โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

สวนสมุนไพร วิถีไทยแบบพอเพียง

โรงเรียน : เทพศิรินทร์ลาดหญ้า กาญจนบุรี สพม.กาญจนบุรี

ประเภท : โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 12 ต.ค. 2561 โดย : Siwaporn Klayjek จำนวนผู้เข้าชม 306 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม สวนสมุนไพร วิถีไทยแบบพอเพียง
ประเภท โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปีการศึกษา 2561
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน

ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการดำรงชีวิต   โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย  เมื่อประชากรมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งความเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจ ทำให้ความต้องการในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมต่างๆสูงขึ้น  โดยขาดการวางแผนการจัดการที่เหมาะสมเพื่อรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้น  ทรัพยากรเหล่านั้นถูกใช้และถูกทำลายจนเกินจะฟื้นฟูได้ทัน    เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน  เพราะสิ่งแวดล้อมและภาวะมลพิษเป็นผลกระทบที่ก่อตัวทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในทุกประเทศ   สำหรับประเทศไทยของเรานับว่ามีความโชคดีอยู่ประการหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ทรงห่วงใยพสกนิกร  นอกจากจะทรงให้แนวทางในการดำเนินชีวิตแบบพออยู่พอกินพอใช้  สามารถพึ่งตนเองได้แล้ว ยังทรงมุ่งเน้นให้ประชาชนอยู่ร่วมกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างสันติ  ไม่เบียดเบียนหรือก่อปัญหาให้เกิดขึ้นกับสภาพแวดล้อม  ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าแต่ไม่ทำลาย  โดยต้องมีการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติควบคู่กันไปตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ด้วยวิธีที่เรียบง่ายและประหยัดในการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ
 พืชสมุนไพร เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี แต่เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา สรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรอันเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อยๆ  และถูกทอดทิ้งไปในที่สุด ความจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้ๆ กันว่า สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวาง แต่เป็นเพราะว่าเราใช้วิธีรักษาโรคแผนใหม่มานานมากจนวิชาแพทย์แผนโบราณที่มีสมุนไพรเป็นยาหลักถูกลืมจนต่อไม่ติด  การส่งเสริมให้มีการศึกษาถึงลักษณะและประโยชน์ของสมุนไพรไทย    โดยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต  เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่ต้องปลูกจิตสำนึกและมีส่วนร่วมคิด  ร่วมทำเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง    ในฐานะที่เกิดเป็นคนไทยได้อาศัยอยู่ใต้ร่มพระบารมีแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  จึงขอแสดงความจงรักภักดีด้วยการทำความดีตามรอยบาทแห่งพ่อหลวงของปวงไทยและตอบแทนคุณของแผ่นดิน  โดยการจัดทำโครงการ “สวนสมุนไพร  วิถีไทยเพื่อสุขภาพ”  เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว    และเพื่อกระตุ้นให้เด็กและเยาวชนไทยให้ตระหนักในคุณค่าของการรวมพลังทำความดีด้านการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยให้มีความสมดุลและยั่งยืนสืบไป

 
วัตถุประสงค์
  1.  เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถนำทักษะและประสบการณ์ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน (สร้างทักษะด้านความพอเพียง)
  2.  เพื่อปลูกจิตสำนึกและสร้างความสามัคคีให้เด็กและเยาวชนร่วมกันอนุรักษ์สมุนไพรไทยและรักษาสิ่งแวดล้อม                                                                                     
     ภายในโรงเรียน (สร้างจิตสำนึก)
3.  เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีเพื่อการสืบค้นข้อมูลที่มีคุณภาพและเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
 (สร้างสื่อ)
      4.  เพื่อสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างบ้าน วัด โรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม (สร้างเครือข่าย)
 
เป้าหมาย 4.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ
4.1.1  ผู้เข้าร่วมโครงการ  นักเรียนชุมนุม  “วิถีไทยหัวใจพอเพียง”  จำนวน 25  คน  ได้รับการพัฒนาทักษะและประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมตามโครงการ
4.1.2  มีน้ำหมักชีวภาพ  4 ถังเพื่อใช้ในสวนสมุนไพร
4.2 เป้าหมายด้านคุณภาพ
4.2.1  นักเรียนนำใช้ความรู้และทักษะที่ได้จากการศึกษาด้วยตนเองมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดกิจกรรมสวนสมุนไพร  การทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรที่ส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดี
4.2.2  นักเรียนมีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สมุนไพรไทยทั้งในโรงเรียนและที่บ้าน
ระยะเวลา 31 มี.ค. 3104 - 31 มี.ค. 3104
สถานที่ดำเนินการ โรงเทพศิรินทร์ลาดหญ้า กาญจนบุรี
ตัวชี้วัด
กิจกรรม “สมุนไพรไทยในกระถาง”
1.ผลผลิต (Outputs)
  1)เพื่อให้นักเรียนได้รับประสบการณ์จากการทำกิจกรรม
  2)เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักกระบวนการทำงานและการบริหารจัดการความรู้
  3)เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีค่านิยมหลักด้านความพอเพียง
2.ผลลัพธ์ (Outcomes)
  1. นักเรียนนำทักษะและประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้จริง
  2. นักเรียนคิดเป็น  ทำเป็นและแก้ปัญหาได้
  3. นักเรียนมีคุณลักษณะด้านความพอเพียง
1.ผลผลิต (Outputs)
  1. เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลที่ต้องการ
  2. เพื่อพัฒนาสื่อ  แหล่งเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.ผลลัพธ์ (Outcomes)
   1. นักเรียนสืบค้นข้อมูลนำมาจัดทำป้ายความรู้ได้ถูกต้องและเหมาะสม
   2. โรงเรียนมีสื่อและแหล่งเรียนรู้
ที่มีคุณภาพ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีคุณลักษณะด้านความพอเพียง
  2. นักเรียนมีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยและรักษาสิ่งแวดล้อม
3.  นักเรียนรู้จักใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
      4.  โรงเรียนมีเครือข่ายร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้มีคุณภาพ
 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0