โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

อนุรักษณ์พันธุกรรมพืชฯ

โรงเรียน : วังบ่อวิทยา สพม.นครสวรรค์

ประเภท : โรงเรียนดีศรีตำบล

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 18 ก.ย. 2561 โดย : พงศธร ภักดี จำนวนผู้เข้าชม 77 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม อนุรักษณ์พันธุกรรมพืชฯ
ประเภท โรงเรียนดีศรีตำบล
ปีการศึกษา 2560
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน
     2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
     2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
     2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
     2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
     2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
     3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก
     3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
     3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา           ตามที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี   ทรงมีพระราชดำริบางประการเกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช   ซึ่งมีใจความดังต่อไปนี้
          “การสอนและอบรมให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชพรรณนั้น   ควรใช้วิธีการปลูกฝังให้เด็กเห็นความงดงาม  
ความสนใจ  และเกิดความปิติที่จะทำการศึกษาและอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป   การให้วิธีสอน  การอบรมและให้ความรู้สึกกลัวว่า  หากไม่อนุรักษ์แล้วจะเกิดผลเสียเกิดอันตรายแก่ตนเอง  จะทำให้เด็กเกิดความเครียด  ซึ่งจะเป็นผลเสียแก่ประเทศในระยะยาว

          โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ  ได้ดำเนินงานสนองพระราชดำริจัดตั้งงาน   “สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน”  เพื่อเป็นสื่อในการสร้างจิตสำนึกด้านอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยให้เยาวชนนั้นได้ใกล้ชิดกับพืชพรรณไม้   เห็นคุณค่าประโยชน์   ความสวยงาม   อันจะก่อให้เกิดความคิดที่จะอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป
          สวนพฤกษศาสตร์ คือ แหล่งที่รวบรวมพันธุ์พืชชนิดต่างๆ ทีมีชีวิต  จัดปลูกตามความเหมาะสมกับสภาพถิ่นอาศัยเดิม  มีห้องสมุด  สถานที่เก็บรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้รักษาสภาพ  อาจเป็นตัวอย่างแห้งหรือตัวอย่างดอง  หรือเก็บรักษาด้วยวิธีอื่นๆ  พันธุ์พืชที่ทำการรวบรวมไว้นั้นจะเป็นแหล่งข้อมูลและการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ไม้  นอกจากนี้สามารถใช้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจซึ่งสามารถดำเนินการสวนพฤกษศาสตร์ในพื้นที่ของโรงเรียน  โดยมีองค์ประกอบดังกล่าว  เป็นสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนใช้ในวัตถุประสงค์ดังกล่าว  อีกทั้งใช้ในการศึกษาและเป็นประโยชน์ในการสอนวิชาต่างๆ
จากพระราชดำริและพระราโชวาทของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในเรื่องของสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน  ซึ่งมีความสอดคล้องกับงานปกติในเรื่องของการเรียนการสอน  และในเรื่องของการปฏิรูปการศึกษา  ซึ่งเน้นให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง  ดังนั้นทางโรงเรียนจึงได้มีการประชุมหารือ และเห็นพ้องต้องกันที่จะสนองราชดำริ  ดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
โรงเรียนวังบ่อวิทยา  จังหวัดนครสวรรค์เป็นโรงเรียนที่จัดสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ร่มรื่นสวยงามจนได้รับรางวัลจากป่าไม้เขตให้เป็นโรงเรียนที่ดูแลพรรณไม้ดีเด่นและได้รับรางวัล  การจัดสวนตกแต่งสถานที่ด้วยพรรณไม้ที่สวยงาม โรงเรียนได้เอาใจใส่ดูแลพรรณไม้เป็นอย่างดีแต่ยังขาดการสร้างจิตสำนึกให้เยาวชนมีความรักความร่มรื่นสวยงามของพรรณไม้เท่าที่ควร  จึงมีแนวคิดสอดคล้องกับงานสวนพฤกษศาสตร์ในโรงเรียนตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ได้สมัครเข้าร่วมโรงการดังกล่าว
สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน  จึงเป็นการดำเนินงานในอีกรูปแบบหนึ่งของ “สวนพฤกษศาสตร์” โดยมีการรวมพันธุ์ที่มีชีวิต  มีแหล่งข้อมูลความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ไม้  มีการศึกษาต่อเนื่อง  มีการเก็บตัวอย่างพันธุ์ไม้แห้งและพันธุ์ไม้ดอง  มีการรวบรวมพันธุ์ไม้ท้องถิ่นเข้ามาปลูกรวบรวมไว้ในโรงเรียนและภูมิปัญญาท้องถิ่น  มีการบันทึกรายงานและข้อมูลรวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับพันธุ์ไม้  มีมุมสำหรับศึกษาค้นคว้าและมีการนำไปใช้ประโยชน์เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ  เป็นการดำเนินการให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น  ไม่ฝืนธรรมชาติ  และเป็นไปตามความสนใจและความพร้อมของโรงเรียน  ดำเนินการโดยสมัครใจไม่ให้เกิดความเครียด
 
วัตถุประสงค์          ๑. เพื่อให้การบริหารจัดการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เป็นระบบ เกิดความร่วมมือร่วมใจกัน ระหว่าง โรงเรียน ชุมชน ครู นักเรียน ผู้ปกครอง
          ๒. เพื่อให้ครูใช้งานสวนพฤกษศาสตร์ เป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอน
          ๓. เพื่อให้นักเรียนมีคุณธรรม และจริยธรรม เกิดจิตสำนึก ในการอนุรักษ์พืชพรรณ
          ๔. เพื่อให้เป็นแหล่งข้อมูลพืชพรรณ และภูมิปัญญาท้องถิ่น
          ๕. เพื่อให้นักเรียนรู้จักใช้สื่อกับธรรมชาติ ที่มีอยู่รอบตัว ในการเรียนรู้ รู้จักตั้งคำถาม หาคำตอบ ช่างสังเกตและค้นคว้า
          ๖. เพื่อให้มีจิตใจอ่อนโยน เห็นคุณค่าและรู้ค่าทำให้เกิดความรักในพืชพรรณไม้ ไม่คิดทำลาย และมีแนวคิดที่จะอนุรักษ์สืบไป


 
เป้าหมาย ๑ เชิงปริมาณ
                   ๑) ครูและบุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
                   ๒) ครูทุกคนสามารถจัดการเรียนการสอน โดยบูรณาการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
                   ๓) นักเรียนทุกคนตระหนัก รู้คุณค่า ร่วมอนุรักษ์ และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
                   ๔) นักเรียน ร้อยล่ะ ๘๕ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
๒ เชิงคุณภาพ
                   ๑) ครูและบุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
    ในระดับดี
                   ๒) ครูทุกคนสามารถจัดการเรียนการสอน โดยบูรณาการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
    ในระดับดี
                   ๓) นักเรียนทุกคนตระหนัก รู้คุณค่า ร่วมอนุรักษ์ และพัฒนาสิ่งแวดล้อม  ในระดับดีมาก
                   ๔) นักเรียน มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์  ในระดับดีมาก


 
ระยะเวลา 18 ก.ย. 2561 - 18 ก.ย. 2561
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนวังบ่อวิทยา
ตัวชี้วัด
๑) ผู้บริหารจัดทำแผนและโครงการดำเนินการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนได้
๒) ครูนำพรรณไม้ใช้ในการเรียนการสอนโดยใช้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้
๓) ครูและนักเรียนร่วมกันสำรวจพรรณไม้ในพื้นที่ของโรงเรียน เพื่อจัดทำผังพรรณไม้ พรรณไม้แห้ง ดอง เฉพาะส่วน ทะเบียนพรรณไม้ ป้ายชื่อพรรณไม้
๔) ครูและนักเรียนศึกษาพรรณไม้ที่สนใจ(พืชศึกษา) ๑ ชนิด
๕) นักเรียนเขียนรายงานการศึกษาพันธ์ไม้
๖) โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ        ๑. การบริหารจัดการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เป็นระบบ เกิดความร่วมมือร่วมใจกัน ระหว่าง โรงเรียน ชุมชน ครู นักเรียน ผู้ปกครอง
          ๒. ครูใช้งานสวนพฤกษศาสตร์ เป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอน
          ๓. นักเรียนมีคุณธรรม และจริยธรรม เกิดจิตสำนึก ในการอนุรักษ์พืชพรรณ
          ๔. เป็นแหล่งข้อมูลพืชพรรณ และภูมิปัญญาท้องถิ่น
          ๕. นักเรียนรู้จักใช้สื่อกับธรรมชาติ ที่มีอยู่รอบตัว ในการเรียนรู้ รู้จักตั้งคำถาม หาคำตอบ ช่างสังเกตและค้นคว้า
          ๖. มีจิตใจอ่อนโยน เห็นคุณค่าและรู้ค่าทำให้เกิดความรักในพืชพรรณไม้ ไม่คิดทำลาย และมีแนวคิดที่จะอนุรักษ์สืบไป
 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0