โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนกลุ่มสาระสังศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม

โรงเรียน : สบปราบพิทยาคม สพม.ลำปาง ลำพูน

ประเภท : โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 29 ต.ค. 2562 โดย : พัชราพร  วรรณารักษ์ จำนวนผู้เข้าชม 177 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนกลุ่มสาระสังศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
ประเภท โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
ปีการศึกษา 2562
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
     2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
     2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
     2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
     3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก
     3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
     3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ บัญญัติไว้ว่าบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่นการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ(มาตรา ๔๙)และบุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการการศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน(มาตรา ๕๐)
          รวมทั้งกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  ๒๕๕๑กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  ได้นำหลักสูตรของกลุ่มสาระไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน  ซึ่งครูผู้สอนต้องมีการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน  สื่อการสอน  การจัดทำเอกสารวิชาการ  ระบบการวัดผลประเมินผลการเรียนและพัฒนาศักยภาพของนักเรียน  เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายปฏิรูปการศึกษา ที่มุ่งเน้นวิธีการสอนโดยยึดหลักผู้เรียนเป็นสำคัญ  เพื่อให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และประยุกต์ใช้ความรู้ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน  โดยส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ที่สนองตอบต่อผู้เรียน  ตามความเหมาะสมในกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม แต่ปัจจุบันนี้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนสบปราบพิทยาคม ยังขาดศักยภาพ และขาดความคล่องตัวในการจัดการเรียนการสอน ทั้งทางด้านสื่อ วัสดุอุปกรณ์ การพัฒนาเทคนิคการจัดการเรียนรู้ กิจกรรมเสริมการเรียนการสอน การเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นพลเมืองดีให้แก่ผู้เรียน คุณธรรมจริยธรรม การดำเนินชีวิตในสังคม ตลอดจน                ทิศทางการพัฒนาคุณภาพมัธยมศึกษายุคใหม่ของสำนักบริหารการมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. ๒๕๕๓-๒๕๖๑  ยุทธศาสตร์ข้อที่ ๑ ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๑ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐
          จากเหตุผลดังกล่าว กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนสบปราบพิทยาคม จึงเห็นความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของนักเรียน  ครูผู้สอนและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนรู้ การจัดบรรยากาศการเรียนการสอน การพัฒนา  สื่อ วัสดุอุปกรณ์ ฯลฯ ให้มีประสิทธิภาพและเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนมากยิ่งขึ้นโดยการจัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑ขึ้น
 
วัตถุประสงค์ ๗.๑เพื่อให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่หลายหลายนอกห้องเรียนและสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนสังคมศึกษา และส่งเสริมทักษะความสามารถของผู้เรียนในการแข่งขันทักษะทางวิชาการ
          ๗.๒เพื่อจัดหาวัสดุ  อุปกรณ์  สื่อการเรียนการสอนให้เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม
๗.๓  เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยของนักเรียนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา  และวัฒนธรรม ให้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐

 
เป้าหมาย .เชิงปริมาณ
               ๘.๑.๑  นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่มสาระสังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรมแต่ละกิจกรรมไม่น้อยกว่า  ร้อยละ  ๑๐๐
               ๘.๑.๒  นักเรียนมีความพึงพอใจในกิจกรรมที่เข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา   ศาสนา  และวัฒนธรรม  อยู่ในระดับมากขึ้นไป  ไม่น้อยกว่าร้อยละ  ๙๐
               ๘.๑.๓  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๕
.เชิงคุณภาพ
               ..มีวัสดุ  อุปกรณ์  สื่อการเรียนการสอนที่จำเป็นเพียงพอต่อการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ
               ..นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรายวิชาในกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
 
ระยะเวลา 1 ต.ค. 2561 - 30 ก.ย. 2562
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนสบปราบพิทยาคม
ตัวชี้วัด เชิงปริมาณ
นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 100
นักเรียนมีความพึงพอใจในกิจกรรมระดับมากขึ้นไปไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
- นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 65
เชิงคุณภาพ
มีสื่อวัสดุ อุปกรณ์ ในการจัดการเรียนรู้อย่างเพียงพอ
 นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรายวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
ผลที่คาดว่าจะได้รับ  มีสื่อวัสดุ อุปกรณ์ ในการจัดการเรียนรู้อย่างเพียงพอ
 นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรายวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ .  ประชุมครูในกลุ่มสาระสังคม  ปรึกษาหารือ  วางแผนเกี่ยวกับการจัดทำโครงการ 
.  เสนอโครงการขออนุมัติงบประมาณ
๓.  นิเทศภายในกลุ่มสาระฯ
ขั้นดำเนินการ ๔.  ดำเนินการจัดกิจกรรมตามโครงการ/ ติดตามประเมินผล  รายงานผลการจัดกิจกรรม ดังนี้
 
-  กิจกรรมคณะครูนำนักเรียนไปราชการ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ เพื่อส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของนักเรียน
 
-  กิจกรรมการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้
(วัสดุอุปกรณ์ต่างๆสื่อ หนังสือ คู่มือ ICT)
 
-  กิจกรรมส่งเสริมวิถีประชาธิปไตย(วันรัฐธรรมนูญ)
 
-  กิจกรรม “นิทรรศการมีชีวิต เรียงร้อยดวงจิต คู่คิดบนวิถีประชา” แสดงผลงานนักเรียน
 
-  กิจกรรมค่ายอบรมคุณธรรมจริยธรรม
ขั้นตรวจสอบประเมินผล ตรวจสอบประเมินผลการดำเนินงาน
ขั้นสรุปและรายงาน สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน
งบประมาณ 25,000
การบรรลุตัวชี้วัด เชิงปริมาณ
นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 100
นักเรียนมีความพึงพอใจในกิจกรรมระดับมากขึ้นไปไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
- นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 65
เชิงคุณภาพ
มีสื่อวัสดุ อุปกรณ์ ในการจัดการเรียนรู้อย่างเพียงพอ
 นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรายวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0