โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

ส่งเสริมผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์

โรงเรียน : วังบ่อวิทยา สพม.นครสวรรค์

ประเภท : โรงเรียนประชารัฐ

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 18 ก.ย. 2561 โดย : พงศธร ภักดี จำนวนผู้เข้าชม 31 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม ส่งเสริมผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
ประเภท โรงเรียนประชารัฐ
ปีการศึกษา 2560
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน
     2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก
     3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
     3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา ในสภาพของสังคมยุคโลกาภิวัตน์  (Globalization) ในปัจจุบัน เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างแปรเปลี่ยนไปเกือบหมดสิ้น จนอาจกล่าวได้ว่ามีความแปรเปลี่ยนไปเสมือนหน้ามือเป็นหลังมือ และเราก็มิอาจปฏิเสธได้อีกเช่นเดียวกันว่าสังคมไทยที่เคยเป็นสังคมแห่งความเข้มแข็ง อบอุ่น มีความเป็นอัตลักษณ์ของความเป็นสังคมไทยที่ชัดเจน โดยมีศาสนาพุทธที่ถือเป็นศาสนาประจำชาติที่ก่อให้เกิดสังคมแห่งความสงบ ร่มเย็นมาตั้งแต่โบราณกาล  กลับกลายมาเป็นสังคมแห่งความวุ่นวาย  เดือดร้อน ศาสนาพุทธที่ถือเป็นศาสนาประจำชาติถูกมารศาสนาแฝงเร้นเข้ามากอบโกยผลประโยชน์โดยเน้นหนักไปในด้านของพุทธพาณิชย์มากกว่าจะทำหน้าที่เผยแผ่พระธรรมคำสอนขององค์ศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อให้ประชาชนมีจิตสำนึกของความรับผิดชอบชั่วดี  และร่วมกันเสริมสร้างสังคมไทยให้มีความสงบร่มเย็นเหมือนเช่นอดีต   สิ่งที่บ่งบอกถึงความอ่อนแอทางสังคมได้อย่างชัดเจน ได้แก่  เด็กและเยาวชนไม่ครองตนอยู่ในทำนองคลองธรรมที่ดีงาม การมั่วสุมเสพย์สิ่งเสพย์ติด การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การทะเลาะวิวาท รวมไปถึงความบกพร่องในคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม ได้แก่ ขาดความรับผิดชอบ ขาดความซื่อสัตย์ เห็นประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม ระบบคุณค่าทางสังคมต่างๆ ได้ถูกบิดเบือนไป การแข่งขันชิงดีชิงเด่น  กลายเป็นค่านิยมที่ได้รับการส่งเสริม แทนการเกื้อกูลและโอบอ้อมอารีต่อกัน ส่งผลให้โลกขาดการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ  เกิดความแปลกแยกระหว่างคนในสังคม และระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม    ปัญหาต่างๆ  เหล่านี้ล้วนเกิดจากความอ่อนแอในด้านคุณธรรมจริยธรรม ดังที่องค์ทะไลลามะ (อ้างใน ธนานิลชัยโกวิทย์และคณะ , ๒๕๔๙: ๑)ใช้คำว่า“โลกเป็นโรคขาดพร่องทางจิตวิญญาณ(Spiritual  eficiency)”
ในกระบวนการแก้ไขปัญหาเพื่อให้ความเป็นโรคขาดพร่องทางจิตวิญญาณลดน้อยลง  และเป็นการเพิ่มภูมิคุ้มกันทางจิตวิญญาณให้เข้มแข็งขึ้น จึงควรที่จะต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญในการที่จะดำเนินการเพื่อพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ให้มีความเข้มแข็งทางจิตวิญญาณ ปัจจัยดังกล่าวคือ การศึกษา ดังที่พระธรรมปิฎก  (ป.อ. ปยุตฺโต) (๒๕๓๙: ๓ - ๔) ได้กล่าวว่าการพัฒนามนุษย์ในฐานะที่เป็นทรัพยากรมนุษย์นี้มีความหมายต่อการศึกษา  เพราะ  การศึกษาเป็นกระบวนการในการพัฒนาคน  ทั้งในฐานะที่เป็นมนุษย์โดยตัวของมันเอง  และในฐานะที่เป็นทรัพยากร เราจึงควรจัดการศึกษา ๒ อย่างนี้ให้สัมพันธ์กัน เพราะถ้าเราสามารถพัฒนาทั้ง  ๒ส่วนนี้ให้สัมพันธ์กันจนเกิดดุลยภาพขึ้นก็จะเป็นผลดีต่อชีวิตและสังคมมาก นอกจากนั้นพระธรรมปิฎก  (ป.อ. ปยุตฺโต) (๒๕๔๓: ๒๗) ยังได้กล่าวความสำคัญของการศึกษาที่จะนำพาให้มนุษย์มีการดำเนินชีวิตที่ดีว่า  การดำเนินชีวิตที่ดี  ที่เรียกว่าจริยะนี้ ได้มาด้วยสิกขา คือการศึกษา เพราะฉะนั้น ชีวิตของมนุษย์ถ้าจะเป็นชีวิตที่ดี ต้องมีการศึกษาตลอดเวลา คือต้องเป็นชีวิตแห่งการศึกษา จะพูดว่า ชีวิตที่ดี  คือชีวิตแห่งการศึกษาก็ได้ เพราะชีวิตที่ดีต้องมีการฝึกฝนพัฒนา เราไม่สามารถได้ชีวิตที่ดีมาเปล่าๆ
นอกเหนือจากการศึกษาที่ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ดังที่กล่าวแล้วนั้น  ยังต้องมีกระบวนการเสริมสร้างและพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของมนุษย์เพื่อให้เข้าถึงความจริงของกฎธรรมชาติเพื่อให้เป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรมที่เหมาะสมและเป็นที่พึงปรารถนาของสังคมร่วมด้วยจึงจะมีความสมบูรณ์และมีความลงตัวที่พอดี ดังที่พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) (๒๕๔๗: ๖๐ - ๖๔) ได้กล่าวไว้ว่า  ปัญญาเป็นส่วนสำคัญที่สูงสุดในพระพุทธศาสนา มีศีล คือได้พัฒนากาย – วาจา และมีสมาธิ คือ ได้พัฒนาจิตใจ  ก็ดีอย่างยิ่งแล้ว  และต้องมีปัญญามาครอบยอดลงไป  จึงจะสมบูรณ์  ดังนั้นเรื่องของมนุษย์นี้  จุดสำคัญจึงอยู่ที่ว่า  ต้องมีการศึกษา  แล้วก็เข้าถึงความจริงของกฎธรรมชาติ  ที่จะทำให้เป็นอิสระ  ซึ่งเป็นอิสรภาพของจิตใจและอิสรภาพแห่งปัญญา  แล้วก็จะบรรลุจุดหมายของชีวิต  โดยไม่ต้องขึ้นต่อสังคมต่อไป
ในการที่จะเสริมสร้างและพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของมนุษย์เพื่อให้เข้าถึงความจริงของกฎธรรมชาติ  ซึ่งนอกเหนือจากจะใช้กระบวนการทางการศึกษาแล้ว ผู้ที่มีส่วนเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมมนุษย์ โดยเฉพาะในตัวเด็กนักเรียนและเยาวชน ที่ถือเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สามารถฝึกฝนและเสริมสร้างคุณธรรมได้ง่ายที่สุด ควรที่จะต้องมีแนวคิดหรือมีกระบวนการฝึกฝนที่แปลกใหม่  เพื่อนำมาใช้ในการเสริมสร้างปรับปรุง เปลี่ยนแปลงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น  ซึ่งเราเรียกว่า“นวัตกรรม”  (Innovation) (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน , ๒๕๔๙: ๕) อันจะส่งผลให้การดำเนินงานเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนประสบผลสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

 
วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร                                           
๒. เพื่อให้นักเรียนเอื้ออาทรผู้อื่นและกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ
๓. เพื่อให้นักเรียนยอมรับความคิดและวัฒนธรรมที่แตกต่าง                                         
๔. เพื่อให้นักเรียนตระหนัก รู้คุณค่า ร่วมอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม

 
เป้าหมาย 1 เป้าหมายเชิงปริมาณ
          1. นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมทำบุญวันศุกร์   ร้อยละ 80
2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ
          1. เพื่อให้นักเรียนเอื้ออาทรผู้อื่นและกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ      อยู่ในระดับ ดีมาก
          2. นักเรียนยอมรับความคิดและวัฒนธรรมที่แตกต่าง                          อยู่ในระดับ ดีมาก
          3. นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร                           อยู่ในระดับ ดีมาก

 
ระยะเวลา 18 ก.ย. 2561 - 18 ก.ย. 2561
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนวังบ่อวิทยา
ตัวชี้วัด
ร้อยละผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย คุณลักษณะอันพึงประสงค์
ร้อยละผู้เรียนมีทักษะชีวิต มีทักษะกระบวนการทำงานเป็นทีม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑. นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร                                         
๒. นักเรียนเอื้ออาทรผู้อื่นและกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ
๓. นักเรียนยอมรับความคิดและวัฒนธรรมที่แตกต่าง                                       
๔. นักเรียนตระหนัก รู้คุณค่า ร่วมอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม

 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0