โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

โครงการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียง

โรงเรียน : แก่นนครวิทยาลัย 2 สพม.ขอนแก่น

ประเภท : โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการประเมิน : 4

เผยแพร่เมื่อ : 28 ก.ย. 2561 โดย :   จำนวนผู้เข้าชม 26 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียง
ประเภท โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปีการศึกษา 2561
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา ด้วยโรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย 2 ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการ
ในการจัดการเรียนการสอน การบริหารจัดการ การพัฒนาผู้เรียน การพัฒนาครู และได้รับเกียรติบัตรเป็นสถานศึกษาพอเพียงตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 และได้กำหนดเป็นวิสัยทัศน์ของโรงเรียน ว่า“โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย 2 เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน มีคุณธรรมนำความรู้ ควบคู่กับการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียนและมาตรฐานสากล บนพื้นฐานของความเป็นไทย ภายในปี 2561”
เพื่อให้การขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับ
นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 ในการนำศาสตร์พระราชามาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์ 1.เพื่อขับเคลื่อนการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน การบริหารงาน และการดำเนินชีวิตอยู่อย่างพอเพียง
2.เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและส่งเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง
3.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนที่มีต่อการจัดกิจกรรมตามโครงการ
 
เป้าหมาย 3. เป้าหมาย
3.1 เชิงปริมาณ
3.1.1 โรงเรียนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารจัดการทั้ง 4 ฝ่าย
3.1.2 ครูทุกคนและนักเรียนแกนนำเข้าร่วมอบรมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง/ศาสตร์พระราชา
3.1.3 นักเรียนร้อยละ 80 มีคุณลักษณะตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3.1.4 ครูร้อยละ 100 นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
3.1.5 ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ร้อยละ 80 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมตามโครงการ

3.2 เชิงคุณภาพ
3.2.1 โรงเรียนนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารจัดการทั้ง 4 ฝ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ
3.2.2 ครูและนักเรียนแกนนำมีความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง/ศาสตร์พระราชา
3.2.3 นักเรียนมีคุณลักษณะตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3.2.4 ครูนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.2.5 ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมตามโครงการในระดับ มาก
    
 
ระยะเวลา 1 เม.ย. 2561 - 31 มี.ค. 2562
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย2
ตัวชี้วัด 1. โรงเรียนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารจัดการทั้ง 4 ฝ่าย
2. ครูทุกคนและนักเรียนแกนนำเข้าร่วมอบรมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง/ศาสตร์พระราชา
3. นักเรียนร้อยละ 80 มีคุณลักษณะตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4. ครูร้อยละ 100 นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
5. ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ร้อยละ 80 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมตามโครงการ
 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ครูและนักเรียนประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวันได้
  2. ครูและนักเรียนมีภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง
  3. โรงเรียนขับเคลื่อนการดำเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เข้มแข็ง ต่อเนื่อง และยั่งยืน
สรุปคะแนนประเมิน 4
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ ขั้นเตรียมการ/วางแผน (Plan)
1.1เสนอโครงการ/กิจกรรม
1.2ขออนุมัติดำเนินกิจกรรม
1.3จัดทำร่างคำสั่งและปฏิทินการดำเนินงาน
1.4ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน
ขั้นดำเนินการ ขั้นดำเนินการ (Do)
2.1 บริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้หลัก 4 M
2.2 กิจกรรม MOU ครู นักเรียน ชุมชน และเครือข่าย
2.3 อบรมความรู้ครูและนักเรียนแกนนำ
2.4 จัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.5 ห้องเรียนเศรษฐกิจพอเพียง
ขั้นตรวจสอบประเมินผล ขั้นตรวจสอบ/ประเมินผล (Check)
3.1นิเทศ ติดตาม การดำเนินงาน
3.2ประเมินโครงการ ประเมินความพึงพอใจ
3.3วิเคราะห์ข้อมูล 
ขั้นสรุปและรายงาน สรุป อภิปรายผล และจัดทำเอกสารรายงาน
งบประมาณ 20,000 บาท
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค -
ข้อเสนอแนะ -
รูปภาพประกอบ










ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0