โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

โครงการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

โรงเรียน : อำนาจเจริญ สพม.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ

ประเภท : โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 18 พ.ย. 2561 โดย : พิชิต คติอุดมพร จำนวนผู้เข้าชม 183 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ประเภท โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปีการศึกษา 2561
มาตรฐาน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

     2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
     2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้

     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
     3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก
     3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
     3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระราชดำรัสแก่พสกนิกรชาวไทยเกี่ยวกับการ
ดำเนินชีวิตโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นปรัชญาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและ
ความไม่ประมาท โดยคำนึงการรู้จักพึ่งตนเอง ความพอประมาณ พอมีพอกิน พอมีพอใช้ ความมีเหตุผล
การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบและคุณธรรมประกอบการวางแผนตัดสินใจและ
กระทำในสิ่งที่ควรจะเป็น เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง
ต่าง ๆ การวางรากฐานการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปลูกฝัง
ให้เกิดขึ้นกับทุกคนในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กเยาวชนที่จะเป็นอนาคตของชาติ ซึ่งสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดกลยุทธ์การปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทย
และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งนโยบายในการปฏิรูปการศึกษารอบที่ 2
(พ.ศ.2552 – 2561) ซึ่งมุ่งเน้นการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจสามารถปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ได้อย่างถูกต้อง เป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้
ให้กับนักเรียน ครู/บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานอื่น จากหลักการดังกล่าว ทางโรงเรียนจึงได้จัดทำ “โครงการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ขึ้น

 
วัตถุประสงค์     1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง
  2. เพื่อให้นักเรียนสามารถปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง
  3. เพื่อให้นักเรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  4. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักเรียน ครู/บุคลากรทางการศึกษา
     ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานอื่น

 
เป้าหมาย 1. เชิงปริมาณ
    1.1 นักเรียน ร้อยละ 80 มีความรู้ ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง
    1.2 นักเรียน ร้อยละ 80 สามารถปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง
    1.3 นักเรียนร้อยละ 80 มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ “อยู่อย่างพอเพียง” ในระดับดีขึ้นไป
    1.4 นักเรียน ครู/บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ร้อยละ 70 ใช้ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของ
        เศรษฐกิจพอเพียง
2. เชิงคุณภาพ
    2.1 นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง
    2.2 นักเรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ “อยู่อย่างพอเพียง” ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
    2.3 นักเรียน ครู/บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และหน่วยงานอื่น ใช้ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญา
        ของ
เศรษฐกิจพอเพียง

 
ระยะเวลา 7 พ.ค. 3104 - 30 เม.ย. 3105
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนอำนาจเจริญ
ตัวชี้วัด 1.นักเรียน ร้อยละ 80 มีความรู้ ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง
2.นักเรียน ร้อยละ 80 สามารถปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง
3.นักเรียนร้อยละ 80 มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ “อยู่อย่างพอเพียง” ในระดับดีขึ้นไป
4.นักเรียน ครู/บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ร้อยละ 70 ใช้ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของ
  เศรษฐกิจพอเพียง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง
2.นักเรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ “อยู่อย่างพอเพียง” ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3.นักเรียน ครู/บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และหน่วยงานอื่น ใช้ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญา
  ของ
เศรษฐกิจพอเพียง
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0