โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

พัฒนาคุณภาพการสอนภาษาไทย

โรงเรียน : สบปราบพิทยาคม สพม.ลำปาง ลำพูน

ประเภท : โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)

ผลการประเมิน : 3.71

เผยแพร่เมื่อ : 31 ต.ค. 2562 โดย : พัชราพร  วรรณารักษ์ จำนวนผู้เข้าชม 351 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม พัฒนาคุณภาพการสอนภาษาไทย
ประเภท โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
ปีการศึกษา 2562
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
     3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก
     3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
     3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พ.ศ. 2555  และแนวทางการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยได้นำไปเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนซึ่งครูผู้สอนต้องการมีการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน สื่อการสอน  การจัดทำเอกสารทางวิชาการ  การวัดผลประเมินผลการเรียน  และพัฒนาศักยภาพของนักเรียน  เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายปฏิรูปการศึกษาที่ให้ใช้วิธีการสอน  โดยยึดหลักเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้  และประยุกต์ใช้ความรู้ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน  โดยมีกิจกรรมที่เหมาะสมโรงเรียนสบปราบพิทยาคมจึงต้องพัฒนาศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนทั้งด้านสื่อ  เทคนิคการจัดการเรียนรู้  การจัดกิจกรรม  ที่จะส่งผลพัฒนาทักษะในการใช้ภาษาไทยให้แก่ผู้เรียน  ให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิต  และยกระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่อไป
 
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนในกลุ่มสาระภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้วิชาในกลุ่มสาระภาษาไทยอย่างมีคุณภาพและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
3. เพื่อให้นักเรียนใช้ภาษาไทยเป็นเครื่องมือในการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดี
ต่อกันและเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ
 
เป้าหมาย 8.1 เชิงปริมาณ
  1. นักเรียนที่เรียนรายวิชาภาษาไทยมีผลการเรียนช่วงชั้นที่  3  และ  4  ทุกคนมี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินขั้นต่ำไม่น้อยกว่ากว่าขั้นต่ำที่กำหนด
  2. กลุ่มผู้เรียนวิชาภาษาไทย  มีทักษะในการอ่าน  การเขียน  การฟังดูและพูด  หลักการใช้ภาษา
                  3.  ครูผู้สอนกลุ่มสาระภาษาไทยทุกคนมีแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยที่เน้นนักเรียน เป็น
        สำคัญครบทุกรายวิชา
                 4.  ครูผู้สอนกลุ่มสาระภาษาไทยมีความพร้อมด้านอุปกรณ์  เครื่องมือตลอดจนสื่อส่งเสริมทักษะ
    ภาษาไทยที่มีคุณภาพ  พอเพียงกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการศึกษาค้นคว้า 
    ของผู้เรียนสถานศึกษามีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ
                5. ครูผู้สอนกลุ่มสาระภาษาไทยได้รับการอบรม  สัมมนาความรู้กระบวนการการเรียนการสอน
     ภาษาไทยใหม่ ๆ จากหน่วยงาน  องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
    อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
8.2  เชิงคุณภาพ
  1. นักเรียนได้รับการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทยอย่างเป็นระบบ  มีแผนการจัดการเรียนรู้ครบทุกรายวิชา  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้บรรลุตามความคาดหวังและเป้าหมายของหลักสูตร
  2. ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนภาษาไทยมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง  ผู้เรียนได้รับความรู้ทักษะทางภาษาไทย
                 3.  ผู้เรียนและครูผู้สอนมีอุปกรณ์  เครื่องมือทางเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาไทยที่มี
    ประสิทธิภาพ  ประกอบการพัฒนาการเรียนการสอน  การศึกษาค้นคว้าของนักเรียนอย่าง
    พอเพียง
                4.  กลุ่มนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  และตอนปลาย  ที่มีทักษะพิเศษทางภาษาไทย
    ได้รับการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ
                5.  นักเรียนที่เรียนสาระการเรียนภาษาไทยระดับชั้น ม.ต้น  และ ม.ปลาย  ทุกคนมีความรู้และ
    ทักษะทางภาษาไทยเต็มศักยภาพตามความสามารถและวุฒิภาวะ  มีการพัฒนาครอบคลุมทั้ง
    ทางร่างกาย  อารมณ์  สังคมและสติปัญญา
     
ระยะเวลา 1 ต.ค. 2561 - 30 ก.ย. 2562
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนสบปราบพิทยาคม
ตัวชี้วัด ผลผลิต
-   นักเรียนที่เรียนรายวิชาภาษาไทยทั้งระดับม.ต้นและม.ปลายมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินขั้นต่ำ
กลุ่มผู้เรียนวิชาภาษาไทย  มีทักษะในการอ่าน  การเขียน  การฟังดูและพูด  หลักการใช้ภาษา
ครูผู้สอนกลุ่มสาระภาษาไทยทุกคน  มีแผนการจัดการเรียนรู้  สื่อ  อุปกรณ์  ในการจัดกิจกรรมการสอนที่เน้นนักเรียน เป็นสำคัญครบทุกรายวิชา
ผลลัพธ์
- นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
- นักเรียนมีทักษะในการอ่าน  การเขียน  
  การฟังดูและพูด  และหลักการใช้ภาษา
- ครูทุกคนมีแผนการจัดการเรียนรู้   ครบทุกคน
 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
- นักเรียนมีทักษะในการอ่าน  การเขียน  
  การฟังดูและพูด  และหลักการใช้ภาษา
- ครูทุกคนมีแผนการจัดการเรียนรู้
   ครบทุกคน
สรุปคะแนนประเมิน 3.71
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ วิเคราะห์ศักยภาพผู้เรียนเป็นรายบุคคล
 
ขั้นดำเนินการ ส่งเสริมกระบวนการคิดของผู้เรียนเป็นสำคัญ
บูรณาการเรียนรู้ตามแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา

ยกระดับผลสัมฤทธิ์
ส่งเสริมนักเรียนเก่งสู่ความเป็นเลิศ

-กิจกรรมวันสุนทรภู่และวันภาษาไทยแห่งชาติ
-กิจกรรมส่งเสริมความเป็นเลิศ (อัจฉริยะทางภาษาไทย)
-สื่อสร้างสรรค์ทางภาษา
-กิจกรรมส่งเสริมรักการอ่าน
ปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอนมุ่งสู่มาตรฐานสากล


 
ขั้นตรวจสอบประเมินผล ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงาน
ขั้นสรุปและรายงาน สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน
งบประมาณ 25,000
การบรรลุตัวชี้วัด
เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ
ครูร้อยละ 80 ได้ปฏิบัติกิจกรรมโครงการพัฒนานิเทศการศึกษา ครูมีวิธีการจัดการเรียนการสอน สื่อการสอนที่ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความพึงพอใจ เป็นที่พอใจ เฉลี่ย 3.71
ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค สาเหตุ ปัญหา/อุปสรรค การแก้ไข หากต้องการความร่วมมือสนับสนุนจากหน่วยงานหรือ ฝ่าย/หมวด/งานอื่น (ระบุ)
สำเร็จ ไม่สำเร็จ
ด้านงบประมาณ -      
ด้านวัสดุอุปกรณ์ -      
ด้านบุคลากร - /    
ด้านบริการ/ประสานงาน -      
ด้านงานอื่นๆ -      
ข้อเสนอแนะ -
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0