัติหรือผู้ประกอบอาชีพโดยอิสระได้ คุณภาพผู้สำเร็จการศึกษาทุกระดับคุณวุฒิ ประเภทวิชา และสาขาวิชาต่างๆ จะต้องครอบคลุมอย่างน้อย 3 ด้าน คือ 1. ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 2. ด้านสมรรถนะหลักและสมรรถนะทั่วไป 3. ด้านสมรรถนะวิชาชีพ
โรงเรียนเทพศิรินทร์ลาดหญ้า กาญจนบุรี ได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาให้กับนักเรียนที่มีความสนใจและมีความต้องการศึกษาในหลักสูตรสายอาชีพ ในสาขาสถาปัตยกรรมเพื่อการจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สอดคล้องและสัมพันธ์กับตลาดแรงงาน สามารถผลิตกำลังคนในระดับฝีมือที่ได้มาตรฐานเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาด้านวิชาชีพให้แก่ประชาชนวัยเรียนและวัยทำงานตามความถนัด ความสนใจ และสามารถเข้าถึงการอาชีวศึกษาได้ง่ายขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความประสงค์จะเรียนควบคู่กันไปทั้งสายสามัญและสายอาชีพ เมื่อเรียนครบตามหลักสูตร ผู้เรียนสามารถสำเร็จการศึกษาทั้งหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญและหลักสูตรสายอาชีพไปพร้อมกันได้ ซึ่งนับว่าเป็นทางเลือกที่มีความคุ้มค่าสำหรับนักเรียนเป็นอย่างยิ่ง จึงควรให้การสนับสนุน ส่งเสริมให้การจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่เรียนหลักสูตรนี้ให้เกิดความพร้อมในการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ  ซึ่งการจัดการศึกษาในปัจจุบันได้มุ่งเน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ตามสภาพแวดล้อมที่เป็นจริงจากประสบการณ์ของตนเอง โดยผสมผสานความรู้ต่างๆ อย่างสมดุล  มุ่งเน้นในเรื่องของความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการความรู้ต่างๆตามความเหมาะสม รวมทั้งจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงโดยผสมผสานสาระความรู้ในด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนและสมดุลกัน การศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่จึงเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่สำคัญอย่างมากอยากหนึ่งซึ่งจะช่วยให้นักเรียนได้มีโอกาสเรียนรู้ด้วยตนเองทำให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่ศึกษาอย่างแท้จริง  ทั้งยังเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่นักเรียนอย่างสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น  เพราะการนำนักเรียนไปทัศนศึกษาถือว่าเป็นวิธีการที่ทำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้และสามารถพัฒนานักเรียนในด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคม อีกทั้งเสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ ตลอดจนได้รับการศึกษาทั้ง 8 สาระแบบบูรณาการ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นเพิ่มพูนและส่งเสริมสมรรถภาพของนักเรียนให้ดียิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
2. เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของแหล่งเรียนรู้ตรงตามสาขาอาชีพ
3. เพื่อให้นักเรียนกระตือรือร้นต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
4. เพื่อให้นักเรียนรู้จักการนำความรู้จากแหล่งเรียนรู้มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์และแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
5. เพื่อให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการศึกษานอกสถานที่
 
เป้าหมาย ด้านปริมาณ     
2.1 นักเรียนสามารถใช้ทักษะความรู้ ที่ได้รับไปจุดประกายความคิด ความสามารถด้านการทำงาน และการใช้เทคโนโลยีได้อย่างดี รวมถึงได้รับความรู้ด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมตามสาขาอาชีพ
          นักเรียนที่เรียนหลักสูตรทวิศึกษา สาขาสถาปัตยกรรม ชั้น ม.4- ม.6 จำนวน 70 คน และครูที่ปรึกษา ครูผู้สอนในสาขางานอาชีพสถาปัตยกรรม  รวมทั้งสิ้น จำนวน 85 คน เข้าร่วมการทัศนศึกษานอกสถานที่และได้รับความรู้จากสถานที่ต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
2.2 นักเรียนเลือกสามารถใช้ความรู้วิเคราะห์และจัดการสิ่งต่างๆในสายอาชีพของตนได้ถูกวิธี  คุ้มค่าและใช้ให้เกิดประโยชน์
ด้านคุณภาพ    
          1. นักเรียนเกิดความสนใจที่จะแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้และเพื่อให้นักเรียนรู้จักการนำความรู้จากแหล่งเรียนรู้มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์และแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
2. นักเรียนเห็นคุณค่าของสถานที่แต่ละสถานที่ และสามารถนำมาบรรยายสรุปความรู้แต่ละสถานที่ได้ในกลุ่มโซเชียลเพื่อการศึกษา
 
ระยะเวลา 12 ก.ย. 3104 - 20 ก.ย. 3104
สถานที่ดำเนินการ อาคาร100ปี ประหยัดพลังงาน
ตัวชี้วัด นักเรียนหลักสูตรทวิศึกษา สาขาสถาปัตยกรรมร่วมกิจกรรมทัศนศึกษา คิดเป็นร้อยละ 100
1. นักเรียนได้รับความเข้าใจต่อการจัดการศึกษาจากแหล่งเรียนรู้
2.  นักเรียนได้รับประสบการณ์และสนุกสนานในการร่วมกิจกรรมจากแหล่งเรียนรู้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. นักเรียนได้รับความรู้ความเข้าใจต่อการศึกษาจากแหล่งเรียนรู้
2. นักเรียนได้รับประสบการณ์และสนุกสนานในการร่วมกิจกรรมจากแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่
3. นักเรียนเกิดทักษะ แนวคิดที่ดีเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง
 4. นักเรียนรู้จักนำวิธีการทางแหล่งเรียนรู้ทั่วไป เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0