โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมน้อมนำคุณความดี

โรงเรียน : ชลบุรี (สุขบท) สพม.ชลบุรี ระยอง

ประเภท : โรงเรียนเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา(โรงเรียนสุจริต)

ผลการประเมิน : 5

เผยแพร่เมื่อ : 20 ก.ย. 2561 โดย : กัลญา มิ่งศุภกุล จำนวนผู้เข้าชม 1039 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมน้อมนำคุณความดี
ประเภท โรงเรียนเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา(โรงเรียนสุจริต)
ปีการศึกษา 2560
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน


ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา          สืบเนื่องจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545“การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้  และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต  สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข”
         จากงานวิจัยศึกษาความต้องการจำเป็นและจัดลำดับของการดำเนินการตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนชลบุรี “สุขบท”      พบว่ามาตรฐานที่ 1คุณภาพของผู้เรียน ข้อ.1.2 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ข้อที่ 1.2.1  การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด โดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคม มีความจำเป็นต้องปรับปรุงเร่งด่วนอยู่ในอันดับที่  1   มีสภาพจริงที่ประเมินมีค่าเฉลี่ย 3.67 แต่สภาพที่ควรจะเป็นเท่ากับ 4.61 ตัวบ่งชี้ 1.2.2 ความภาคภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย อยู่ในลำดับที่ 2 มีสภาพจริงที่ประเมินมีค่าเฉลี่ย แต่สภาพที่ควรจะเป็นเท่ากับ 4.69  กลุ่มบริหารงานกิจการนักเรียน  ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นดังกล่าว         จึงจัดทำโครงการส่งเสริมโรงเรียนคุณธรรม  จริยธรรมให้กับนักเรียนทุกระดับชั้นเรียน  เพื่อให้นักเรียนการมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด โดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคม  ตลอดจนความภาคภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย 


 
วัตถุประสงค์ 1.     เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการทำโครงงานคุณธรรม
2.    เพื่อให้นักเรียนตระหนัก  รู้คุณค่า  การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหน
3.     เพื่อให้นักเรียนมีความภาคภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย 
เป้าหมาย 1  ด้านปริมาณ
    1.  นักเรียนร้อยละ 80  สามารถทำโครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ และปฏิบัติตน
2  ด้านคุณภาพ
    1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจสามารถทำโครงงานคุณธรรมตามอัตลักษณ์ของโรงเรียนคุณธรรม จริยธรรมได้
    2. นักเรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด
    3. นักเรียนมีความภาคภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย
ระยะเวลา 1 พ.ค. 2560 - 28 ก.พ. 2561
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนชลบุรี
ตัวชี้วัด ด้านปริมาณ
. - นักเรียนร้อยละ 80  สามารถทำโครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ
ด้านคุณภาพ
1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจสามารถทำโครงงานคุณธรรมตามอัตลักษณ์ของโรงเรียนคุณธรรม จริยธรรมได้
2. นักเรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด
3. นักเรียนมีความภาคภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย
ผลที่คาดว่าจะได้รับ -  นักเรียนที่เข้ารับการอบรม มีความรู้ในการครองตน  ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม  และสามารถปรับตัวให้อยู่ในสังคมของโรงเรียนและชุมชนได้อย่างมีความสุขตามความเหมาะสมและเต็มตามศักยภาพ 
-  นักเรียนที่เข้ารับการอบรม มีความรัก  ความศรัทธา  มีความเชื่อมั่น  และภาคภูมิใจในสถาบัน
ของตนเอง  มีคุณธรรม จริยธรรม  และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต  สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข



 
สรุปคะแนนประเมิน 5
ไฟล์ประกอบ สรุปรายงานโครงการส่งเสริมคุณธรรม
ขั้นเตรียมการ ขั้นเตรีมงาน
1.1ประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน 
1.2 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
ขั้นดำเนินการ ขั้นดำเนินการ (Do)
 2.1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเขียนโครงงานคุณธรรม  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี 1-6
2.2 กิจกรรมประชาพิจารณ์
2.3 กิจกรรมปฏิบัติการโครงงาน 1 ห้องเรียน 1 โครงงานคุณธรรม
2.4 กิจกรรมนิเทศติดตามโครงงาน
2.5 กิจกรรมเปิดบ้านคุณธรรม
2.6 กิจกรรมขยายผลลงสู่ชุมชน     
ขั้นตรวจสอบประเมินผล ขั้นตรวจสอบ (Check)
การติดตาม/ประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน ขั้นรายงาน (Action)
รายงานผลการประเมิน
งบประมาณ 50,000 บาท
การบรรลุตัวชี้วัด ด้านปริมาณ
. - นักเรียนร้อยละ 80  สามารถทำโครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ
ด้านคุณภาพ
1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจสามารถทำโครงงานคุณธรรมตามอัตลักษณ์ของโรงเรียนคุณธรรม จริยธรรมได้
2. นักเรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด
3. นักเรียนมีความภาคภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย
ความพึงพอใจ มากที่สุด
ปัญหาและอุปสรรค ไม่มี
ข้อเสนอแนะ ไม่มี
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0