โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

สถานศึกษาพอเพียงต้นแบบ

โรงเรียน : มัธยมวัดสิงห์ สพม.กรุงเทพมหานคร เขต 1

ประเภท : โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการประเมิน : 4.00

เผยแพร่เมื่อ : 27 เม.ย. 2567 โดย : นายอนุรักษ์ ทองอร่าม จำนวนผู้เข้าชม 26 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม สถานศึกษาพอเพียงต้นแบบ
ประเภท โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปีการศึกษา 2566
มาตรฐาน


     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
     3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  เป็นหลักคิด และหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตเพื่อนำไปสู่ความพอเพียง  เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของคนไทย  สังคมไทย เพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์  เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าไปพร้อมกับความสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง   ทั้งด้านวัตถุ  ด้านสังคม  ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านวัฒนธรรม   ถ้าใช้หลักความพอเพียงเป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิต ก็จะสามารถอยู่ได้อย่างรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ปรับตัวและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงได้
            โรงเรียนเป็นสถานที่ในการผลิตพลเมืองที่มีคุณภาพของชาติ เป็นแหล่งการเรียนรู้   พัฒนาทางด้านสติปัญญา  ทางด้านร่างกาย  ทางด้านอารมณ์ และทางด้านสังคม  ในสังคมปัจจุบันมีความเจริญและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีมากมาย   การพัฒนาด้านจิตใจ  คุณธรรมและจริยธรรมยังมีน้อย ดังนั้น โรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการ ส่งเสริมเศรษฐกิจพอพียง เพื่อเป็นการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดกับนักเรียน  นักเรียนสามารถเรียนรู้ในโรงเรียนได้อย่างมีความสุข เมื่อนักเรียนมีคุณธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว จะทำให้ผลการเรียนดีขึ้น และบรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาแห่งชาติที่ว่านักเรียนเป็นผู้ที่   ดี   เก่ง   มีสุข  และดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ครูและนักเรียนมีความรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาเสรษฐกิจพอเพียง
2. เพื่อให้ครูและนักเรียนสามารถปฏิบัติตาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง
3. เพื่อให้ครูและนักเรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
4. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับครูและนักเรียนนำไปปรับใช้กับชีวิต
5. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้พัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนให้ครู นักเรียน บุคลากรในโรงเรียนและบุคคลที่สนใจ
เป้าหมาย ด้านปริมาณ
1. นักเรียน จำนวน 3,031 คน 
2. ครู บุคลากร จำนวน 185 คน
ด้านคุณภาพ
1. ผลผลิต
     ครูและนักเรียนโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ ร้อยละ 95 มีความเข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2. ผลลัพธ์
     ครู จำนวน 185 คนและนักเรียน จำนวน 3,031 คน ได้เรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
3. ผลกระทบ
     โรงเรียนได้จัดโครงการที่ส่งเสริมการพัฒนานักเรียน และสนองต่อนโยบายจุดเน้น แนวทางปฏิรูป
ระยะเวลา 30 ก.ย. 2560 - 30 ก.ย. 2561
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์
ตัวชี้วัด กลยุทธ์ที่ 5 เสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล และการประกันคุณภาพการศึกษา
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ครูและนักเรียนทุกคนได้รับการพัฒนาทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม มีสมาธิปัญญาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. การจัดการเรียนการสอนบรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
3. นักเรียนเรียนได้อย่างมีความสุข 
4. ชุมชนให้การยอมรับโรงเรียนมากขึ้น
5. นักเรียนได้ปฏิบัติตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งในโรงเรียน  ในครอบครัว และในชุมชน
สรุปคะแนนประเมิน 4.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ 1. วางแผนการจัดทำโครงการ
2. ขออนุมัติโครงการ
3. หลอมรวมเป็นแผนปฏิบัติการประจำปี
4. ขอความเห็นต่อคณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นดำเนินการ 1. จัดทำฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
2. กิจกรรมห้องเรียนพอเพียง
3. กิจกรรมห้องเรียนอาเซียน
4. จัดซื้ออุปกรณืตกแต่งบริเวณศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

 
ขั้นตรวจสอบประเมินผล 1. ตรวจสอบการให้ความร่วมมือของครูและนักเรียน
2. สังเกตครูและนักเรียนขณะเข้าร่วมกิจกรรม
ขั้นสรุปและรายงาน 1. จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
2. จัดทำรายงานสรุปผลโครงการ/กิจกรรม และเสนอต่อผู้อำนวยการ

 
งบประมาณ 1. จัดทำฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง   270,000
2.
กิจกรรมห้องเรียนพอเพียง   100,000
3.
กิจกรรมเดินตามรอยเท้าพ่อ "ก้าวแรกสู่ ๙ ที่ยั่งยืน" 12,500
4. กิจกรรมเดินตามรอยเท้าพ่ออย่างพอเพียง "ภูมิวิถีไทย" 12,000
5.
กิจกรรมการเรียนรู้เกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 10,000
รวม 404,000
 
การบรรลุตัวชี้วัด ร้อยละ 95 ของครูและนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การรักษาศีล 5 และค่านิยมพื้นฐาน 12 ประการ
 
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0