โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

โครงการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ สู่การน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่การปฏิบัติในโรงเรียนและชุมชน

โรงเรียน : เมืองลีประชาสามัคคี สพม.น่าน

ประเภท : โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 19 ก.ย. 2561 โดย : โรงเรียน เมืองลีประชาสามัคคี จำนวนผู้เข้าชม 1269 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ สู่การน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่การปฏิบัติในโรงเรียนและชุมชน
ประเภท โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปีการศึกษา 2561
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน


     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
     3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา ตามที่กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายในการปรับลดเวลาเรียนเพื่อลดระยะเวลาเรียนภาควิชาการลง โดยไม่กระทบเนื้อหาหลักที่ผู้เรียนควรเรียนรู้ และครูปรับการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมโดยเพิ่มเวลาและ โอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงและทำกิจกรรมสร้างสรรค์ต่าง ๆ นอกห้องเรียนอย่างหลากหลาย เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ทุกด้าน ทุกรูปแบบ ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” สู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ โรงเรียนเมืองลีประชาสามัคคี จึงได้จัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้โดยบูรณาการเข้ากับวิถีวัฒนธรรมของชุมชน ตามหลักของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ตามระดับชั้นเรียน ตามความสนใจของผู้เรียน เช่น การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากวัสดุที่มีในท้องถิ่น  การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ในชีวิตประจำวัน  การบูรณาการอาชีพที่มีสู่การเรียนรู้ตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน การเสริมสร้างศักยภาพในการพึ่งตนเองของท้องถิ่น และ การเป็นกลไกสำคัญเชิงพื้นที่เพื่อการชี้นำการพัฒนาของพื้นที่และพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ บนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ และความหลากหลาย เชิงวัฒนธรรมในระดับท้องถิ่นตามภารกิจที่ซึ่งส่วนหนึ่งจะมีผลโดยตรงต่อการเพิ่มขึ้นต่อรายได้ของท้องถิ่น และเป็นความท้าทายสำคัญสำหรับโรงเรียนในประเด็นนี้ก็จะเป็นการสร้างแนวร่วมที่สำคัญ เชิงพื้นที่ในการหนุนเสริมการพัฒนาของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในท้องถิ่น
 
วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์พัฒนาตนเองตามความสนใจและความถนัดอย่างเต็มตามศักยภาพ และมีความสุขกับการเรียนรู้
2.เพื่อให้บริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ และได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ ตามความสนใจและถนัดของนักเรียนแต่ละบุคคล
3.เพื่อให้การบริหารจัดการเวลาเรียน และจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ได้อย่างเหมาะสม ทั้งด้านวิชาการ ด้านปฏิบัติ นักเรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพตามความสนใจและถนัดของแต่ละบุคคล
4.เพื่อขยายฐานความรู้จากโรงเรียนสู่ชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เป้าหมาย 3. เป้าหมาย
        3.1 เชิงปริมาณ
                       3.1.1 นักเรียนร้อยละ 90 มีภาระงานเพื่อการนำเสนอผลงานอย่างสร้างสรรค์
                       3.1.2 นักเรียนร้อยละ 90 มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ และได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ ตามความสนใจและถนัดของนักเรียน
        3.2  เชิงคุณภาพ
                       3.2.1 นักเรียนสามารถนำองค์ความรู้ไปบูรณาการเพื่อสร้างรายได้ในอนาคต
                       3.2.2 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรม อยู่ในระดับมาก ขึ้นไป
                       3.2.3 นักเรียนตระหนักและห่วงแหนในทรัพยากรของท้องถิ่น

 
ระยะเวลา 1 ส.ค. 2561 - 1 ต.ค. 2561
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนเมืองลีประชาสามัคคี
ตัวชี้วัด 1.นักเรียนมาสมารถนำความรู้ไปใช้ในการเรียนและชีวิตประจำวัน
2.นักเรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจ

3.นักเรียนมีความสุขในการเรียนรู้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ ผลที่คาดว่าจะได้รับ
นักเรียนทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันอย่างคุ้มค่า และสามารถบูรณาการองค์ความรู้สู่การสร้างอาชีพตามหลักความพอเพียงในอนาคตได้

 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0