โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

นิยมไทย ฟื้นความเป็นไทย สู่ความเป็นสากล

โรงเรียน : ฟากท่าวิทยา สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์

ประเภท : โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)

ผลการประเมิน : 4.00

เผยแพร่เมื่อ : 28 ก.ย. 2562 โดย : ปลายเวช ไพรวงษ์ จำนวนผู้เข้าชม 938 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม นิยมไทย ฟื้นความเป็นไทย สู่ความเป็นสากล
ประเภท โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
ปีการศึกษา 2562
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา              กิจกรรมนิยมไทยเป็นอัตลักษณ์หนึ่งของโรงเรียนฟากท่าวิทยา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการจัดกิจกรรมนี้ขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ในเรื่องวัฒนธรรม ประเพณีของชาวฟากท่า เนื่องจากวัฒนธรรมเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าวิถีชีวิตที่ชุมชนและท้องถิ่นได้พัฒนาและสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิต โดยแสดงออกในรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย ทั้งในรูปแบบของวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญา ศิลปะการแสดง ฯลฯ เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกและกระตุ้นให้คนในชุมชนท้องถิ่นเกิดความตระหนัก มีความตื่นตัวและเข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูเผยแพร่และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และคุณค่าความหลากหลายของศิลปะและวัฒนธรรมไทย ทั้งที่เป็นวิถีชีวิต ค่านิยม และความเป็นไทย ในปัจจุบันวัฒนธรรมท้องถิ่นถูกละเลยและมีการถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นใหม่น้อย เช่น การแต่งกาย รวมทั้งประเพณีและวิถีชีวิตที่ดีงาม ท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรมภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ วัฒนธรรม ได้มีการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา หากมรดกทางวัฒนธรรม ที่มีความแตกต่างหลากหลายกันในพื้นที่ ไม่ได้รับการสืบสานและอนุรักษ์ฟื้นฟูรวมถึงการพัฒนาต่อยอดให้เกิดคุณค่าทางสังคมและจิตใจทำให้คุณค่าทางมรดกวัฒนธรรมลดน้อยไปจนแทบจะสูญหาย
วัฒนธรรมวิถีชีวิตที่เกิดขึ้นจากการสั่งสมองค์ความรู้ในแต่ละท้องถิ่นมีลักษณะโดดเด่นที่แตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ ในแต่ละพื้นที่มีภูมิปัญญาหลากหลาย ควรที่จะได้รับการถ่ายทอดเยาวชนรุ่นหลังสืบไป การอนุรักษ์เป็นหนทางหนึ่งที่ยั่งยืน ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนให้ดำรงอยู่ในท้องถิ่น  รวมไปถึงส่งเสริมการเรียนรู้และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมอันดีของไทยไว้ให้คนรุ่นหลัง อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสังคม ชุมชน และประเทศชาติ กิจกรรมนี้ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้วัฒนธรรม การแต่งกาย อาหาร รวมไปถึงการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย ให้คนรุ่นใหม่ได้มีโอกาสเรียนรู้สิ่งที่มีคุณค่าของไทย ที่สมควรแก่การอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้สืบต่อไป
 
วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ของโครงการ
          2.1  เพื่อปลูกฝั่งค่านิยมไทย ให้เด็กมีความรักและภาคภูมิใจในความเป็นไทย
          2.2  เพื่อฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทยสู่ความเป็นสากล
          2.3  เพื่อจัดให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางของการเผยแพร่ วัฒนธรรม ประเพณีไทย
          2.4  เพื่อให้นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการสืบทอดวัฒนธรรมไทย
 
เป้าหมาย           ผลผลิต (Outputs
                   1.นักเรียน ครู และบุคลากรโรงเรียนฟากท่าวิทยามีส่วนร่วมในกิจกรรมนิยมไทย ฟื้นความเป็นไทยสู่ความเป็นสากล ร้อยละ100 
          ผลลัพธ์ (Outcomes)
                   1.นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการสืบทอดวัฒนธรรมไทย
                   2.โรงเรียนฟากท่าวิทยาเป็นศูนย์กลางของการเผยแพร่ วัฒนธรรม ประเพณีไทย
              3. ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทยสู่ความเป็นสากล
 
ระยะเวลา 19 ก.ย. 2560 - 19 ก.ย. 2561
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนฟากท่าวิทยา
ตัวชี้วัด                                                     
ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีการประเมิน เครื่องมือ
ผลผลิต (Outputs
          1.นักเรียน ครู และบุคลากรโรงเรียนฟากท่าวิทยามีส่วนร่วมในกิจกรรมนิยมไทย ฟื้นความเป็นไทยสู่ความเป็นสากล ร้อยละ 100

 

สอบถาม/สังเกต

แบบสอบถาม
ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีการประเมิน เครื่องมือ
ผลลัพธ์ (Outcomes)
 1.นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการสืบทอดวัฒนธรรมไทย
 2.โรงเรียนฟากท่าวิทยาเป็นศูนย์กลางของการเผยแพร่ วัฒนธรรม ประเพณีไทย
 3. ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทยสู่ความเป็นสากล
สอบถาม/สังเกต แบบสอบถาม
 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ ผลที่คาดว่าจะได้รับ
          9.1  นักเรียนมีความรักและภาคภูมิใจในความเป็นไทย
          9.2  นักเรียนได้ร่วมกันฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทยสู่ความเป็นสากล
          9.3  โรงเรียนเป็นศูนย์กลางของการเผยแพร่ วัฒนธรรม ประเพณีไทย
          9.4  นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการสืบทอดวัฒนธรรมไทย
 
สรุปคะแนนประเมิน 4.00
ไฟล์ประกอบ 47.
ขั้นเตรียมการ ระยะเวลาดำเนินการ
เดือนมิถุนายน – เดือนกรกฎาคม 2561
 ผู้รับผิดชอบโครงการ
          5.1 นายธีรวัฒน์  มูลเงิน และคณะนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู                                                     มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ หน่วยฝึกโรงเรียนฟากท่าวิทยา
          5.2 คณะกรรมการองค์การริหารส่วนนักเรียน


แนวทางการดำเนินงาน
          6.1  ประชุมคณะครูชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ
          6.2  ประสานความร่วมมือจากคณะครู บุคลากรทางการศึกษา  นักเรียน และคณะกรรมการองค์การบริหารส่วนนักเรียนในการดำเนินกิจกรรม
          6.3  แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานรับผิดชอบกิจกรรม
          6.4  จัดกิจกรรมวันนิยมไทย1 ครั้ง
          6.5  สรุปผลการดำเนินงาน และเสนอแนวทางแก้ไขปรับปรุงต่อไป
รายละเอียดกิจกรรม
          แผนปฏิบัติการดำเนินงาน ( ระหว่างเดือนมิถุนายน  –  เดือนกรกฎาคม 2561 )
รายละเอียดกิจกรรมและคำชี้แจงงบประมาณ
กิจกรรมในโครงการ งบประมาณ ระยะเวลาดำเนินการ ผู้รับผิดชอบ
นิยมไทย  ฟื้นความเป็นไทย  สู่ความเป็นสากล
1.ประชุมชี้แจง/เสนอโครงการ
2.แต่งตั้งคณะทำงาน
3.กำหนดปฎิทินการปฏิบัติงาน
4.กิจกรรมนิยมไทย
5.การติดตาม/สรุปประเมินผล/รายงาน
- ประเมินความพึงพอใจกิจกรรม
- ประเมินผลการดำเนินงาน
6.รายงานผลการดำเนินงาน
10,000  มิถุนายน  -  กรกฎาคม 2561 คณะครู/นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพฯ
 
รวม 10,000 (เงินงบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน)
ขั้นดำเนินการ แนวทางการดำเนินงาน
          6.1  ประชุมคณะครูชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ
          6.2  ประสานความร่วมมือจากคณะครู บุคลากรทางการศึกษา  นักเรียน และคณะกรรมการองค์การบริหารส่วนนักเรียนในการดำเนินกิจกรรม
          6.3  แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานรับผิดชอบกิจกรรม
          6.4  จัดกิจกรรมวันนิยมไทย1 ครั้ง
          6.5  สรุปผลการดำเนินงาน และเสนอแนวทางแก้ไขปรับปรุงต่อไป
 
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีการประเมิน เครื่องมือ
ผลผลิต (Outputs
          1.นักเรียน ครู และบุคลากรโรงเรียนฟากท่าวิทยามีส่วนร่วมในกิจกรรมนิยมไทย ฟื้นความเป็นไทยสู่ความเป็นสากล ร้อยละ 100

 

สอบถาม/สังเกต

แบบสอบถาม
ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีการประเมิน เครื่องมือ
ผลลัพธ์ (Outcomes)
 1.นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการสืบทอดวัฒนธรรมไทย
 2.โรงเรียนฟากท่าวิทยาเป็นศูนย์กลางของการเผยแพร่ วัฒนธรรม ประเพณีไทย
 3. ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทยสู่ความเป็นสากล
สอบถาม/สังเกต แบบสอบถาม
 
ขั้นสรุปและรายงาน  นักเรียนมีความรักและภาคภูมิใจในความเป็นไทย
          - นักเรียนได้ร่วมกันฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทยสู่ความเป็นสากล
          - โรงเรียนเป็นศูนย์กลางของการเผยแพร่ วัฒนธรรม ประเพณีไทย
          - นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการสืบทอดวัฒนธรรมไทย
       -  นักเรียน ครู และบุคลากรโรงเรียนฟากท่าวิทยามีส่วนร่วมในกิจกรรมนิยมไทย ฟื้นความเป็นไทยสู่ความเป็นสากล ร้อยละ 100
         -   นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการสืบทอดวัฒนธรรมไทย
         -   โรงเรียนฟากท่าวิทยาเป็นศูนย์กลางของการเผยแพร่ วัฒนธรรม ประเพณีไทย
      -   ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทยสู่ความเป็นสากล
 
งบประมาณ งบประมาณ(เงินงบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน)                     20,000           บาท
         
                                                          รวม        20,000      บาท
 
การบรรลุตัวชี้วัด บรรลุตัวชี้วัดตามที่กำหนดไว้
ความพึงพอใจ ระดีบพึงพอใจมาก
ปัญหาและอุปสรรค การจัดกิจกรรมบางประเภทขาดการสนับสนุนด้านงบประมาณ(ไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน)
 
ข้อเสนอแนะ ควรจัดทุกปีการศึกษา
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0