โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

โครงการศึกษาแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถ่ินของเรา จังหวัดสงขลา - นครศรีธรรมราช

โรงเรียน : หาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา สพม.สงขลา สตูล

ประเภท : โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)

ผลการประเมิน : 4.75

เผยแพร่เมื่อ : 20 ก.ย. 2561 โดย :   จำนวนผู้เข้าชม 6540 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการศึกษาแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถ่ินของเรา จังหวัดสงขลา - นครศรีธรรมราช
ประเภท โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
ปีการศึกษา 2561
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน


ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา การเรียนรู้ในวิชาประวัติศาสตร์จำเป็นตองอาศัยหลักฐานในการอ้างอิง ผู้เรียนควรได้เรียนรู้และพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นของจริง เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรักความศรัทธาในวิชาประวัติศาสตร์และเกิดความรักชาติตามมา อีกทั้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดทำโครงการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่าน แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ตามแนวพระราชดำริ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 83พรรษา 12สิงหาคม 2558ในการนี้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา ได้ตระหนักถึงการเรียนประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้เด็กและเยาวชนเป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญาจากผู้รู้ ในชุมชนเพื่อให้เยาวชนสามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ ถ่ายทอดประมวลผล ตลอดจนสนับสนุนให้เยาวชน เชื่อมโยงเครือข่ายในการพัฒนาชุมชน และสังคมอย่างต่อเนื่องโดยตระหนักถึงความสำคัญของชุมชน          มีความเข้าใจรากเหง้า ความเป็นวัฒนธรรม แบ่งปัน เกื้อกูลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการศึกษาเรียนรู้วิถีการดำรงชีวิต ชุมชนภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีมาช้านาน บนพื้นฐานของธรรมชาติที่เกี่ยวพันสอดคล้องกันกับวิถีชีวิตชุมชน จึงได้จัดทำโครงการขึ้น
 
วัตถุประสงค์           1. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนและอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น โบราณสถานและโบรณวัตถุ
          2. เพื่อสร้างโอกาสให้นักเรียนได้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้ประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของท้องถิ่น
          3. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ความสำคัญ รู้จักวิถีชีวิต รู้ถึงคุณค่าของประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นความเป็นมาและวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น อันจะสร้างความภูมิใจและจิตสำนึกในการรักษาวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น โบราณสถานและโบรณวัตถุ สืบไป
 
เป้าหมาย             3.1  เชิงปริมาณ   (จำนวนที่ได้รับการพัฒนา)
            นักเรียนที่เลือกเรียนรายวิชาท้องถิ่นศึกษา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนรายวิชาประวัติศาสตร์ และนักเรียนที่สนใจแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของจังหวัดสงขลาโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา เข้าร่วมโครงการจำนวน 84 คน
            3.2เชิงคุณภาพ
                        นักเรียนที่เลือกเรียนรายวิชาท้องถิ่นศึกษา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนรายวิชาประวัติศาสตร์ และนักเรียนที่สนใจได้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับ ประวัติความเป็นมาของท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น โบราณสถานและโบราณวัตถุ เกิดความรู้สึกรัก หวงแหนและร่วมกันอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบไป
 
ระยะเวลา 20 ก.ย. 2561 - 20 ก.ย. 2561
สถานที่ดำเนินการ แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ภายในจังหวัดสงขลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
ตัวชี้วัด สนองตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินงานของโรงเรียน
               กลยุทธ์ ที่ 2 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมคุณลักษณะอันพึงประสงค์และค่านิยมที่ดีตามที่โรงเรียนกำหนด ตัวชี้วัดที่5 ร้อยละของผู้เรียนที่ปฏิบัติตาม ค่านิยม 12 ประการ

              กลยุทธ์ที่ 3  ผู้เรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย ร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใช้ในการดำเนินชีวิต ตัวชี้วัดที่ 1 ร้อยละของผู้เรียนที่มีความภาคภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย
ตัวชี้วัดที่ 2 ร้อยละของผู้เรียนที่ตระหนักรู้คุณค่าและร่วมกันอนุรักษ์ความเป็นไทย 
 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. นักเรียนได้รับการส่งเสริมสนับสนุนและอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น โบราณสถานและโบรณวัตถุ
            2. นักเรียนได้รับการสร้างโอกาสให้คนจากท้องถิ่นอื่นหรือนักท่องเที่ยวได้มีโอกาสเรียนรู้ประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของท้องถิ่น
            3. นักเรียนในท้องถิ่นได้เรียนรู้ความสำคัญ รู้จักวิถีชีวิต รู้ถึงคุณค่าของประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นความเป็นมาและวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น อันจะสร้างความภูมิใจและจิตสำนึกในการรักษาวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น โบราณสถานและโบรณวัตถุ สืบไป
 
สรุปคะแนนประเมิน 4.75
ไฟล์ประกอบ แผ่นพับทัศนศึกษา.docx
ขั้นเตรียมการ
1. วางแผน
(Plan)
1.ประชุมวางแผนโครงการ
2.เขียนโครงการเสนอขออนุมัติ
3.กำหนดหน้าที่รับผิดชอบ
ต.ค. –พ.ย.60 - น.ส. มณีรัตน์ ถาพลพันธุ์
นางนรารัตน์ บูหัส
ขั้นดำเนินการ
2. ดำเนินการ
(Do)
กิจกรรมที่ดำเนินการ
กิจกรรมที่ 1 ติดต่อสถานที่ศึกษาแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นในจังหวัดสงขลา

เช่น สถาบันทักษิณคดีศึกษา,พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจังหวัดสงขลา,เขาตังกวน,เก้าเส้ง ,ย่านเมืองเก่าจังหวัดสงขลา ,พิพิธภัณฑ์พะธำมะรงฯลฯ
  • นำนักเรียนไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองสงขลา
กิจกรรมที่ 2เรียนรู้ประวัติศาสตร์นอกท้องถิ่น
  • นำนักเรียนไปศึกษาแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองนครศรีธรรมราช
กิจกรรมที่ 3กิจกรรมเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ ตำบลปริก อ. สะเดา จ.สงขลา
  • นำนักเรียนไปศึกษาแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดสงขลาพร้อมฝึกทักษะเรียนรู้

ธ.ค.60
ก.พ. 61









ม.ค.61




เม.ย. 61

10,330










19,720




5,950

น.ส. มณีรัตน์ ถาพลพันธุ์
นางนรารัตน์ บูหัสและคณะครูกลุ่มสาระสังคมฯ








นางกุญช์ญา  ไชยชนะ
นางกุญช์ฐานิฎฐ์สมิทธโสภณและคณะครูกลุ่มสาระสังคมฯ


นางสมศรี สุขแก้ว
นางกุญช์ฐานิฎฐ์สมิทธโสภณ
นางกุญช์ญา  ไชยชนะ
และคณะครูกลุ่มสาระสังคมศึกษา ฯ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
3.ตรวจสอบ
(Check)
  1. ประเมินผลการจัดกิจกรรมโดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจ
  2. สังเกตการณ์เข้าร่วมกิจกรรม
ม.ค. 61
พ.ค. 61
- น.ส. มณีรัตน์ ถาพลพันธุ์
นางนรารัตน์ บูหัส
นางกุญช์ฐานิฎฐ์สมิทธโสภภณ
นางสมศรี  สุขแก้ว และคณะครูกลุ่มสาระสังคม ฯ
 
ขั้นสรุปและรายงาน
5. ประเมินผลและรายงาน
(Action)
  1. สรุปผลการประเมิน
กิจกรรม
  1. รายงานผลการจัดกิจกรรรม
ประเมิน
ม.ค. 61
พ.ค. 61
- น.ส. มณีรัตน์ ถาพลพันธุ์
นางนรารัตน์ บูหัส
นางกุญช์ฐานิฎฐ์สมิทธโสภภณ
นางสมศรี  สุขแก้วและคณะครูกลุ่มสาระสังคมฯ
งบประมาณ เงินงบอุดหนุน               36,000   บาท     

 
การบรรลุตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีการประเมิน เครื่องมือที่ใช้
นักเรียนที่เลือกเรียนรายวิชาท้องถิ่นศึกษา และนักเรียนที่สนใจได้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับ ประวัติความเป็นมาของท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น โบราณสถานและโบราณวัตถุ เกิดความรู้สึกรัก หวงแหนและร่วมกันอนุรักษ์ท้องถิ่นของตนเองอย่างน้อยร้อยละ 80 . การสอบถาม การสังเกต การประเมินความพึงพอใจ
 
  1. แบบประเมินความ        พึงพอใจ
  2. แบบสอบถาม
ความพึงพอใจ วันที่ 13 มกราคม  พ.ศ. 2561  ณ แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์เมืองสงขลา
ตารางที่ 1 แสดงค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจ ในกิจกรรมทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
รายการประเมิน ค่าเฉลี่ย
( )
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
( S.D.)
ระดับคุณภาพ เรียงลำดับ
  1. สถานที่จัดกิจกรรมทัศนศึกษามีความเหมาะสม
4.77 0.43 มากที่สุด 3
  1. นักเรียนมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
4.87 0.34 มากที่สุด 1
  1. การดูแลเอาใจใส่ของคณะครูผู้ควบคุม
4.74 0.50 มากที่สุด 4
  1. อาหาร – ของว่างมีความเหมาะสม
4.49 0.60 มาก 5
  1. นักเรียนได้เรียนรู้ประสบการณ์ตรงจากการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
4.77 0.48 มากที่สุด 3
  1. นักเรียนมีความรักและภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเอง
4.77 0.43 มากที่สุด 3
  1. นักเรียนได้รับความรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรม
4.79 0.47 มากที่สุด 2
  1. ความพึงพอใจในภาพรวมของการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้
4.77 0.48 มากที่สุด 3
รวม 4.75 0.33 มากที่สุด  

จากตารางที่ 1 พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ในจังหวัดสงขลา   จากกลุ่มตัวอย่างนักเรียนของโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา ระดับชั้น ม. 1 – 2  จำนวน 40  คน   ในภาพรวมนักเรียน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด   มีค่าเฉลี่ย ( )เท่ากับ 4.75  มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.33  หากพิจารณารายข้อพบว่า  รายการที่นักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ เรื่อง นักเรียนมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้   นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด  มีค่าเฉลี่ย ( )เท่ากับ 4.87 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.34  รองลงมา คือ เรื่อง นักเรียนได้รับความรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรม  ซึ่งนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับคุณภาพ มากที่สุด  มีค่าเฉลี่ย ( )เท่ากับ 4.79  มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.47 และเรื่อง สถานที่จัดกิจกรรมทัศนศึกษามีความเหมาะสม,  นักเรียนได้เรียนรู้ประสบการณ์ตรงจากการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ,นักเรียนมีความรักและภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเอง และนักเรียนความพึงพอใจในภาพรวมของการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้  ซึ่งนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด  มีค่าเฉลี่ย ( )เท่ากับ 4.77 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.43,0.48,0.43 และ 0.48 ตามลำดับ ส่วนรายการที่นักเรียน       มีความพึงพอใจน้อยที่สุด คือ เรื่อง อาหาร – ของว่างมีความเหมาะสม ซึ่งนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( )เท่ากับ 4.49 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.60 สำหรับรายละเอียดอื่น ๆ พิจารณาได้จากตารางที่ 1
 
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0