โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

โครงการค่ายภาษาอังกฤษ Nayongwit English Camp 2017

โรงเรียน : นาโยงวิทยาคม สพม.ตรัง กระบี่

ประเภท : โรงเรียนในฝัน (Lab School)

ผลการประเมิน : 4.68

เผยแพร่เมื่อ : 26 ก.ย. 2561 โดย : นางสาวเบญจมาศ แก้วกล้า จำนวนผู้เข้าชม 4162 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการค่ายภาษาอังกฤษ Nayongwit English Camp 2017
ประเภท โรงเรียนในฝัน (Lab School)
ปีการศึกษา 2560
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
     2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
     2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา      ในภาวะปัจจุบันที่อิทธิพลของโลกาภิวัฒน์ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะยุค Thailand 4.0 และยังจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นการเรียนรู้ภาษาของประเทศอื่นย่อมได้เปรียบในการทำกิจการต่างๆ เราจะเห็นว่าประเทศเหล่านั้นล้วนแล้วแต่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาที่อาจคิดได้ว่าเป็นภาษาสากล หลายประเทศประกาศให้เป็นภาษาราชการอีกภาษาหนึ่ง นอกจากภาษาของตัวเอง แน่นอนว่าประเทศที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษนั้นย่อมทราบดีว่า คนจะเรียนรู้ภาษาให้ซาบซึ้งสามารถใช้ภาษาเข้าสู่สังคมและวัฒนธรรม สามารถใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับสังคมวัฒนธรรมตามสถานการณ์ได้ในทุกทักษะของภาษา  และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ดีจะมีโอกาสในการจ้างงาน และได้รับการสนับสนุนส่งเสริมในงานในหน้าที่ให้ยิ่งขึ้นไป  มากกว่าผู้ที่ไม่มีทักษะทางภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาที่สื่อสารกันทั่วโลกสากล
การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในปัจจุบันมีความสำคัญและจำเป็น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคข้อมูลข่าวสารที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารเพื่อเป็นเครื่องมือในการศึกษาและใช้ในชีวิตประจำวันแต่การสอนภาษาอังกฤษในชั้นเรียนพบว่านักเรียนขาดทักษะในการสื่อสารและไม่กล้าแสดงออกในการใช้ภาษาในชีวิตจริง เพราะการเรียนการสอนยังไม่มุ่งเน้นในการสื่อสารภาษาอย่างแท้จริงซึ่งอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น การไม่ได้ฝึกกับเจ้าของภาษาในสถานการณ์จริง การไม่ได้ใช้ภาษาหลังการเรียนในชั้นเรียนแล้ว เป็นต้น  จากสาเหตุดังกล่าวเชื่อว่ากิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษซึ่งเป็นการจำลองสถานการณ์ในการฝึกทักษะภาษากับเจ้าของภาษา ครูผู้สอนและกลุ่มเพื่อน จะช่วยให้นักเรียนได้ฝึกฝนทักษะภาษอังกฤษเพิ่มขึ้น กระบวนการเรียนการสอนภาษาอังกฤษประการแรกน่าจะใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างเหมาะสมตามสถานการณ์ เช่นเดียวกับการที่เราเรียนรู้ภาษาแรกจากพ่อแม่ พี่เลี้ยง เป็นการเรียนรู้แบบธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องท่องศัพท์ แปล หรือ รู้หลักไวยากรณ์ ดังนั้นการเรียนการสอนในระดับเริ่มเรียนรู้ภาษานั้น คงต้องเน้นการมีส่วนร่วมทางภาษาให้มากที่สุด คือผู้เรียนต้องเรียนรู้จากการฟังและพูดอย่างเป็นธรรมชาติจนเกิดทักษะ เริ่มจากการพูดในชีวิตประจำวันในครอบครัว แล้วค่อยขยายออกไปสู่โลกภายนอกมากขึ้น เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในการศึกษาขั้นสูงขึ้น
การสอนทักษะการพูดและการฟังจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง และผู้สอนอันเป็นต้นแบบจะต้องพัฒนาความรู้ทางภาษาให้ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษาให้มากที่สุด มิฉะนั้นแล้วจะเข้าลักษณะแม่ปูสอนลูกให้เดินให้ตรง ในเรื่องนี้ปัจจุบันแม้จะแก้ได้บ้างโดยอาศัยเทคโนโลยี ที่บันทึกเสียงการพูดคุย การออกเสียงที่ถูกต้องไว้ แล้วก็ตาม แต่การแสดงความรู้สึก แสดงอารมณ์ที่เกี่ยวข้องนั้นก็ยังต้องใช้เจ้าของภาษามาเป็นผู้สอนถึงจะทำให้เกิดการเรียนรู้ทางภาษาได้เร็ว
การสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ จะสื่อสารกันได้อย่างน้อยที่สุดก็ต้องฟังรู้เรื่องก่อนแล้วจึงจะทำให้สามารถพูดโต้ตอบได้ หรือพูดได้ พูดเป็น หรือใช้เป็น และเป็นประโยชน์  นอกจากการโต้ตอบแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศกันก็คงรวมไปถึงการเล่าเรื่อง บรรยาย แสดงความคิด ความเห็น ความรู้สึก วิพากษ์วิจารณ์ ซึงก็ต้องมีการประเมินที่ได้ยินได้ฟังมา จากการวิเคราะห์สังเคราะห์อีกทีหนึ่ง จึงถือว่าสุดยอดในการเรียนรู้ทางภาษาและจากที่ประเทศเรากำลังประสบกับภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ ตากเศรษฐกิจกระแสโลก และวิกฤติการเมือง กาเรียนรู้ภาษาให้แตกฉานก็เป็นการช่วยบรรเทาภาวะทางเศรษฐกิจในขณะนี้ได้ อันเนื่องมาจากที่รัฐบาลประกาศให้การท่องเที่ยวเป็นวาระแห่งชาติ การเข้าใจเรียนรู้ภาษาต่างประเทศจะทำให้การติดต่อสื่อสารกับชาวต่างประเทศที่จะเข้ามาท่องเที่ยวประเทศไทยดีขึ้น เป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจให้เข้ามาเที่ยวประเทศไทยมากขึ้น สถาบันการศึกษาที่มีศักยภาพ น่าจะมีส่วนส่งเสริม ช่วยเหลือประเทศในแง่นี้ได้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดยุทธศาสตร์ปฏิรูปการเรียนรู้ให้มีค่ายส่งเสริมอัจฉริยภาพเพื่อส่งเสริมความสามรถเฉพาะของนักเรียนในโรงเรียน ซึ่งกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ Nayongwit English Camp 2017 ที่จัดขึ้นเชื่อว่าจะพัฒนาและส่งเสริมทักษะแก่นักเรียนที่มีความสามารถและความสนใจด้านภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ   อีกทางหนึ่งค่ายภาษาอังกฤษเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมเสริมในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เป็นการฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษโดยการบูรณาการ ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ตลอดจนทักษะการคิดไว้ด้วยกัน โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติทางภาษา โดยผ่านกิจกรรมที่ส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูวิทยากร และนักเรียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนนาโยงวิทยาคม จึงได้จัดกิจกรรมนี้ขึ้นเพื่อเป็นการตอบสนองต่อความต้องการของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2551 กำหนดให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ครูควรกระตุ้นและเปิดโอกาส ให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะ ทางภาษา ในการสื่อสาร ตามสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และการสู่ประชาคมอาเซียน โดยมาตรการสำคัญ ประการหนึ่ง ได้แก่การรณรงค์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศหลัก ประชาคมอาเซียน และประชาคมโลก เพื่อให้คนไทยสามารถสื่อสารและเปิดโลกทัศน์การเรียนรู้อย่างไร้พรหมแดน ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการทำงานของอาเซียน ตามที่ระบุไว้ในกฎบัตรอาเซียนข้อที่ 34 ว่า ภาษาที่ใช้ในการทำงานของอาเซียน คือภาษาอังกฤษ ( The working language of ASEAN shall be English
วัตถุประสงค์ 1  เพื่อให้นักเรียนฝึกพูดภาษาอังกฤษกับครูเจ้าของภาษา (Native Speaker) ได้อย่างถูกต้องและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้หลักการใช้ภาษาอังกฤษ สถานการณ์นอกห้องเรียนโดยผ่านกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษได้อย่างสร้างสรรค์
 
เป้าหมาย 1. เป้าหมายเชิงปริมาณ   
นักเรียนโรงเรียนนาโยงวิทยาคมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 55 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 45 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 (สายศิลป์) จำนวน 20 คน รวมทั้งหมด 120 คน รวม มีส่วนร่วมของกิจกรรม มีทักษะทางภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนอกห้องเรียน

2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ 
นักเรียนสามารถพูดภาษาอังกฤษด้วยตนเอง และสื่อสารกับเพื่อนในโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
ระยะเวลา 1 พ.ย. 2560 - 30 พ.ย. 2560
สถานที่ดำเนินการ สวนพฤกศาสตร์ภาคใต้ ทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ตัวชี้วัด 1. ร้อยละ 80 ของผู้เรียนผ่านการอบรมค่ายภาษาอังกฤษ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. นักเรียนกล้าคิด กล้าถาม กล้าแสดงออกในการพูดภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันมากขึ้น
2. นักเรียนมีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ รู้จักการทำงานกลุ่ม รู้จักแก้ปัญหา โดยผ่านกระบวนการอบรมในค่ายภาษาอังกฤษ
สรุปคะแนนประเมิน 4.68
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ     -กำหนดวัตถุประสงค์ของกิจกรรม
    -ประชุมครูในกลุ่มสาระฯ
    -วางแผนการดำเนินกิจกรรม
    -มอบหมายงานตามหน้าที่รับผิดชอบ
ขั้นดำเนินการ    -ประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ตามเสียงตามสายของโรงเรียน
   -ติดต่อวิทยากรครูต่างชาติ
   -ประสานติดต่อพาหนะการเดินทาง และอาหารกลางวัน
   -จัดซื้อวัสดุ/อุปกรณ์การประกอบกิจกรรมต่างๆ
   -ดำเนินกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ ณ สวนพฤกศาสตร์ภาคใต้ ทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว  จังหวัดตรัง
 
ขั้นตรวจสอบประเมินผล   -ติดตามผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
   -สรุปผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
   -มอบเกียรติบัตร/แจกแบบสอบถาม
 
ขั้นสรุปและรายงาน     -สรุปผลการดำเนินกิจกรรม
    -วิเคราะห์ผลสำเร็จของกิจกรรม

    -นำเสนอแบบสรุปรายงานต่อผู้บริหาร
    -จัดทำแผนขยายผลต่อองค์กรที่มาประเมินโรงเรียนเพื่อต่อยอด และการปรับปรุงต่อไป
งบประมาณ ตาราง 1 การใช้จ่ายงบประมาณ
รายการ งบประมาณที่กำหนดไว้ในแผน งบประมาณที่ใช้จ่ายจริง
1.เงินอุดหนุนการศึกษา 33,500 29,555
2.เงินรายได้สถานศึกษา - -
3.อื่นๆ - -
รวม 33,500 29,555
คงเหลือ 3,945
การบรรลุตัวชี้วัด ผลสำเร็จตามตัวชี้วัดความสำเร็จ
1.ร้อยละ 100 ของผู้เรียนผ่านการอบรมค่ายภาษาอังกฤษได้ฝึกพูดภาษาอังกฤษกับครูเจ้าของภาษา (Native Speaker) ได้อย่างถูกต้องและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. ร้อยละ 100 ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้รู้หลักการใช้ภาษาอังกฤษ สถานการณ์นอกห้องเรียนโดยผ่านกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษได้อย่างสร้างสรรค์
ความพึงพอใจ ตาราง 2 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม/แบบประเมิน
ข้อมูลทั่วไป จำนวน (คน) ร้อยละ
1. เพศ
    1.1 ชาย
    1.2 หญิง

38
54

41.30
58.70
รวม 92 100
จากตาราง 2 พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีจำนวน 54 คน (ร้อยละ  58.70) 

ตอนที่ 3 ความพึงพอใจในของผู้เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรม
รายการประเมิน S.D. ร้อยละ ระดับความพึงพอใจ
1. ทำให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์   
2. ทำให้นักเรียนมีความมั่นใจ กล้าพูดภาษาอังกฤษ มากขึ้น   
3. ทำให้นักเรียนสนุกสนาน ไม่น่าเบื่อหน่ายกับการเรียนภาษาอังกฤษ                                               
4. ทำให้นักเรียนคิดว่าเรียนภาษาอังกฤษไม่ยากอย่างที่คิด            
5. ทำให้นักเรียนคิดว่าภาษาอังกฤษมีความจำเป็น และมีประโยชน์ในอนาคตวันข้างหน้า 
6.  เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร              
7.  เป็นกิจกรรมที่บูรณาการกิจกรรมร่วมกับกลุ่มสาระวิชาอื่นๆ          8. นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติการเรียนรู้โดยตรงจาก
   ครูเจ้าของภาษา               
9. นักเรียนได้รับความรู้จากการเข้าร่วมฐานกิจกรรมต่างๆทั้ง 5 กิจกรรมการเรียนรู้                 
10. เป็นกิจกรรมต่อการพัฒนาตัวนักเรียนในการเรียนรู้ภาษาจากเจ้าของภาษา                         
11.  มีการประชาสัมพันธ์ได้อย่างทั่วถึง
12.  ความเหมาะสมการลงทะเบียน  พิธีเปิด-ปิดค่าย      
    ภาษาอังกฤษ Nayongwit English Camp 
13. ความเหมาะสมของอาหารว่าง  อาหารเที่ยง  เครื่องดื่ม          14. ความเหมาะสมของสถานที่ในการจัดกิจกรรม  มีความเหมาะสม สะอาด  ปลอดภัย                    
15. ความเหมาะสมของพาหนะในการเดินทาง 
   ไป-กลับของนักเรียน       
 4.76   4.70
4.73

4.60
4.66

4.73

4.72
4.74

4.50

4.43

4.74
4.63

4.73
4.79

4.77

 
0.429
0.550
4.73

0.612
0.519

0.447

0.476
0.466

0.620

0.746

0.442
0.606

0.471
0.407

0.447
  มากที่สุด
มากที่สุด
มากที่สุด

มากที่สุด
มากที่สุด

มากที่สุด

มากที่สุด
มากที่สุด

มากที่สุด

มาก

มากที่สุด
มากที่สุด

มากที่สุด
มากที่สุด

มากที่สุด



 
รวม 4.68 0.80    
ปัญหาและอุปสรรค -
ข้อเสนอแนะ
1. ความเหมาะสมของพาหนะในการเดินทางไป-กลับของนักเรียนในการจัดค่ายครั้งนี้เป็นรถกระบะสองแถวไปค่ายภาษาอังกฤษ
ครั้งต่อไปควรเปลี่ยนเป็นรถบัสเพื่อความสะดวกสบายในการนั่งของนักเรียน

2. ควรเพิ่มฐานกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่มากขึ้น
3. ควรเข้าค่ายภาษาอังกฤษแบบค้างคืนในครั้งต่อไป
4. เป็นกิจกรรมที่ดีมาก นักเรียนมีความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ไม่น่าเบื่อ สร้างสรรค์อยากให้มีวิทยากรเป็นชาวต่างชาติอีกครั้งที่เป็น Native speaker ในครั้งต่อไป
5. สภาพอากาศ (ฝนตก) ไม่เอื้ออำนวยต่อการเดินทาง
 
รูปภาพประกอบ


ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0