โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

โครงการ เศรษฐกิจพอเพียง

โรงเรียน : รัฐราษฎร์อนุสรณ์ สพม.นครสวรรค์

ประเภท : โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการประเมิน : 4.75

เผยแพร่เมื่อ : 31 พ.ค. 2562 โดย :   จำนวนผู้เข้าชม 62 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการ เศรษฐกิจพอเพียง
ประเภท โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปีการศึกษา 2561
มาตรฐาน


     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
     3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก
     3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
     3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา          สถานศึกษามีการกำหนดให้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ จัดการเรียนรู้เน้นกระบวนการคิด และให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจริง ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ นอกจากนี้ครูยังมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ทั้งนี้สถานศึกษามีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่ชัดเจนสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา และสามารถปฏิบัติได้จริง มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานของสถานศึกษา มีการดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนอย่างรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย ร่วมถึงการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และมีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้

         สถานศึกษายังมีการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะด้านการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณให้กับผู้เรียน ควรนำความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้วิถีชีวิต และเกิดความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมทั้งส่งเสริมให้บุคลากรเข้ารับการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาวิชาชีพและนำมาพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ
 
วัตถุประสงค์ 1) เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของนักเรียน เยาวชน ชุมชน และฝึกปฏิบัติจริงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
2) เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้ และฝึกปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3) เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้หลักการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
4) ปลูกฝังอาชีพที่สุจริตให้กับนักเรียนและชุมชน
เป้าหมาย เชิงปริมาณ 
1.นักเรียนทุกคนได้เรียนรู้ การฝึกปฏิบัติจริง เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
2.นักเรียนโรงเรียนอื่น ๆ เยาวชน ชุมชน ได้ศึกษาเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ได้
3.นักเรียนทุกคนได้เรียนรู้ เรื่อง ระบอบประชาธิปไตยในโรงเรียน
เชิงคุณภาพ
1.มีแหล่งเรียนรู้ การฝึกปฏิบัติจริง เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ สำหรับนักเรียน เยาวชน ชุมชน ที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน
2.นักเรียนรู้และเข้าใจ หน้าที่ของตนเองในระบบประชาธิปไตยเพิ่มมากขึ้น
ระยะเวลา 16 พ.ค. 2562 - 31 มี.ค. 2563
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนรัฐราษฎร์อนุสรณ์
ตัวชี้วัด 1.เพื่อให้โรงเรียนได้รับพิจารณาเป็น สถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2.เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจถึงปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.โรงเรียนได้รับพิจารณาเป็น สถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2.นักเรียนร้อยละ ๙๐ เข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
สรุปคะแนนประเมิน 4.75
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ 1.ประชุมคณะครูวางแผนโครงการ/กิจกรรม
2.เสนอขออนุม้ติโครงการ
3.ดำเนินการตามกิจกรรม/แต่งตั้งคณะกรรมและจัดหาสถานที่แหล่งจัดกิจกรรม 
4.ประชุมวางแผนเพื่อจัดกิจกรรมของโครงการ
 
ขั้นดำเนินการ 1.ดำเนินงานตามแผนโครงการ
2.กำกับติดตามการดำเนินงา่น
 
ขั้นตรวจสอบประเมินผล 1.แบบประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียน
2.แบบสอบถามความพึงพอใจ นักเรียน ผู้ปกครอง คณะครู ชุมชน
 
ขั้นสรุปและรายงาน 1.นักเรียนมีความรู้ มีประสบการณ์ สามารถปฏฺิบัติได้ โดยการศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ฐาเศรษฐกิจพอเพียง
2.สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแก่เยาวชนและชุมชนได้
3.นักเรียนมีความเป็นผู้นำและมีความรู้เรื่องระบอบประชาธิปไตยเพิ่มมากขึ้น
งบประมาณ 50,000 บาท
 
การบรรลุตัวชี้วัด 1.โรงเรียนได้รับพิจารณาเป็น สถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2.นักเรียนร้อยละ ๙๐ เข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค ควรนำความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้วิถีชีวิตและเดความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่น
 
ข้อเสนอแนะ -
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0