โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

จิตแจ่มใสอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง

โรงเรียน : วังบ่อวิทยา สพม.นครสวรรค์

ประเภท : โรงเรียนดีศรีตำบล

ผลการประเมิน : 4.25

เผยแพร่เมื่อ : 19 ก.ย. 2561 โดย : พงศธร ภักดี จำนวนผู้เข้าชม 28 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม จิตแจ่มใสอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง
ประเภท โรงเรียนดีศรีตำบล
ปีการศึกษา 2560
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน
     2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
     2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
     2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
     2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
     3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก
     3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
     3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา งานอนามัยโรงเรียนเป็นหน่วยงานที่ดำเนินกิจกรรมให้บริการการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้กับนักเรียน บุคลากรในโรงเรียน พร้อมทั้งส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันตนเองจากโรคภัยไข้เจ็บ สิ่งเสพติด  ภัย   อุบัติเหตุ และปัญหาทางเพศ  ซึ่งจากการสำรวจของกระทรวงสาธารณสุข ด้านโรคติดต่อพบโรคไข้เลือดออกระบาดในโรงเรียน  ด้านปัญหาทางเพศ ได้แก่ สถิติการตั้งครรภ์อันไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น และสิ่งเสพติด  ได้แก่ บุหรี่ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ทางโรงเรียนเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าวนี้มาโดยตลอด จึงจัดโครงการจิตแจ่มใสอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง   โดยเน้นและดูแลให้ความรู้เรื่องโภชนาการที่ดีต่อร่างกาย  เรียนรู้เรื่องระบบการทำงานของร่างกาย  การออกกำลังกายอย่างง่ายและเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ  เน้นการรณรงค์ให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษารอบด้าน เพื่อส่งเสริมสุขนิสัยที่ดี   ทำให้นักเรียนตระหนักรู้ถึงโทษภัยของสิ่งเสพติด และต่อต้านสิ่งเสพติด  ปลูกจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน เห็นคุณค่าของตนเองและการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในด้านกีฬา  ด้านดนตรี  รวมทั้งส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการทำหรือต่อยอดโครงงานสุขภาพที่มีคุณค่า ทั้งนี้กิจกรรมในโครงการนี้นอกจากจะช่วยส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี  โดยอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมวิถีชีวิตค่านิยมแบบไทย  และคาดหวังว่าจะช่วยลดปัญหาโรคติดต่อ ปัญหาสิ่งเสพติด  และปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น รวมทั้งส่งเสริมให้นักเรียนมีงานทำระหว่างเรียน เพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  ซึ่งจะยังประโยชน์ต่อสังคมไทยต่อไป
 
วัตถุประสงค์
๑.เพื่อให้นักเรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
๒.เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพพลานามัยตามเกณฑ์มาตรฐาน
๓.เพื่อให้นักเรียนตระหนักรู้รู้ถึงโทษภัยของสิ่งเสพติดและต่อต้านสิ่งเสพติดในโรงเรียน
๔.เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษารอบด้านและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
๕. ส่งเสริมให้นักเรียนมีงานทำระหว่างเรียน เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
๖. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้และสามารถดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของตนเองและครอบครัวได้
เป้าหมาย นักเรียน          จำนวน   251 คน
คณะทำงาน    จำนวน     20  คน
วิทยากร          จำนวน      3  คน

 
ระยะเวลา 18 ก.ย. 2561 - 18 ก.ย. 2561
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนวังบ่อวิทยา
ตัวชี้วัด ๑. นักเรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี  ได้ร้อยละ 85
๒. นักเรียนมีสุขภาพพลานามัยตามเกณฑ์มาตรฐาน  ได้ร้อยละ 85
๓. นักเรียนตระหนักรู้รู้ถึงโทษภัยของสิ่งเสพติดและต่อต้านสิ่งเสพติดในโรงเรียน  ได้ร้อยละ 85
๔. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษารอบด้านและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ได้ร้อยละ 85
๕. นักเรียนมีงานทำระหว่างเรียน เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  ได้ร้อยละ 85
๖. นักเรียนได้เรียนรู้และสามารถดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของตนเองและครอบครัว ได้ร้อยละ 85

 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑. นักเรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
๒. นักเรียนมีสุขภาพพลานามัยตามเกณฑ์มาตรฐาน
๓. นักเรียนตระหนักรู้รู้ถึงโทษภัยของสิ่งเสพติดและต่อต้านสิ่งเสพติดในโรงเรียน
๔. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษารอบด้านและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
๕. นักเรียนมีงานทำระหว่างเรียน เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
๖.  นักเรียนได้เรียนรู้และสามารถดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของตนเองและครอบครัวได้

 
สรุปคะแนนประเมิน 4.25
ไฟล์ประกอบ โครงการส่งเสริมสุขภาพ.doc
ขั้นเตรียมการ ๑  เขียนเสนอโครงการเพื่อขอความเห็นชอบ
๒ ประสานงานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ
๓  ประชุมชี้แจงแต่งตั้งคณะกรรมการการทำงาน
ขั้นดำเนินการ ๔  ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนการดำเนินการและจัดกิจกรรม
๕  มอบหมายและดำเนินการตามแผนและหน้าที่รับผิดชอบ
๖ ประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนทราบเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมภายในโครงการเพื่อให้ทุกคนเข้าร่วมโครงการ
๗ ดำเนินกิจกรรมตามวัน เวลา และสถานที่
ขั้นตรวจสอบประเมินผล ๑.  ตรวจสอบการเข้าร่วมกิจกรรม
 ๒.  สังเกตพฤติกรรมของนักเรียน
 ๓.  สัมภาษณ์และตอบแบบสอบถาม
เครื่องมือที่ใช้
๑.  แบบบันทึกข้อมูลนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม
๒.  แบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน
๓.  แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของนักเรียน
๔.  แบบสอบถามความพึงพอใจ และความคิดเห็นของนักเรียนต่อโครงการ

 
ขั้นสรุปและรายงาน ๑. นักเรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี  ได้ร้อยละ 85
๒. นักเรียนมีสุขภาพพลานามัยตามเกณฑ์มาตรฐาน  ได้ร้อยละ 85
๓. นักเรียนตระหนักรู้รู้ถึงโทษภัยของสิ่งเสพติดและต่อต้านสิ่งเสพติดในโรงเรียน  ได้ร้อยละ 85
๔. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษารอบด้านและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ได้ร้อยละ 85
๕. นักเรียนมีงานทำระหว่างเรียน เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  ได้ร้อยละ 85
๖. นักเรียนได้เรียนรู้และสามารถดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของตนเองและครอบครัว ได้ร้อยละ 85
งบประมาณ 35,000
การบรรลุตัวชี้วัด ๑. นักเรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี  ได้ร้อยละ 85
๒. นักเรียนมีสุขภาพพลานามัยตามเกณฑ์มาตรฐาน  ได้ร้อยละ 85
๓. นักเรียนตระหนักรู้รู้ถึงโทษภัยของสิ่งเสพติดและต่อต้านสิ่งเสพติดในโรงเรียน  ได้ร้อยละ 85
๔. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษารอบด้านและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ได้ร้อยละ 85
๕. นักเรียนมีงานทำระหว่างเรียน เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  ได้ร้อยละ 85
๖. นักเรียนได้เรียนรู้และสามารถดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของตนเองและครอบครัว ได้ร้อยละ 85
ความพึงพอใจ ๑. นักเรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
๒. นักเรียนมีสุขภาพพลานามัยตามเกณฑ์มาตรฐาน 
๓. นักเรียนตระหนักรู้รู้ถึงโทษภัยของสิ่งเสพติดและต่อต้านสิ่งเสพติดในโรงเรียน
๔. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษารอบด้านและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 
๕. นักเรียนมีงานทำระหว่างเรียน เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 
๖. นักเรียนได้เรียนรู้และสามารถดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของตนเองและครอบครัว 
ปัญหาและอุปสรรค 1. ระยะเวลาในการดำเนินการยังไม่เหมาะสอ
2. วิทยากรยังไม่เพียงพอ
3. งบประมาณมีจำกัด
ข้อเสนอแนะ 1. กำหนดระยะเวลาให้เหมาะสม
2. เพิ่มวิทยากรที่มีความรู้เฉพาะทางทุกฐานการเรียนรู้
3. กำหนดงบประมาณให้เพียงพอ
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0