โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

โครงการโรงเรียนดีประจำตำบล

โรงเรียน : ทุ่งมนวิทยาคาร สพม.สุรินทร์

ประเภท : โรงเรียนดีศรีตำบล

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 17 ก.ย. 2561 โดย :   จำนวนผู้เข้าชม 108 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการโรงเรียนดีประจำตำบล
ประเภท โรงเรียนดีศรีตำบล
ปีการศึกษา 2561
มาตรฐาน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

     2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน
     2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
     2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
     2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
     2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
     2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้

     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
     3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก
     3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
     3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ตระหนักในแนวคิดการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพ
โรงเรียนในสังกัดโดยยึดหลักการพัฒนาคุณภาพโดยกำหนดพื้นที่เป็นฐาน (Area - based development)
โดยเฉพาะการพัฒนาโรงเรียนระดับตำบลในท้องถิ่นชนบท สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึง พิจารณาการดำเนินโครงการต่าง ๆ ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งในความรับผิดชอบให้เชื่อมโยงและ รองรับกับแนวนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับการพัฒนาโรงเรียนดีประจำตำบล 7,000 โรงเรียน โดยได้ปรับกิจกรรมดำเนินโครงการต่าง ๆ มุ่งตรงไปสู่การพัฒนาโรงเรียนเป้าหมายที่กำหนดให้เป็นโรงเรียนดีระดับตำบล เพื่อพัฒนาให้เป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพ รวมทั้งสามารถเป็นศูนย์การเรียนรู้ให้แก่นักเรียนจากโรงเรียนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงในตำบลได้มาเรียน นำไปสู่การใช้ทรัพยากรร่วมกัน ซึ่งนับเป็นการเพิ่มโอกาสให้นักเรียนในท้องถิ่นชนบทได้เข้าถึงบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพกระจายในทุกพื้นที่ของประเทศไทย

โรงเรียนทุ่งมนวิทยาคารได้รับการคัดเลือกจากประชาคมระดับตำบล ซึ่งประกอบด้วย เทศบาลตำบลวังทอง คณะผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่ตำบลสมุด คณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนทุ่งมนวิทยาคารตั้งแต่ปี 2554 ให้ได้รับการเสนอชื่อเป็นโรงเรียนดีประจำตำบล และได้รับการประกาศจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นโรงเรียนดีประจำตำบล ประจำปี 2554  จึงได้ดำเนินโครงการต่อในปี 2555 และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนดี ศรีตำบล”
วัตถุประสงค์ 1.  เพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนคุณภาพมีความพร้อมและความเข้มแข็งทั้งทางด้านวิชาการ อาชีพ และการพัฒนาสุขภาพอนามัย สามารถให้บริการการศึกษาแก่นักเรียนอย่างมีคุณภาพ เป็นศูนย์พัฒนาครูสำหรับโรงเรียนต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง และมีกิจกรรมบริการชุมชน
 2.  เพื่อเพิ่มโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับนักเรียนในชนบท
 3. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมจากชุมชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นำไปสู่ความเข้มแข็งของโรงเรียนและรองรับการกระจายอำนาจทางการศึกษา

 
เป้าหมาย        3.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ
พัฒนาปัจจัยพื้นฐาน ได้แก่ สื่อวัสดุ อุปกรณ์ และจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพได้แก่
      1)  อาคารสถานที่สะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย มีสีสันสวยงาม น่าอยู่ น่าเรียน
      2)  มีคอมพิวเตอร์บริการนักเรียน
      3)  มีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง
      4)  มีห้องสมุดมาตรฐาน 3 ดี
            3.2  เป้าหมายเชิงคุณภาพ
            มีการดำเนินการตามระบบการประกันคุณภาพภายในอย่างเข้มแข็ง เพื่อให้เห็นถึงความก้าวหน้าของการพัฒนาสู่โรงเรียนคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ใน 4  คือ
          กลุ่มเป้าหมาย ที่ 1  ด้านปัจจัย (INPUT) พัฒนาโรงเรียน   ประกอบด้วย
          1.  มีแผนยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนเชื่อมั่นว่าทำได้จริง
          2.  มีเป้าหมายพัฒนานักเรียนที่ทุกคนเข้าใจถูกต้องตรงกัน
          3.  มีความสะอาด เป็นระเบียบ สวยงามเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกคน
          4. มีบริเวณโดยรอบร่มรื่นสวยงาม ด้วยร่มเงาธรรมชาติ
          5.  มีบรรยากาศอบอุ่นเหมือนบ้าน สีสันสดใส
          6.  มีความปลอดภัย ปลอดสารเสพติดและอบายมุข
          7.  เปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชนผู้นาศาสนามีส่วนร่วมนิเทศ
        ประเมินและพัฒนาโรงเรียน
          กลุ่มเป้าหมาย ที่ 2  ด้านกระบวนการ (PROCESS) จัดการเรียนรู้  ประกอบด้วย
          1.  จัดบรรยากาศห้องสมุดเหมือนบ้าน มีหนังสือ สื่อใหม่เพียงพอเหมาะสม
          2.  ปรับปรุงใช้สื่อการเรียนรู้ในห้องปฏิบัติการต่าง ๆ อย่างคุ้มค่า
          3.  ใช้ศูนย์การเรียนรู้งานอาชีพครบวงจร นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียน
          4.  เป็นศูนย์กีฬาชุมชนแบบครบวงจร มีสนามกีฬา กิจกรรมดูแลรักษา
          5.  มีห้องสุขานักเรียนที่สะอาด เพียงพอ ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ
          6.  ใช้แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น สื่อเทคโนโลยีทันสมัยในการเรียนรู้
          7.  ผู้บริหารเป็นที่ยอมรับในการเป็นนักพัฒนาและผู้นาการเปลี่ยนแปลง            
          กลุ่มเป้าหมาย ที่ 3  ด้านกระบวนการ (PROCESS) ปลูกฝังนิสัยนักเรียน ประกอบด้วย
  1. ฝึกความมีวินัย
  2. ฝึกการแสดงความเคารพ
  3. ฝึกความอดทน
  4. ฝึกนิสัยผ่านกิจกรรมชีวิตจริง 6 มิติจากการมีส่วนร่วมของ”บวร”
  5. ปลูกฝังจิตสานึกอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (บ้าน วัด/ โรงเรียน)
  6. สร้างแรงจูงใจให้นักเรียนทาความดีทุกวัน (กาย วาจา ใจ)
  7. ผู้บริหารและครูปฏิบัติตนเป็นต้นแบบที่ดี (กาย วาจา ใจ)
          กลุ่มเป้าหมาย ที่ 4  ด้านผลผลิต (OUTPUT) ประกอบด้วย
          1.  โรงเรียนมีชื่อเสียงดี
          2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเดิม หรือเท่ากับหรือมากกว่า ค่าเฉลี่ย สพฐ.(ใฝ่เรียน)
          3.  อ่านเขียนคิดเลขคล่องในชั้น ม.1 และ / หรือ สื่อสารภาษาอาเซียนได้ ในชั้น ม1-6 (ใฝ่รู้)
          4.   มีวินัย มีความเคารพ มีความอดทน (ใฝ่ดี)
          5.   มีจิตอาสาและมีจิตสานึกอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (รับผิดชอบส่วนรวม)
          6.  มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี (สุขภาพดี)
          7.  ใช้เทคโนโลยีได้ 1 ใช้ภาษาอาเซียนได้ 1 มีงานอาชีพ 1 (ทันโลก)

 
ระยะเวลา 17 ก.ย. 2561 - 17 ก.ย. 2561
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนทุ่งมนวิทยาคาร
ตัวชี้วัด 1.1  โรงเรียนมีความพร้อมและความเข้มแข็งทั้งทางด้านวิชาการ อาชีพ และการพัฒนาสุขภาพอนามัย สามารถให้บริการการศึกษาแก่นักเรียนอย่างมีคุณภาพ เป็นศูนย์พัฒนาครูสำหรับโรงเรียนต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง และมีกิจกรรมบริการชุมชน ร้อยละ 80
  1.2  โรงเรียนเพิ่มโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับนักเรียนในชนบท ร้อยละ 80
 1.3  โรงเรียนส่งเสริมความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมจากชุมชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นำไปสู่ความเข้มแข็งของโรงเรียนและรองรับการกระจายอำนาจทางการศึกษา ร้อยละ 80
 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.  โรงเรียนมีชื่อเสียงได้รับการยอมรับ
2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเดิม หรือเท่ากับหรือมากกว่า ค่าเฉลี่ย สพฐ.(ใฝ่เรียน)
3.   มีวินัย มีความเคารพ มีความอดทน (ใฝ่ดี)
4.   มีจิตอาสาและมีจิตสานึกอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (รับผิดชอบส่วนรวม)
5.  มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี (สุขภาพดี)
6.  ใช้เทคโนโลยีได้ 1 ใช้ภาษาอาเซียนได้ 1 มีงานอาชีพ 1 (ทันโลก)


 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0