โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

โครงการพัฒนาการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

โรงเรียน : ทุ่งกะโล่วิทยา สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์

ประเภท : โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 25 มี.ค. 2564 โดย : นางฐาปนันท์ สอนอินทร์ จำนวนผู้เข้าชม 34 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการพัฒนาการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ประเภท โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปีการศึกษา 2563
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน


ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา             “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมอบให้แก่พสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า ทุกระดับ ไม่ว่าจะอาศัยอยู่ในชนบท หรือในเมือง ไม่ว่าจะประกอบอาชีพใดหรืออยู่ในสถานะใด และไม่ใช่เรื่องของภาคเกษตรเท่านั้น แต่เป็นหลักคิด หลักปฏิบัติที่สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตสำหรับทุกคน เพื่อให้มีความเจริญก้าวหน้า และรอดพ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจสังคม ที่นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ                     จากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน   ทำให้เกิดผลกระทบกับความเป็นอยู่ของครอบครัว ของชุมชน  ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องมาถึงนักเรียนในโรงเรียน อันเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ของครอบครัว  ดังนั้นโรงเรียนจึงต้องรับภาระผลที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียนได้รู้จักการใช้ชีวิตที่พอเพียง คือ เห็นคุณค่าของทรัพยากรต่างๆ ฝึกอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และแบ่งปัน มีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม และเห็นคุณค่าของวัฒนธรรม ค่านิยม เอกลักษณ์/ความเป็นไทย ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
                การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมนั้น สามารถดำเนินการหลากหลายรูปแบบ และทุกภาคส่วนในสังคมได้ผนึกกำลังร่วมกันมาโดยตลอด โดยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา มุ่งเน้นไปสู่การพัฒนาพลเมืองยุคใหม่ให้มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง ซึ่งถือเป็นเป้าหมายที่สอดรับกับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง การปฏิบัติตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ควรเริ่มจากตนเองด้วยการรู้จักกินรู้จักใช้ ไม่ใช้จ่ายฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย หรือใช้จ่ายเกินกว่ารายได้ที่ตนได้รับ จนตกเป็นหนี้สินเกิดความเดือดร้อน แต่ควรมีความเป็นอยู่อย่างพอเพียงพอประมาณ ตามฐานะ ตามอัตภาพที่เหมาะสมกับตนเอง          ใช้ความรู้ ความสามารถของตนที่มีอยู่จัดการกิจการต่างๆ ให้ประสบผลสำเร็จ และเห็นคุณค่าในการอยู่ร่วมกันในสังคม เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ถ้าประชาชนทุกคนปฏิบัติตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงจัง ก็จะช่วยให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  มีความพออยู่พอกิน และสามารถอุ้มชูตนเองได้ และเป็นที่พึ่งของผู้อื่นและสังคมได้
                จากแนวคิดดังกล่าวโรงเรียนทุ่งกะโล่วิทยาซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ความสำคัญทั้งด้านวิชาการในหลักสูตร กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์และกิจกรรมเสริมหลักสูตร ซึ่งเป็นการพัฒนาทักษะชีวิต จึงจัดทำโครงการพัฒนาการเรียนสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อให้เรียนรู้ทักษะชีวิตปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน โดยครูและนักเรียนบูรณาการการเรียนรู้โดยใช้ศูนย์การเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


 
วัตถุประสงค์ 1.  เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. เพื่อ่ให้ครูและนักเรียนสามารถบูรณาการการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
          3. เพื่อให้นักเรียน ครูและบุคลากรเห็นคุณค่าและน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จ                   
              พระเจ้าอยู่หัวมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถดำรงชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงได้
4. เพื่อให้ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนได้ใช้ศูนย์การเรียนรู้ทักษะชีวิตปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
    เป็นแหล่งเรียนรู้
 
เป้าหมาย 1.  ครูและนักเรียน ร้อยละ  80  มีการพัฒนาการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2.  ครูและนักเรียน ร้อยละ  80  สามารถบูรณาการการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3.  ครูและนักเรียน ร้อยละ  80  เห็นคุณค่าและน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จ                   
     พระเจ้าอยู่หัวมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถดำรงชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงได้
4.  ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนได้ใช้ศูนย์การเรียนรู้ทักษะชีวิตปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็น
    แหล่งเรียนรู้
 
ระยะเวลา 1 ต.ค. 2563 - 30 ก.ย. 2564
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนทุ่งกะโล่วิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39
ตัวชี้วัด 1..  ครูและนักเรียน ร้อยละ  80 มีการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. ครูและนักเรียนสามารถบูรณาการการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ นักเรียน ครูและบุคลากรโรงเรียน และชุมชน มีการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ 1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติจากผู้บริหาร
2. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคระกรรมการดำเนินงานตามโครงการ
3. ประชุมคระกรรมการเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
ขั้นดำเนินการ โรงเรียนได้ดำเนินงานตามโครงการ/ งาน /
กิจกรรม ดังต่อไปนี้
1. งานค่ายเยาวชนคนดีศรี ท.ว.
ขั้นตรวจสอบประเมินผล 1. แบบสอบถาม
2. สังเกตพฤติกรรม
3. จัดทำเอกสารรวบรวมผลงาน
ขั้นสรุปและรายงาน 1. สรุปผลการดำเนินโครงการ
2. รายงานผู้บริหาร
งบประมาณ จำนานเงิน  1,000 บาท 
การบรรลุตัวชี้วัด ครูและนักเรียน ร้อยละ  80      มีการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ครูและนักเรียนสามารถบูรณาการการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย 4.45
ปัญหาและอุปสรรค ไม่มี
ข้อเสนอแนะ ไม่มี
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0