โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

โครงการพัฒนาครูและบุคลากร

โรงเรียน : ทวีธาภิเศก สพม.กรุงเทพมหานคร เขต 1

ประเภท : โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 18 มี.ค. 2562 โดย : กลุ่มบริหารงบประมาณและแผนงาน ทวีธาภิเศก จำนวนผู้เข้าชม 73 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการพัฒนาครูและบุคลากร
ประเภท โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
ปีการศึกษา 2561
มาตรฐาน

     2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ

ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา           พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2542  ได้กำหนดให้มีการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมืออาชีพ  สมรรถนะเป็นเรื่องสำคัญที่ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและจริงจัง สมรรถนะที่ใช้ในการประเมินการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษานั้น มี 2 ประเภทคือ 1) สมรรถนะหลัก  2) สมรรถนะประจำสายงาน 
สมรรถนะหลัก (Core Competency)  เป็นสมรรถนะที่ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนต้องมีเพราะเป็นสมรรถนะพื้นฐานของบุคลากรที่จะส่งผลให้การปฏิบัติงานในทุกตำแหน่งหน้าที่ประสบผลสำเร็จประกอบด้วย 4
 สมรรถนะย่อย คือ

1. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ หมายถึงการปฏิบัติงานด้วยความมุ่งมั่น เพื่อให้งานสำเร็จ ถูกต้องสมบูรณ์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำงานและพัฒนาผลงานให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
                   2. การบริการที่ดี  หมายถึงความตั้งใจที่จะปรับปรุงระบบบริการให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้รับบริการ เช่น  นักเรียน  ครู   ผู้ปกครองพึงพอใจ
                3.การพัฒนาตนเอง  หมายถึง การศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ พร้อมกับติดตามศึกษาองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่  ๆ ในวงวิชาการและวิชาชีพ ทั้งนี้เพื่อพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
               4. การทำงานเป็นทีม  หมายถึงความร่วมมือร่วมใจ สนับสนุน ส่งเสริม ช่วยเหลือ ให้กำลังใจแก่เพื่อนร่วมงาน มีมนุษย์สัมพันธ์ดี ปรับตัวเข้ากับคนอื่นได้และมีภาวะผู้นำ-ผู้ตามที่ดี

 สมรรถนะประจำสายงาน (Functional Competency) หมายถึงสมรรถนะเฉพาะที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของบุคลากรแต่ละตำแหน่ง เช่น ผู้บริหาร ครูและ  ศึกษานิเทศก์ ทำให้สามารถปฏิบัติงานในสายงานนั้น ๆได้สำเร็จตามเป้าหมาย ซึ่งสมรรถนะประจำสายงานของครูนั้นประกอบด้วย  5  สมรรถนะ คือ
               1. การจัดการเรียนรู้  หมายถึงความรู้ ความสามารถในการสร้างและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ความรู้ลึกเรื่องเนื้อหาสาระ เทคนิคกระบวนการจัดการเรียนรู้   การสร้าง    การเลือก  การใช้สื่อ แหล่งเรียนรู้และนวัตกรรมทางการศึกษา  ตลอดจนการวัดผลและประเมินผลการจัดการเรียนรู้
               2. การพัฒนาผู้เรียน  หมายถึง ความสามารถในการปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์แก่ผู้เรียน ทั้งคุณธรรม จริยธรรม  ทักษะชีวิต   สุขภาพพลานามัย  ความเป็นประชาธิปไตย   ความเป็นไทย รวมไปถึงการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
               3. การบริหารจัดการชั้นเรียน  หมายถึงความสามารถในการกำกับดูแลชั้นเรียน  สร้างบรรยากาศในการจัดการเรียนรู้  จัดทำข้อมูลสารสนเทศประจำชั้นและประจำวิชา 
               4. การวิเคราะห์  การสังเคราะห์  การวิจัย คือความสามารถในการคิดแยกแยะ ทำความเข้าใจในประเด็นต่าง ๆแล้ว สรุปเป็นกฎเกณฑ์หลักการ  สามารถรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน
               5. การสร้างความร่วมมือกับชุมชน  หมายถึง การมีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน เพื่อดึงชุมชนให้เข้ามาร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน  ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการสนับสนุน ส่งเสริม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
               โรงเรียนทวีธาภิเศก เห็นความสำคัญของการพัฒนาสมรรถนะหลักและสมรรถนะประจำสายงายของครูครู  จึงได้จัดโครงการพัฒนาครูและบุคลากรขึ้น 

 
วัตถุประสงค์  เพื่อพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ มีความรู้ความสามารถและทักษะตามมาตรฐานตำแหน่ง

 
เป้าหมาย เชิงปริมาณ
     1. ครูและบุคลากรทางการศึกษาร้อยละ 100 ได้รับการพัฒนาสมรรถนะหลักและสมรรถนะประจำสายงาน
     2. ครูและบุคลากรทางการศึกษาร้อยละ 100 ได้รับการนิเทศจากผู้บริหารโรงเรียน
      3. ผู้บริหารส่งเสริมกิจกรรมที่พัฒนาศักยภาพครูอย่างน้อย 40 ชั่วโมงต่อปี
เชิงคุณภาพ
      1. ครูและบุคลากรทางการศึกษา ปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ได้อย่างเกิดประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ
       2. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความก้าวหน้าในวิชาชีพตามตำแหน่ง
 
ระยะเวลา 18 พ.ค. 2561 - 29 มี.ค. 2562
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนทวีธาภิเศก
ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีการวัดและประเมิน เครื่องมือ
ผลผลิต    
1. ครูและบุคลากรทางการศึกษาร้อยละ 100 ได้รับการพัฒนาสมรรถนะหลักและสมรรถนะประจำสายงาน

2. ครูและบุคลากรทางการศึกษาร้อยละ 100 ได้รับการนิเทศจากผู้บริหารโรงเรียน
3. ผู้บริหารส่งเสริมกิจกรรมที่พัฒนาศักยภาพครูอย่างน้อย 40 ชั่วโมงต่อปี
- การสำรวจข้อมูลการพัฒนาตนเองของครูและบุคลากร
- สรุปกิจกรรมการนิเทศ
- การสำรวจข้อมูลการพัฒนาตนเองของครูและบุคลากร
- แบบสำรวจ


- แบบสรุปกิจกรรม
- แบบสำรวจ
 
ผลลัพธ์    
1. ครูและบุคลากรทางการศึกษา ปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ได้อย่างเกิดประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ
2. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความก้าวหน้าในวิชาชีพตามตำแหน่ง
- รายงานผลการปฏิบัติงาน
- การสำรวจข้อมูลการพัฒนาตนเองของครูและบุคลากร
- แบบรายงานผลการปฏิบัติงาน
- แบบสำรวจ
 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ครูและบุคลากรทางการศึกษา ปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ได้อย่างเกิดประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ
 2. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความก้าวหน้าในวิชาชีพตามตำแหน่ง
 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0