โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

โครงการศึกษาแหล่งเรียนรู้ภูมิลักษณ์ภาคใต้

โรงเรียน : หาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา สพม.สงขลา สตูล

ประเภท : โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)

ผลการประเมิน : 4.71

เผยแพร่เมื่อ : 19 ก.ย. 2561 โดย :   จำนวนผู้เข้าชม 88 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการศึกษาแหล่งเรียนรู้ภูมิลักษณ์ภาคใต้
ประเภท โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
ปีการศึกษา 2561
มาตรฐาน


     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา ในการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีความจำเป็นที่ครูผู้สอนจะต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นและเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ดังพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๒แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓มาตรา ๒๒ การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ และมาตรา ๒๓ การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา(๓) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง (๔) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกันรวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๒ ในข้อดังกล่าวข้างต้น จึงมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยศึกษาจากแหล่งเรียนรู้จริงที่มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ มีการพัฒนาตนเองและสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใต้ในการเรียนรู้ และการดำเนินชีวิตประจำวัน

 
วัตถุประสงค์          ในการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีความจำเป็นที่ครูผู้สอนจะต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นและเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ดังพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๒แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓มาตรา ๒๒ การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ และมาตรา ๒๓ การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา(๓) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง (๔) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกันรวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๒ ในข้อดังกล่าวข้างต้น จึงมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยศึกษาจากแหล่งเรียนรู้จริงที่มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ มีการพัฒนาตนเองและสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใต้ในการเรียนรู้ และการดำเนินชีวิตประจำวัน

 
เป้าหมาย 3.1  เชิงปริมาณ         (จำนวนที่ได้รับการพัฒนา)
                   นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3ที่เรียนวิชาสังคมศึกษาพื้นฐานและวิชาประวัติศาสตร์จำนวน  40  คน
          3.2 เชิงคุณภาพ
                    1. นักเรียนได้รับความรู้และประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้
                   2. นักเรียนได้นำความรู้จากการศึกษาแหล่งเรียนรู้มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
                   3. นักเรียนมีความภาคภูมิใจในท้องถิ่น

 
ระยะเวลา 16 พ.ย. 2560 - 13 ก.ย. 2561
สถานที่ดำเนินการ - โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา - กลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง
ตัวชี้วัด สนองตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินงานของโรงเรียน
              ตัวชี้วัดที่2ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์และค่านิยมที่ดีตามที่โรงเรียนกำหนด

          ตัวชี้วัดที่3   ผู้เรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย ร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต
             ตัวชี้วัดที่  9  ครูสามารถจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 10.ผลที่คาดว่าจะได้รับ  (เขียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดซึ่งอาจมีมากกว่าวัตถุประสงค์ที่กำหนด)
1. นักเรียนได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น
2. นักเรียนได้เรียนรู้ความสำคัญของลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อการตั้งถิ่นฐาน วิถีชีวิตและการสร้างสมอารยธรรมของประชากรในท้องถิ่นในอดีตและปัจจุบัน
          3.นักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง รวมถึงสามารถใช้ทักษะชีวิตได้ตามศักยภาพของตนเอง
          4.. นักเรียนเกิดความรักและภาคภูมิใจในท้องถิ่น


 
สรุปคะแนนประเมิน 4.71
ไฟล์ประกอบ โครงการ
ขั้นเตรียมการ 1.ประชุมวางแผนโครงการ
2.เขียนโครงการเสนอขออนุมัติ
3.กำหนดหน้าที่รับผิดชอบ
ขั้นดำเนินการ กิจกรรมที่ดำเนินการ
กิจกรรมที่ 1 ศึกษาสำรวจแหล่งเรียนรู้
1.1 หาข้อมูลแหล่งเรียนรู้
2.2 สำรวจสถานที่จริง
กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์และรับสมัครนักเรียน
2.1 กำหนดจำนวนนักเรียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 40 คน
2.2 ประชาสัมพันธ์และรับสมัครนักเรียนระดับชั้น ม. 3 ที่เรียนวิชา สังคมศึกษาพื้นฐาน และวิชาประวัติศาสตร์
กิจกรรมที่ 3 ดำเนินการขออนุญาตโรงเรียน สพม.เขต 16 และผู้ปกครอง ตามขั้นตอน
กิจกรรมที่ 4ศึกษาแห่งเรียนรู้
3.1 ศึกษาแห่ลงเรียนรู้ภูมิลักษณ์ภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ขั้นตรวจสอบประเมินผล 1.นักเรียนทำใบงาน/ชิ้นงาน
2. ประเมินความพึงพอใจ
3. รวบรวมเอกสาร
ขั้นสรุปและรายงาน 1.รวบรวมข้อมูล
2.สรุปเป็นรูปเล่ม
3.รายงานผล ตามขั้นตอน
งบประมาณ งบประมาณที่ใช้                                      
เงินงบอุดหนุน             14,560บาท    
เงินบำรุงการศึกษา             -    บาท
เงินอื่นๆ                         -    บาท
                   รวม               14,560          บาท 
การบรรลุตัวชี้วัด        นักเรียนที่ไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ภูมิลักษณ์ภาคใต้ได้ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะทางภูมิศาสตร์ ปรากฏการณ์พิเศษทางภูมิศาสตร์เฉพาะพื้นที่ ปัจจัยทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น ภาคใต้อย่างน้อยร้อยละ 80
ความพึงพอใจ
ข้อ รายการประเมิน ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) ความหมาย เรียงลำดับ
1 สถานที่จัดกิจกรรมทัศนศึกษามีความเหมาะสม 4.82 0.48 มากที่สุด 1
2 นักเรียนมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ 4.68 0.48 มากที่สุด 4
3 การดูแล เอาใจใส่ของคณะครูผู้ควบคุม 4.79 0.42 มากที่สุด 2
4 อาหาร - ของว่าง มีความเหมาะสม 4.79 050 มากที่สุด 2
5 นักเรียนได้เรียนรู้ประสบการณ์ตรงจากการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ 4.79 0.42 มากที่สุด 2
6 นักเรียนมีความรักและความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเอง 4.79 0.42 มากที่สุด 2
7 นักเรียนได้รับความรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรม 4.64 0.56 มากที่สุด 5
8 ความพึงพอใจในภาพรวมของการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ 4.75 0.52 มากที่สุด 3
  รวม 4.75 0.25 มากที่สุด  

จากตารางที่ 1 พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมกิจกรรมศึกษาแหล่งเรียนรู้ภูมิลักษณ์ภาคใต้จากกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา จำนวน 28 คน ในภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (x)เท่ากับ 4.75มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.25หากพิจารณารายข้อพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ สถานที่จัดกิจกรรมทัศนศึกษามีความเหมาะสมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x)เท่ากับ 4.82 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.48 รองลงมา คือ การดูแล เอาใจใส่ของคณะครูผู้ควบคุมอาหาร - ของว่าง มีความเหมาะสมนักเรียนได้เรียนรู้ประสบการณ์ตรงจากการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้และนักเรียนมีความรักและความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเองนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x)เท่ากับ 4.79 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.42 ตามลำดับ      ส่วนรายการที่นักเรียนมีความพึงพอใจน้อยที่สุด คือ เรื่อง นักเรียนได้รับความรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x)เท่ากับ4.64 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.56สำหรับรายละเอียดอื่น ๆ พิจารณาได้จากตารางที่ 1
          สรุปผลการประเมินความพึงพอใจ ในกิจกรรมศึกษาแหล่งเรียนรู้ภูมิลักษณ์ภาคใต้ จากนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม โดยการสุ่มนักเรียนโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา ทั้งเพศชายและเพศหญิง ซึ่งใช้เกณฑ์ค่าคะแนนที่ได้ดังนี้

                             ช่วงคะแนน                          ระดับความคิดเห็น
                             4.51 – 5.00                        มากที่สุด
                             3.51 – 4.50                        มาก
                             2.51 – 3.50                        ปานกลาง
                             1.51 – 2.50                        น้อย
                             1.00 – 1.50                        น้อยที่สุด


 
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ 1. ได้ไหว้พระทำบุญตามวัดที่สำคัญๆในชุมชน รู้สึกอิ่มบุญอิ่มใจ และได้มิตรภาพกับเพื่อนต่างห้อง
2. ได้ไปในสถานที่ที่ไม่เคยไป ได้รับความรู้โดยตรงโดยเฉพาะประวัติความเป็นมาของหลวงปู่ทวด
3. ได้ศึกษาสภาพภูมิประเทศของเกาะยอ และหาดมหาราช
3.  ได้ขึ้นลิฟท์ที่วัดพะโคะ
4. ควรเพิ่มของว่าง และสถานที่ไปให้หลากหลายมากขึ้น
5. รถบัสควรจะเป็นรถแอร์ เพราะตอนกลางวันอากาศจะร้อน
6. อยากให้จัดทุกๆปี

 
รูปภาพประกอบ












ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0