โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากโครงการในพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

โรงเรียน : แม่ริมวิทยาคม สพม.เชียงใหม่

ประเภท : โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 12 ต.ค. 2561 โดย : นางศิราภรณ์ จันทรสิริกุล จำนวนผู้เข้าชม 129 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากโครงการในพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ประเภท โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
ปีการศึกษา 2561
มาตรฐาน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน


ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา               โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจาก พระราชดำริฯ ได้ดำเนินงานสนองพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี  ซึ่งได้พระราชทานพระราชดำริ  และแนวปฏิบัติจัดตั้งงาน  "สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน"  เพื่อเป็นสื่อในการสร้าง จิตสำนึกด้านอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยให้เยาวชนนั้น ได้ใกล้ชิดกับพืชพรรณไม้ เห็นคุณค่า ประโยชน์ ความ สวยงาม อันจะก่อให้เกิดความคิดที่จะอนุรักษ์พืชพรรณ ต่อไป ซึ่งสามารถดำเนินการสวนพฤกษศาสตร์ในพื้นที่ของโรงเรียน เป็นแหล่งเรียนรู้รวบรวมพันธุ์ไม้ที่มีชีวิต มีแหล่งข้อมูลพรรณไม้ มีการศึกษาต่อเนื่อง มีการเก็บตัวอย่างพรรณไม้แห้ง พรรณไม้ดอง มีการรวบรวมพันธุ์ไม้ท้องถิ่นเข้ามาปลูกรวบรวมไว้ในโรงเรียน และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการบันทึกรายงานและข้อมูล รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ มีมุมสำหรับศึกษาค้นคว้าและมีการนำไปใช้ประโยชน์เป็นสื่อการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ ในลักษณะบูรณาการวิทยาการ และบรูณาการชีวิต  ให้สอดคล้อง กับสภาพท้องถิ่นโดยไม่ฝืนธรรมชาติ         
              ดังนั้นการดำเนินงาน สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ด้วย ศรัทธา ศึกษาเข้าใจในพระราชดำริ เข้าใจในปรัชญา สามารถสร้างนักอนุรักษ์ สร้างแนวคิดในการนำสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเป็นฐานการเรียนรู้ สร้างแนวทาง และจัดทำกระบวนการหรือวิธีการ โดยประโยชน์จากการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนนั้น ได้ทั้งองค์ความรู้จากสหวิทยาการ   มีทักษะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ การเกษตร  ภาษา ศิลปะ สังคม   การจัดการ และเกิดคุณธรรม ในเรื่องความรับผิดชอบ ความซื่อตรง ความอดทน สามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีเมตตา กรุณา มุทิตา ฯลฯ   ฉะนั้นการดำเนินศึกษาเรียนรู้จากสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน จะมีข้อมูลที่ได้รับจะเป็นฐานด้านทรัพยากรกายภาพและชีวภาพ เกิดเป็นตำราในแต่ละเรื่อง เป็นฐานความรู้ เกิดความมั่นคงทางวิทยาการ ของประเทศไทย เกิดเป็นผลทางเศรษฐกิจ เป็นฐานของเศรษฐกิจพอเพียงบนความเบิกบาน บนความหลายหลาก สรรพสิ่ง สรรพการกระทำ ล้วนสมดุล พืชพรรณ สรรพสัตว์ สรรพสิ่ง ได้รับความการุณย์ บนฐานแห่งสรรพชีวิต  การดำเนินงาน สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ด้วย ศรัทธา ศึกษาเข้าใจในพระราชดำริ เข้าใจในปรัชญา การสร้างนักอนุรักษ์ บรรยากาศสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สร้างแนวคิดในการนำสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเป็นฐานการเรียนรู้ของประเทศไทย เกิดเป็นผลทางเศรษฐกิจ เป็นฐานของเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป

 
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักเรียนและบุคลากรได้รู้จักพรรณไม้ที่มีอยู่ในโรงเรียนและร่วมมือกันดูแลรักษา
2. เพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูลพันธุ์ไม้ในโรงเรียน และท้องถิ่นให้เป็นฐานความหลากหลายทางชีวภาพที่ต้องอนุรักษ์ไว้
3. เพื่อใช้เป็นสื่อบูรณาการการเรียนการสอนแบบองค์รวม ส่งผลให้นักเรียนเกิดความตระหนักรักในพืชพรรณไม้อันเป็นที่มาของความสมดุลในธรรมชาติ
   
 
เป้าหมาย 3.1 เชิงปริมาณ
             1. นักเรียนและบุคลากรร้อยละ 80 ได้รู้จักพรรณไม้ที่มีอยู่ในโรงเรียนและร่วมมือกันดูแลรักษา
             2. นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนแม่ริมวิทยาคมทุกคนมีส่วนร่วมในการรวบรวมข้อมูลพันธุ์ไม้ในโรงเรียน และท้องถิ่นให้เป็นฐานความหลากหลายทางชีวภาพที่ต้องอนุรักษ์ไว้
3. นักเรียนและบุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดชื่อรหัสพรรณไม้และจัดทำป้ายชั่วคราวได้อย่างน้อยร้อยละ 70 ที่สามารถใช้เป็นสื่อบูรณาการการเรียนการสอนแบบองค์รวม
3.2 เชิงคุณภาพ
1. นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนแม่ริมวิทยาคมทุกคนได้ดำเนินกิจกรรมตามพื้นที่ที่ได้รับมอบหมายและมีการกำหนดชื่อรหัสพรรณไม้และจัดทำป้ายชั่วคราวได้อย่างถูกต้องและมีทะเบียนพรรณไม้เป็นของโรงเรียน ที่ระดับคุณภาพที่ดีมาก ( ระดับ 4 )
2. นักเรียนมีทักษะกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบภายใต้จิตสำนึกที่เป็นสาธารณะ และมีความตระหนักรักพืชพรรณไม้อันเป็นที่มาของความสมดุลในธรรมชาติอย่างยั่งยืน
 
ระยะเวลา 11 ต.ค. 2561 - 11 ต.ค. 2561
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนแม่ริมวิทยาคม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ตัวชี้วัด 1.คณะครูทุกคนถ่ายทอดควมรู้สู่การปฏิบัติจริงให้แก่นักเรียนได้ถูกต้อง

2. มีการบันทึกข้อมูลทางพฤกษศาสตร์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
3. มีนักเรียนแกนนำ นักพฤกษศาสตร์
รุ่นเยาว์เป็นผู้ช่วยดำเนินกิจกรรม

 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. นักเรียนแต่ละคนมีต้นไม้ประจำตัวของตนเองที่ต้องดูแลรับผิดชอบ
2. นักเรียนมีทักษะกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ
 3. นักเรียนมีจิตสำนึกและตระหนักรักษ์ในพืชพรรณไม้และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น
 4. โรงเรียนมีความก้าวหน้าในการจัดทะเบียนพรรณไม้ในเบื้องต้น

 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ แบบรายงานแผนสวนพฤกษ์61ให้จังหวัด.docx
รายงานตามแผนปฏิบัติการ2561ภาค
ขั้นเตรียมการ กิจกรรมที่ ..1. กิจกรรมพา (  PAR )
                  ตระหนักรู้สู่สวนพฤกษ์
ขั้นตอนการดำเนินการ
1. แต่งตั้งคณะทำงานในโครงการ
2.ประชุมชี้แจงคณะบริหารโครงการ
3.วางแผนการอบรมคณะครูและ
    นักเรียนและผู้เกี่ยวข้อง
4. จัดอบรมนักเรียนตามฐานการเรียนรู้
   บูรณาการ “ ศาสตร์พระราชา  สู่การ
   พัฒนาที่ยั่งยืน
5. ร่างกำหนดการอบรมและศึกษาดูงาน
6. วางแผนการและกำหนดโซนพื้นที่
   รับผิดชอบเป็นระดับชั้น
7. จัดทำสมุดบันทึกกิจกรรม
8.  จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องแผนการ
    จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสวน-
    พฤกษศาสตร์และทบทวนขั้นตอนการ
    ดำเนินโครงการแก่คณะครูและ
    บุคลากรที่เกี่ยวข้อง
9. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการนักเรียนแกนนำ
   นักพฤกษศาสตร์รุ่นเยาว์
10. ศึกษาดูงานบริหารจัดการสวน
    พฤกษศาสตร์ในโรงเรียนพี่เลี้ยง
11. ตรวจสอบการปฏิบัติงานของนักเรียน
    แกนนำ นักพฤกษศาสตร์รุ่นเยาว์
ขั้นดำเนินการ กิจกรรมที่ 2  รู้ลักษณ์   รู้จัก   รู้ชื่อ
( องค์ที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ )
1.ประชุมคณะทำงานแบ่งโซนพื้นที่
   รับผิดชอบตามระดับชั้น
2. แต่ละระดับชั้นจัดเตรียมสมุดบันทึก
   และวัสดุอุปกรณ์การสำรวจพืชพรรณ
3. ประชุมชี้แจงและมอบหมายงานให้แก่
   นักเรียนในระดับชั้น ( งานกลุ่ม )
4. นักเรียนและครูที่ปรึกษาร่วมกัน
    สำรวจพืชพรรณไม้ในโซนพื้นที่ที่
    รับผิดชอบและบันทึกข้อมูลลักษณะ
    วิสัยของพืชในรูปแบบภาพวาด 
    ภาพถ่าย  และบันทึกข้อมูลลงในสมุด
    ให้ครบถ้วน พร้อมดูแลรักษาพืชพรรณ
    ไม้ประจำกลุ่ม
5. สืบค้นข้อมูลพืชพรรณไม้จากเครือข่าย
    อินเทอร์เน็ตและวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ
6.  ครูที่ปรึกษาตรวจสอบความถูกต้อง
7.  จัดทำป้ายชื่อชั่วคราว ติดประจำ
     ต้นไม้ (  ก  ๗- ๐๐๓ )
8.  กำหนดรหัสพืชพรรณไม้เรียงตามโซน
    พื้นที่และเรียงตามห้อง
9.  ทำตัวอย่างพรรณไม้และป้ายชื่อ
     พรรณไม้ ( ก ๗-๐๐๕ )
10. ตรวจสอบความถูกต้องตามหลัก
     วิชาการ
กิจกรรมที่ 3   เห็นคุณ   รู้ค่า ของพืช
( องค์ที่ 2 การรวบรวมพรรณไม้เข้าปลูกในโรงเรียน )
1.วิเคราะห์สภาพพื้นที่กับความเป็นอยู่
  ของพืช  อัตราการอยู่รอด  การบำรุง
  ดูแลรักษา
2.  พิจารณาคุณค่าของพืชพรรณไม้ใน
    พื้นที่  สืบค้นจากแหล่งเรียนรู้
3. กำหนดการใช้ประโยชน์ของพื้นที่
4. กำหนดชนิดพรรณไม้ที่จะนำเข้ามา
   ปลูก  คนละ  1 ต้นและศึกษาธรรมชาติ
   และคุณค่าของพันธุ์ไม้ที่ปลูก
5. ทำผังภูมิทัศน์
กิจกรรมที่  4  รู้คิด  เห็นต่าง หลากหลาย
( องค์ที่3   การศึกษาข้อมูลต่าง ๆ )
1. ศึกษาปัจจัยที่ทำให้พรรณไม้ในสวน
   โรงเรียนมีชีวิตรอดคงอยู่ได้
2. สืบค้นข้อมูลทางพฤกษศาสตร์จากข้อมูล
   พื้นบ้าน ข้อมูลเชิงวิชาการและสรุป
   ลักษณะข้อมูลพรรณไม้และการใช้
   ประโยชน์
3. ศึกษาพรรณไม้ที่สนใจ ( พืชศึกษา )
   เกี่ยวกับ ลักษณะภายนอก  - ภายในของ
   พืชแต่ละส่วนโดยละเอียด เรียนรู้แต่ละ
   ส่วนขององค์ประกอบพร้อมภาพวาด
4. นำข้อมูลที่เรียนรู้มาเปรียบเทียบความ
   แตกต่างในแต่ละส่วนแต่ละชนิดและชนิด
   เดียวกัน
5. ศึกษาฐานข้อมูลความหลากหลายทาง
   ชีวภาพในท้องถิ่นของพืชศึกษาที่เอื้อต่อ
   การเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์พันธุ์พืชกรรม
กิจกรรมที่ 5  รู้สาระ  รู้สรุป   รู้สื่อ
( องค์ที่ 4  การรายงานผลการเรียนรู้ )
1. รวบรวมผลการเรียนรู้
2. คัดแยกสาระสำคัญและจัดหมวดหมู่
3. วิเคราะห์เรียบเรียงสาระ
4. จัดระเบียบข้อมูลแต่ละด้านและ
   จัดลำดับสาระหรือกลุ่มสาระ
5. สรุปและเรียบเรียง
6. จัดรูปแบบการเขียนรายงานการเรียนรู้
    แบบบูรณาการหรือแบบวิชาการ
7. กำหนดรูปแบบการเขียนรายงาน
8. ปฏิบัติการเขียนรายงานผลการเรียนรู้
   ในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือเล่มเล็ก 
   แผ่นพับ  การบรรยาย   การเล่านิทาน
-   อภิปรายสัมมนา  แสดงผลงานด้าน
    ศิลปะ เช่น  ศิลปะพื้นบ้านที่เกี่ยวข้อง,  
    ละคร   ร้องเพลง  วาดภาพทางสวน  
    พฤกษศาสตร์  จัดนิทรรศการ
9.  ประเมินผล และสรุปรายงาน
10. ปรับปรุงและพัฒนา
-   อภิปรายสัมมนา  แสดงผลงานด้าน
    ศิลปะ เช่น  ศิลปะพื้นบ้านที่เกี่ยวข้อง,  
    ละคร   ร้องเพลง  วาดภาพทางสวน  
    พฤกษศาสตร์  จัดนิทรรศการ
9.  ประเมินผล และสรุปรายงาน
10. ปรับปรุงและพัฒนา
กิจกรรมที่ 6 จากหลักสูตรสู่แผนการสอน )
( องค์ที่ 5    การนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา )
1. วิเคราะห์หลักสูตรสู่แผนการจัดกิจกรรม
    การเรียนรู้แบบบูรณาการทุกวิชาให้
   สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
   ขั้นพื้นฐานภายใต้หลักปรัชญาของ
    เศรษฐกิจพอเพียง และนำองค์ความรู้
    ไปสู่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา
2. จัดเก็บผลการเรียนรู้และรายงานผล
   เผยแพร่แก่สาธารณชนทั้งภาค
   ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
3. ฝึกหัดและกำกับการนำเสนอผลงาน
   ของนักเรียนให้ถูกต้องตรงประเด็นและ
   ชัดเจนในด้านการใช้ภาษาและให้
   คำแนะนำแก่นักเรียนพิธีกรทั้งด้าน
   ภาษาและบุคลิกภาพ
4.ประเมินผลการดำเนินงานและวิเคราะห์
   จุดเด่นจุดด้อยและวิธีแก้ปัญหา
5. จัดทำเว๊บไซด์และการนำเสนอข้อมูล 
   เพื่อการเผยแพร่ผลการดำเนินงานสวน
   พฤกษศาสตร์โรงเรียน
6. รายงานผลการดำเนินงานเพื่อการ
   ปรับปรุงและพัฒนา
 
ขั้นตรวจสอบประเมินผล 1. สังเกตการปฏิบัติงานลงพื้นที่ของนักเรียน
2. สอบถามและสัมภาษณ์นักเรียน  และครู ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ที่รับผิดชอบ
3. ตรวจสอบผลงานตามแบบบันทึกพรรณไม้ ( ก.7 - 003  )
4. ประเมินผลการดำเนินการของนักเรียนแต่ละห้องตามโซนพื้นที่
ขั้นสรุปและรายงาน 1. สรุปผลการดำเนินงาน 2 ระยะ คือ ครึ่งภาคเรียนแรกและครึ่งภาคเรียนหลัง เสนอต่อผู้อำนวยการโรงเรียน
2. สรุปผลการดำเนินงานเสนอต่อทางอำเภอและจังหวัดตามลำดับ
งบประมาณ งบประมาณ            83,910   บาท
 
การบรรลุตัวชี้วัด นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนแม่ริมวิทยาคมทุกคนมีส่วนร่วมในการรวบรวม
              ข้อมูลพันธุ์ไม้ในโรงเรียน ในท้องถิ่นและมีพรรณไม้เพิ่มขึ้นอย่างน้อย  10  สายพันธุ์ให้เป็นฐาน
              ความหลากหลายทางชีวภาพที่ต้องอนุรักษ์ไว้
3. นักเรียนและบุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดชื่อรหัสพรรณไม้และจัดทำป้ายชั่วคราวได้
    อย่างน้อยร้อยละ 70 ที่สามารถใช้เป็นสื่อบูรณาการการเรียนการสอนแบบองค์รวม
4.  มีกิจกรรมสร้างจิตสำนึกรักษ์พืชพรรณไม้ในสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนอย่างน้อย  2  กิจกรรมขึ้นไป
 
ความพึงพอใจ ความพึงพอใจของการขับเคลื่อนงานในโคึรงการยังอยู่ในระดับปรับปรุง
ปัญหาและอุปสรรค 1. คณะครูส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจวิธีการและรายละเอียดปลีกย่อยในแต่ละลำดับการเรียนรู้
2. ครูและนักเรียนไม่รู้จักพรรณไม้
3. ไม่มีเวลาว่างที่จะไปศึกษาดูงาน
ข้อเสนอแนะ 1. จัดอบรบครูให้เข้าใจในการดำเนินกิจกรรมและขับเคลื่อนไปให้ถึงจุดหมาย
2. อบรมนักเรียนแกนนำในแต่ละห้องเรียนเพื่อเป็นผู้ช่วยครู
3. ควรให้องค์กรท้องถิ่นและครูภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุน
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0