โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

พัฒนาศักยภาพครูบุคลากรสู่ประชารัฐ

โรงเรียน : วังบ่อวิทยา สพม.นครสวรรค์

ประเภท : โรงเรียนประชารัฐ

ผลการประเมิน : 4.25

เผยแพร่เมื่อ : 19 ก.ย. 2561 โดย : พงศธร ภักดี จำนวนผู้เข้าชม 54 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม พัฒนาศักยภาพครูบุคลากรสู่ประชารัฐ
ประเภท โรงเรียนประชารัฐ
ปีการศึกษา 2560
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน
     2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
     2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
     2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
     2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
     3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก
     3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
     3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา

  ประชารัฐนับเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ใช้ความร่วมมือร่วมใจของรัฐและประชาสังคม เพื่อร่วมแก้ปัญหาเศรษฐกิจและขับเคลื่อนการพัฒนา ซึ่งประชารัฐจะเป็นการรวมพลังประชาชนของชาติที่มาจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะอยู่ในภาคประชาชน ภาคธุรกิจ หรือภาครัฐ โดยรัฐบาลจะเป็นผู้อำนวยความสะดวก สนับสนุน เปิดช่องทางให้เอกชน ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานในลักษณะเอกชนชั้นนำและภาครัฐเป็นผู้อำนวยความสะดวกและสนับสนุน เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศในทุกด้านอย่างยั่งยืน และจากนโยบายดังกล่าว คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2558 รับทราบการแต่งตั้งคณะกรรมการภาครัฐและเอกชนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยกำหนดให้มีคณะทำงานร่วมรัฐ เอกชน ประชาชน จำนวน 12 ชุด โดยทำงานแต่ละชุดจะมีประธานร่วมทั้งฝ่ายภาครัฐและเอกชน ทั้งนี้ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับมอบหมายให้เป็นประธานใน 2 คณะ ประกอบด้วย คณะที่ 4 คณะทำงานด้านการยกระดับคุณภาพวิชาชีพ และคณะที่ 11 คณะทำงานด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ
             จากมติคณะรัฐมนตรีดังข้างต้น กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่รับผิดชอบภารกิจในการจัดการศึกษาโดยเฉพาะระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่เกี่ยวข้องกับคณะที่ 11 คณะทำงานด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ จึงได้เร่งขับเคลื่อนการดำเนินงานในบทบาทภารกิจของภาครัฐตามนโยบายดังกล่าว โดยได้กำหนดเป้าหมายให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพการศึกษาที่ใช้กลไกลจากประชารัฐร่วมกันขับเคลื่อนเพื่อการยกระดับการศึกษาให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ที่ใช้กระบวนการต่างๆเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาในเรื่องคุณภาพการศึกษา การลดความเหลื่อมล้ำ การเพิ่มคุณภาพคน และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันหรือ อันนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป
             ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานยกระดับและพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยเฉพาะการศึกษาขั้นพื้นฐานภายใต้คณะทำงาน รัฐ เอกชน ประชาชน ด้านการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำเกิดสัมฤทธิ์ผลอย่างมีประสิทธิภาพและทันเวลา โรงเรียนวังบ่อวิทยาจึงเข้าร่วมโครงการโรงเรียนประชารัฐขึ้น

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ครูได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ
2. เพื่อให้ครูสามารถสอนนักเรียนให้สามารถคิดรวบยอด คิดแก้ปัญหา และคิดริเริ่มสร้างสรรค์โดยใช้โครงงาน
3. เพื่อให้ครูประเมินผลการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับสภาพผู้เรียน และน าผลการประเมินมา ปรับเปลี่ยน การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ
4. เพื่อให้ครูได้ปรับวิธีการสอน ให้เหมาะสมต่อการจัดการเรียนรู้
5. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
6. เพื่อให้นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลายสามารถค้นหาความรู้ใหม่ ๆ ได้ด้วยเทคโนโลยีอย่างชาญ ฉลาดเพื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21
เป้าหมาย ร้อยละ ๑๐๐ ของครูผู้สอนโรงเรียนวังบ่อวิทยา ได้รับการพัฒนา
ระยะเวลา 18 ก.ย. 2561 - 18 ก.ย. 2561
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนวังบ่อวิทยา
ตัวชี้วัด 1. ครูทุกคนได้ศึกษาสภาพปัญหาด้านการ เรียนการสอน ในทุกรายวิชา และทุก ห้องเรียน
2. ครูทุกคนได้เข้าร่วมการจัดอบรมเพื่อ พัฒนาครู
3. ครูทุกคนได้เข้าร่วมอบรมการใช้ เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาตนเอง
4. ครูทุกคนสามารถสร้างสื่อมัลติมีเดียได้
5. ครูทุกคนเข้าร่วมอบรมการสอนแบบ โครงงาน (STEM)
6. ครูทุกคนเข้าร่วมการอบรมเกี่ยวกับ วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบวิธี ต่างๆ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ครูได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ
2. ครูสามารถสอนนักเรียนให้สามารถคิดรวบยอด คิดแก้ปัญหา และคิดริเริ่มสร้างสรรค์โดยใช้โครงงาน
3. ครูประเมินผลการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับสภาพผู้เรียน และน าผลการประเมินมา ปรับเปลี่ยน การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ
4.  ครูได้ปรับวิธีการสอน ให้เหมาะสมต่อการจัดการเรียนรู้
5. ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
6. นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลายสามารถค้นหาความรู้ใหม่ ๆ ได้ด้วยเทคโนโลยีอย่างชาญ ฉลาดเพื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21
สรุปคะแนนประเมิน 4.25
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ 1. ศึกษาสภาพปัญหาด้านการเรียนการสอน
2. จัดทำโครงการเสนอต่อคณะครู
 
ขั้นดำเนินการ 1. โรงเรียนจัดการอบรมเพื่อพัฒนาครู
   กิจกรรมที่ 1 การอบรมเรื่องการใช้เทคโนโลยี เพื่อพัฒนาตนเอง
   กิจกรรมที่ 2 การอบรมการสร้างสื่อ มัลติมีเดีย
   กิจกรรมที่ 3 การสอนแบบโครงการ (STEM)
2. ส่งครูเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับวิธีการ จัดการเรียนการสอนแบบวิธีต่างๆ

 
ขั้นตรวจสอบประเมินผล 1. การสร้างบทเรียน
2. ดูจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียน
 
ขั้นสรุปและรายงาน 1. ครูทุกคนได้ศึกษาสภาพปัญหาด้านการเรียนการสอน ในทุกรายวิชา และทุกห้องเรียน
2. ครูทุกคนได้เข้าร่วมการจัดอบรมเพื่อพัฒนาครู
3. ครูทุกคนได้เข้าร่วมอบรมการใช้เทคโนโลยีเพื่อ พัฒนาตนเอง
4. ครูทุกคนสามารถสร้างสื่อมัลติมีเดียได้
5. ครูทุกคนเข้าร่วมอบรมการสอนแบบโครงงาน (STEM)
6. ครูทุกคนเข้าร่วมการอบรมเกี่ยวกับวิธีการจัดการ เรียนการสอนแบบวิธีต่างๆ
7. ครูทุกคนมีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล
8. ครูทุกคนสามารถจัดการเรียนการสอบ แบบ STEM ได้
9. ครูทุกคนสามารถใช้วิธีการสอนแบบ Active leaning ได้
10.ครูทุกคนสามารถสร้างเครื่องมือวัดผลประเมินผล ตามสภาพจริง
11.ครูทุกคนสามารถเขียนข้อสอบแบบอัตนัยได้ถูกต้อง
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด 1. ครูทุกคนได้ศึกษาสภาพปัญหาด้านการเรียนการสอน ในทุกรายวิชา และทุกห้องเรียน
2. ครูทุกคนได้เข้าร่วมการจัดอบรมเพื่อพัฒนาครู
3. ครูทุกคนได้เข้าร่วมอบรมการใช้เทคโนโลยีเพื่อ พัฒนาตนเอง
4. ครูทุกคนสามารถสร้างสื่อมัลติมีเดียได้
5. ครูทุกคนเข้าร่วมอบรมการสอนแบบโครงงาน (STEM)
6. ครูทุกคนเข้าร่วมการอบรมเกี่ยวกับวิธีการจัดการ เรียนการสอนแบบวิธีต่างๆ
7. ครูทุกคนมีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล
8. ครูทุกคนสามารถจัดการเรียนการสอบ แบบ STEM ได้
9. ครูทุกคนสามารถใช้วิธีการสอนแบบ Active leaning ได้
10.ครูทุกคนสามารถสร้างเครื่องมือวัดผลประเมินผล ตามสภาพจริง
11.ครูทุกคนสามารถเขียนข้อสอบแบบอัตนัยได้ถูกต้อง
ความพึงพอใจ 1. ครูมีความรู้เพิ่มมากขึ้น
2. ครูมีวิธีการสอนที่หลากหลายมากขึ้น
3. นักเรียนมีความสนใจในการเรียนมากขึ้น
ปัญหาและอุปสรรค 1. ระยะเวลาในการอบรมน้อย
2. วิทยากรมีจำนวนไม่เพียงพอ
 
ข้อเสนอแนะ 1. เพิ่มจำนวนวิทยากร
2. เพิ่มรูปแบบวิธีการสอนให้มากขึ้น
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0