โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

โครงการศึกษาแหล่งเรียนรู้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น

โรงเรียน : หาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา สพม.สงขลา สตูล

ประเภท : โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)

ผลการประเมิน : 3.89

เผยแพร่เมื่อ : 19 ก.ย. 2561 โดย :   จำนวนผู้เข้าชม 41 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการศึกษาแหล่งเรียนรู้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น
ประเภท โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
ปีการศึกษา 2561
มาตรฐาน


     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา แหล่งวิทยากรในชุมชนนับว่าเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่มีคุณค่ายิ่งต่อการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ดังที่ นฤมล  ตันธสุรเศรษฐ์ (๒๕๔๓ : ๖ – ๗) ได้กล่าวถึงความสำคัญของแหล่งวิทยาการนชุมชน สรุปได้ว่า “แหล่งวิทยาการในชุมชนเป็นแหล่งที่จะให้ความรู้แก่ผู้สนใจศึกษาทั้งในด้านที่เป็นการศึกษาในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน หรือการศึกษาตามอัธยาศัย ทั้งนี้เนื่องจากโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นแหล่งวิทยาการในชุมชนสามารถช่วยเหลือให้ประชาชนไปปฏิสัมพันธ์เพื่อหาความรู้เพิ่มเติมได้ตามอัธยาศัย”
          ครูซึ่งเป็นบุคลากรวิชาชีพที่ทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอน และการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษา จึงต้องจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ทันสมัย สอดคล้องกับ      การเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา วิธีการหนึ่งที่ครูสามารถทำได้ คือ การใช้แหล่งวิทยาการในชุมชน ทั้งแหล่งวิทยาการประเภทบุคคล และองค์กรต่าง ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และจัดกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๘(๒) ระบุไว้ว่า “ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา” มาตรา ๙(๕) ระบุไว้ว่า “ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา”  (๖) ระบุไว้ว่า “การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรวิชาชีพ สถานบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น” มาตรา ๒๔ (๖) การจัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, ๒๕๔๕ : ( ๖ – ๑๕)
          ประวัติศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ในอดีต  โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ (Historical method) มีขั้นตอนในการศึกษา 5 ขั้นตอน คือ การกำหนดหัวเรื่องที่จะศึกษา  การรวบรวมหลักฐาน  การประเมินคุณค่าของหลักฐาน การวิเคราะห์  สังเคราะห์  และจัดหมวดหมู่  การเรียบเรียงและนำเสนอ  คุณค่าของการศึกษาประวัติศาสตร์ คือ รู้รากเหง้าของตนเอง  เพื่อเข้าใจและภูมิใจในชาติตน  เข้าใจปัญหาและสภาพแวดล้อมของสังคมปัจจุบัน  เห็นค่าบกพร่อง  ข้อผิดพลาด  ความสำเร็จและความดีงามของบรรพบุรุษ  รู้ความเป็นมาและวัฒนธรรมของชาติตน  และประเทศอื่นๆ  เป็นบทเรียนที่มีค่าสำหรับแนวทางปฏิบัติ
          การจัดการเรียนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ผ่านมา  เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ใช้วิธีการต่างๆ ที่อยู่เฉพาะในห้องเรียน  และสื่อออนไลน์ต่างๆ โดยนักเรียนไม่ได้ออกไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ที่เป็นของจริง หลักฐานและวิธีการทางประวัติศาสตร์ถือว่าเป็นหัวใจของการศึกษาประวัติศาสตร์  หากนักเรียนได้มีโอกาสศึกษาแหล่งเรียนรู้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น  นอกจากนักเรียนได้ทราบเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตแล้วนักเรียนยังได้ปฏิบัติตามวิธีการทางประวัติศาสตร์อีกด้วย  ดังนั้นจึงได้จัดโครงการศึกษาแหล่งเรียนรู้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น  เพื่อให้เกิดคุณค่าการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง
แหล่งวิทยากรในชุมชนนับว่าเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่มีคุณค่ายิ่งต่อการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ดังที่ นฤมล  ตันธสุรเศรษฐ์ (๒๕๔๓ : ๖ – ๗) ได้กล่าวถึงความสำคัญของแหล่งวิทยาการนชุมชน สรุปได้ว่า “แหล่งวิทยาการในชุมชนเป็นแหล่งที่จะให้ความรู้แก่ผู้สนใจศึกษาทั้งในด้านที่เป็นการศึกษาในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน หรือการศึกษาตามอัธยาศัย ทั้งนี้เนื่องจากโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นแหล่งวิทยาการในชุมชนสามารถช่วยเหลือให้ประชาชนไปปฏิสัมพันธ์เพื่อหาความรู้เพิ่มเติมได้ตามอัธยาศัย”
          ครูซึ่งเป็นบุคลากรวิชาชีพที่ทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอน และการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษา จึงต้องจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ทันสมัย สอดคล้องกับ      การเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา วิธีการหนึ่งที่ครูสามารถทำได้ คือ การใช้แหล่งวิทยาการในชุมชน ทั้งแหล่งวิทยาการประเภทบุคคล และองค์กรต่าง ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และจัดกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๘(๒) ระบุไว้ว่า “ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา” มาตรา ๙(๕) ระบุไว้ว่า “ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา”  (๖) ระบุไว้ว่า “การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรวิชาชีพ สถานบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น” มาตรา ๒๔ (๖) การจัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, ๒๕๔๕ : ( ๖ – ๑๕)
          ประวัติศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ในอดีต  โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ (Historical method) มีขั้นตอนในการศึกษา 5 ขั้นตอน คือ การกำหนดหัวเรื่องที่จะศึกษา  การรวบรวมหลักฐาน  การประเมินคุณค่าของหลักฐาน การวิเคราะห์  สังเคราะห์  และจัดหมวดหมู่  การเรียบเรียงและนำเสนอ  คุณค่าของการศึกษาประวัติศาสตร์ คือ รู้รากเหง้าของตนเอง  เพื่อเข้าใจและภูมิใจในชาติตน  เข้าใจปัญหาและสภาพแวดล้อมของสังคมปัจจุบัน  เห็นค่าบกพร่อง  ข้อผิดพลาด  ความสำเร็จและความดีงามของบรรพบุรุษ  รู้ความเป็นมาและวัฒนธรรมของชาติตน  และประเทศอื่นๆ  เป็นบทเรียนที่มีค่าสำหรับแนวทางปฏิบัติ
          การจัดการเรียนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ผ่านมา  เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ใช้วิธีการต่างๆ ที่อยู่เฉพาะในห้องเรียน  และสื่อออนไลน์ต่างๆ โดยนักเรียนไม่ได้ออกไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ที่เป็นของจริง หลักฐานและวิธีการทางประวัติศาสตร์ถือว่าเป็นหัวใจของการศึกษาประวัติศาสตร์  หากนักเรียนได้มีโอกาสศึกษาแหล่งเรียนรู้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น  นอกจากนักเรียนได้ทราบเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตแล้วนักเรียนยังได้ปฏิบัติตามวิธีการทางประวัติศาสตร์อีกด้วย  ดังนั้นจึงได้จัดโครงการศึกษาแหล่งเรียนรู้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น  เพื่อให้เกิดคุณค่าการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง

 
วัตถุประสงค์       1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น
      
2. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ความสำคัญของท้องถิ่น รู้จักวิถีชีวิต รู้ถึงคุณค่าของประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น  ความเป็นมาและวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น อันจะสร้างความภูมิใจและจิตสำนึกในการรักษาวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น โบราณสถานและโบรณวัตถุ สืบไป
เป้าหมาย เชิงปริมาณ (จำนวนที่ได้รับการพัฒนา)
นักเรียนที่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1-6/4  จำนวน 187 คน
เชิงคุณภาพ
นักเรียนร้อยละ 70 มีความรู้เกี่ยวกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นในระดับคุณภาพดี และนักเรียนร้อยละ 100  มีความภาคภูมิใจในฐานะที่เป็นชาวจังหวัดสงขลา

 
ระยะเวลา 1 พ.ค. 2561 - 28 ก.ย. 2561
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา และแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในจังหวัดสงขลา
ตัวชี้วัด 1.ร้อยละ 90 ของผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้มีจิตสำนึกในความเป็นไทยและศักยภาพความเป็นพลโลก
2. ร้อยละ 95 ของผู้เรียนมีความสำนึกในความเป็นชาติไทยและวิถีตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3. ร้อยละ 90 ของผู้เรียนที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน


 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ  1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น
 2. นักเรียนในท้องถิ่นได้เรียนรู้ความสำคัญ รู้จักวิถีชีวิต รู้ถึงคุณค่าของประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นความเป็นมาและวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น อันจะสร้างความภูมิใจและจิตสำนึกในการรักษาวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น โบราณสถานและโบรณวัตถุ สืบไป

 
สรุปคะแนนประเมิน 3.89
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ 1.ประชุมวางแผนโครงการ
2.เขียนโครงการเสนอขออนุมัติ
3.กำหนดหน้าที่รับผิดชอบ
ขั้นดำเนินการ ขั้นที่ 1 ติดต่อสถานที่ศึกษาแหล่งเรียนรู้หลักฐานประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นจังหวัดสงขลาช่น แหล่งโบราณคดีหัวเขาแดง,สุสานสุลต่าน  ตวนกู  สุลัยมาน ชาร์,อนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์,พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ,วัดมัชฌิมาวาส ,แหล่งศิลปกรรมชิโนโปรตุกีส
ขั้นที่ 2 นำนักเรียนไปศึกษาแหล่งเรียนรู้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
  1. ประเมินผลการจัดกิจกรรมโดยใช้แบบทดสอบและแบบประเมินความพึงพอใจ
  2. สังเกตการณ์เข้าร่วมกิจกรรม
ขั้นสรุปและรายงาน
  1. สรุปผลการประเมินกิจกรรม
  1. รายงานผลการจัดกิจกรรรม
งบประมาณ 67,420  บาท
การบรรลุตัวชี้วัด 1.ร้อยละ 90 ของผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้มีจิตสำนึกในความเป็นไทยและศักยภาพความเป็นพลโลก
2. ร้อยละ 95 ของผู้เรียนมีความสำนึกในความเป็นชาติไทยและวิถีตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3. ร้อยละ 90 ของผู้เรียนที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 
ความพึงพอใจ ความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก
ปัญหาและอุปสรรค กิจกรรมหนึ่งในโครงการศึกษาแหล่งเรียนรู้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นคือการเดินขึ้นเขาแดงเพื่อศึกษาแหล่งเรียนรู้เจดีย์องค์ขาวและเจดีย์องค์ดำ ซึ่งระยะทางค่อนข้างไกลและลักษณะทางเดินข้อนข้างชันจึงทำให้เป็นอุปสรรคต่อนักเรียนที่มีรูปร่างอ้วนและคุณครูที่สูงอายุ 
 
ข้อเสนอแนะ       การจัดกิจกรรมศึกษาแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในโอกาสต่อไป  ควรจัดกลุ่มนักเรียนให้มีปริมาณต่อครั้งไม่เกิน 100 คน และนักเรียนทั้งระดับชั้นควรได้ร่วมกิจกรรมตามโครงการนี้ 
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0