โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

ขับเคลื่อนนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

โรงเรียน : พระธาตุหนองสามหมื่น สพม.ชัยภูมิ

ประเภท : โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการประเมิน : 4.84

เผยแพร่เมื่อ : 20 ก.ย. 2561 โดย : นางวราพร รุ่งฤทธิ์ประภากร จำนวนผู้เข้าชม 158 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม ขับเคลื่อนนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ประเภท โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปีการศึกษา 2561
มาตรฐาน


     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา ตามที่สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการได้นำพระราชดำรัสของ  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในเรื่องการศึกษาว่า   การจัดการศึกษาต้องดูภาพรวมทั้งประเทศ เพราะทุกวันนี้การศึกษาค่อนข้างอ่อนแอ และมุ่งเน้นการเรียน การสอนเนื้อหาบางเรื่องมากเกินไป ทรงมีพระราชดำริให้มีการนำองค์ 4 แห่งการศึกษา คือ พุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษา และพลศึกษา และหัวใจนักปราชญ์ คือ สุ จิ ปุ ลิ หมายถึง การฟัง การคิด การถาม และการเขียน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของนักปราชญ์และบัณฑิต  อีกทั้งยังจะเป็นเทคนิคในการช่วยให้ผู้เรียนมี ทักษะการเรียนเก่งมากขึ้น โดยทรงมีพระราชดำริให้นำทั้งสองเรื่องมาใช้ในการจัดการศึกษา แนวทางการปฏิรูปการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม จึงทำให้รัฐบาลได้นำมากำหนดเป็นนโยบายหนึ่ง  คือ การลดเวลาเรียนภาควิชาการลง แต่ต้องไม่กระทบเนื้อหาหลักที่เด็กๆ ควรเรียนรู้ เพื่อเตรียมนักเรียนให้พร้อมเข้าสู่ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของไทยนั้น สอดคล้องกับของหลายประเทศที่เป็นผู้นำด้านการศึกษาของโลก ที่ เห็นพ้องกันกับแนวคิดสำคัญในศตวรรษที่ 21 เรื่องของจิตสำนึกต่อโลก ความรู้พื้นฐานการประกอบสัมมาอาชีพ ความรู้พื้นฐานด้านพลเมือง สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21   อันได้แก่ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี ทักษะการทำงาน ทักษะ ชีวิตที่ใช้ได้จริง นอกจากนั้น จากผลการสังเคราะห์เอกสารงานวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร และผลการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  ตลอดจนผลการประเมินคุณภาพการศึกษาต่าง ๆ พบว่า
            - ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของนักเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งผลการทดสอบ ระดับชาติ
(O-NET)  ผลการสอบ PISA  ทั้ง ๆ ที่โรงเรียนใช้เวลาจัดการเรียนการสอนมากขึ้น เป็นเวลา  7 หรือ 8 ชั่วโมงต่อวัน   
            - เด็กคิดไม่เป็น วิเคราะห์ไม่ได้ ขาดทักษะชีวิต อัดแน่นเนื้อหาวิชาการมากกว่าให้เรียนรู้ด้วยตนเอง
            - เด็กนักเรียนมีภาระงาน การบ้านมากเกินไป หรือต้องนำการบ้านไปทำที่บ้าน
            - เด็กเครียด และต้องเรียนพิเศษมาก 
 (สำนักวิชาการและมาตรฐาน, 2558)  จากที่กล่าวข้างต้น โรงเรียนพระธาตุหนองสามหมื่นจึงได้เข้าร่วมโครงการ “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” เพราะเล็งเห็นคุณค่าของโครงการที่จะพัฒนานักเรียนให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของนักเรียน ทั้ง 4 ด้าน คือ Heart  Hand  Head  Health
 
วัตถุประสงค์ 3.1  เพื่อขับเคลื่อนนโยบายตามโครงการ “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ สพฐ. และการบริหารจัดการเวลาเรียน ทั้งด้านวิชาการ และด้านปฏิบัติ
    3.2  เพื่อขับเคลื่อนการนำหลักสูตรสถานศึกษา ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักการ ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  ส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มี คุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
    3.3  เพื่อนักเรียนพึงพอใจที่ได้เรียนรู้ตามความสนใจและถนัดของตนเอง และพัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพและทักษะทั้ง 4 ด้าน คือ Heart  Hand  Head  Health
 
เป้าหมาย 4.1 เชิงปริมาณ
         1)  มีกิจกรรม  “ลดเวลาเรียน  เพิ่มเวลารู้”  แบ่งออกเป็น  4  หมวด
                    หมวดที่ 1  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
                    กิจกรรมบังคับตามหลักสูตร
                    -  กิจกรรมแนะแนว
                    -  กิจกรรมนักเรียน
                    -  กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์
                    หมวดที่ 2  สร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้
                    กิจกรรมพัฒนาด้านการคิด
                    -  กิจกรรมน้ำหมักชีวภาพ
                    -  กิจกรรมหนังสือเล่มเล็ก
                    -  กิจกรรมน้ำปั่นหรรษา
                    -  กิจกรรมนิทานคุณธรรม
                    -  กิจกรรม English  on tour to plant
                    -  กิจกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ
                    -  กิจกรรมนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์
                    -  กิจกรรมการสร้างงานจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์
                    หมวดที่ 3 สร้างเสริมคุณลักษณะและค่านิยม
                    -  กิจกรรมจิตอาสา
                    -  กิจกรรมสวดมนต์และคุณธรรม   
                    หมวดที่ 4 สร้างเสริมทักษะการทำงาน การดำรงชีพ และทักษะชีวิต
                              กิจกรรมส่งเสริมอาชีพ
                  -  เพาะพันธุ์ไม้
                       -  อาหารนานาชาติ
                  -  โคมไฟฟ้ามือ
                  -  สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้
                  -  อาหารว่าง
                  -  ดอกไม้จันทน์
                  -  เหรียญโปรยทาน ม.ต้น
                  -  เหรียญโปรยทาน ม.ปลาย
                  -  น้ำเพื่อสุขภาพ
                  -  ดอกไม้กระดาษ
                  -  ผักคอนโด
                  -  ผลิตภัณฑ์จากยางพารา
                  -  ช่างอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น
                    กิจกรรมกีฬา
               -  วอลเลย์บอล
               -  หมากรุก
               -  เปตอง
               -  ฟุตซอล
               -  มวย
               -  หมากฮอส
               -  แอโรบิก
               -  แบดมินตัน
               -  กรีฑา
               -  แชร์บอล
               -  ตะกร้อ
               -  เทเบิลเทนนิส 
    4.2 เชิงคุณภาพ
          1)  นักเรียนโรงเรียนพระธาตุหนองสามหมื่นมีคุณลักษณะที่กหนด 4 หมวด ประกอบด้วย กิจกรรม
พัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมบังคับตามหลักสูตร) สร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ สร้างเสริมคุณลักษณะและ
ค่านิยม เสริมสร้างทักษะการทำงาน การดำรงชีพและทักษะชีวิต

          2)  นักเรียนมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”
 
ระยะเวลา 16 พ.ค. 2561 - 30 ก.ย. 2561
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนพระธษตุหนองสามหมื่น
ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีการประเมิน เครื่องมือที่ใช้
1. นักเรียนร้อยละ 85 สามารถเรียนรู้พัฒนาการในการเรียนรู้อย่างแท้จริงในทุกกิจกรรมตามที่กำหนดในโครงการ การสังเกต/การสอบถาม
  • แบบสังเกต
  • แบบสอบถาม
2. นักเรียนร้อยละ 85 มีคุณลักษณะตามที่กำหนดใน 4 หมวดประกอบด้วยหมวด กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมบังคับตามหลักสูตร) สร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ สร้างเสริมคุณลักษณะและค่านิยม เสริมสร้างทักษะการทำงาน การดำรงชีพและทักษะชีวิตมีความพึงพอใจ สามารถเรียนรู้อย่างมีความสุข การสังเกต/การสอบถาม
  • แบบสังเกต
  • แบบสอบถาม
3. นักเรียนร้อยละ 85 มีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม การสังเกต/การสอบถาม
  • แบบสังเกต
  • แบบสอบถาม
ผลที่คาดว่าจะได้รับ ผลที่คาดว่าจะได้รับ
     1. โรงเรียนบริหารจัดการเวลาเรียน และกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ได้อย่างเหมาะสม ทั้งด้านวิชาการ ด้านปฏิบัติ นักเรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ ตามความสนใจและถนัดของนักเรียนแต่ละบุคคล
     2. นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ พัฒนาตนเองตามความสนใจและความถนัดอย่างเต็มตามศักยภาพ และมีความสุขกับการเรียนรู้
     3.  พ่อ แม่ ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษามีความพึงพอใจในการจัดการศึกษาของโรงเรียนและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
 
สรุปคะแนนประเมิน 4.84
ไฟล์ประกอบ โครงการขับเคลื่อนนโยบายลดเวลาเรียน
ขั้นเตรียมการ ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงโครงการ“ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”และมอบหมายภาระงาน
ขั้นดำเนินการ
1. นำเนินงานตามโครงการฯด้วยกิจกรรม“ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ” แบ่งออกเป็น 4 หมวด
     - จัดทำข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับความสนใจ ความถนัด และความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
     - วิเคราะห์โครงสร้างหลักสูตรของสถานศึกษาและนำหลักสูตรไปใช้
     - ปรับและออกแบบตารางเรียน เพื่อให้สอดคล้องกับโครงการ “ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ”
     - ออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับผู้เรียน ความถนัดและความต้องการของผู้เรียน

2. ประชุมชี้แจงให้คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองทราบเกี่ยวกับโครงการ
     - ดำเนินการจัดการเรียนรู้และจัดกิจกรรม ตามตารางเรียนที่สถานศึกษากำหนด
ขั้นตรวจสอบประเมินผล นำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาต่อเนื่อง ทุกสัปดาห์ และนำเสนอ
ขั้นสรุปและรายงาน สรุปประเมินโครงการฯ โดยการประชุม เสวนา ทบทวนหลังปฏิบัติงาน สรุปผล รายงาน และเผยแพร่ผลการดำเนินการแต่ละกิจกรรม จัดทำรายงาน
งบประมาณ งบประมาณ  10,000 บาท
การบรรลุตัวชี้วัด 1.  นักเรียนร้อยละ 90 สามารถเรียนรู้ พัฒนาการในการเรียนรู้อย่างแท้จริงในทุกกิจกรรมตามที่กำหนดในโครงการ
2.  นักเรียนร้อยละ 90 มีคุณลักษณะตามที่กำหนดใน
4 หมวดประกอบด้วยหมวด กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมบังคับตามหลักสูตร) สร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ สร้างเสริมคุณลักษณะและค่านิยม เสริมสร้างทักษะการทำงาน การดำรงชีพและทักษะชีวิตมีความพึงพอใจ สามารถเรียนรู้อย่างมีความสุข
ความพึงพอใจ นักเรียนร้อยละ 95 มีความพึงพอใจในกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
ปัญหาและอุปสรรค งบประมาณไม่เพียงพอ
ข้อเสนอแนะ ทางต้นสังกัดควรมีงบประมาณในการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ซึ่งเป็นกิจกรรมตามนโยบาย
รูปภาพประกอบ


























ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0