โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

พัฒนางานทวิศึกษา

โรงเรียน : อุ้มผางวิทยาคม สพม.ตาก

ประเภท : โรงเรียนโครงการทวิศึกษา

ผลการประเมิน : 4.53

เผยแพร่เมื่อ : 21 ก.ค. 2563 โดย : นายธวัช ยะสุคำ จำนวนผู้เข้าชม 75 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม พัฒนางานทวิศึกษา
ประเภท โรงเรียนโครงการทวิศึกษา
ปีการศึกษา 2561
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน
     2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
     2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
     2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา สืบเนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายในการผลิตผู้เรียนด้านอาชีวศึกษาให้มากขึ้น เพื่อรองรับการจ้างงาน ทั้งภาคธุรกิจบริการ ภาคอุตสาหกรรม และภาคการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอาชีพที่เป็นความต้องการของตลาดแรงงานที่กำลังขยายตัวในทุกภาคส่วน แต่เนื่องจากสภาพปัจจุบันค่านิยมของผู้ปกครองและผู้เรียนมุ่งที่จะสนับสนุนให้มีการเรียนสายสามัญเพื่อเข้าสู่ระดับอุดมศึกษา ส่งผลให้ขาดกำลังคนในภาคแรงงานเป็นอย่างมาก รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะให้มีการจัดการศึกษาหลักสูตรเรียนร่วมอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลายควบคู่กันไป เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีความรู้พื้นฐานด้านอาชีพและสามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานได้ทันท
โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคมเล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนางานทวิศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการพัฒนาการศึกษา แลแผนการพัฒนาประเทศ จึงจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อจะพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ความสามารถ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของแต่ละกลุ่มสาระให้เป็นไปตามเกณฑ์รวมทั้งผลการทดสอบระดับชาติให้เป็นไปตามเกณฑ์ต่อไป

 
วัตถุประสงค์ ๒.๑  เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาด้านอาชีวศึกษาแก่นักเรียนตามความถนัดและความสนใจ (มาตรฐานที่ 1  ประเด็นที่ 1.1 ข้อ 5 -6)
๒.๒  เพื่อขยายกลุ่มเป้าหมายไปสู่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในการเข้าสู่หลักสูตรอาชีวศึกษา (มาตรฐานที่ 1  ประเด็นที่ 1.1 ข้อ 5-6)
๒.๓  เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความประสงค์จะเรียนควบคู่ไปกับหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (มาตรฐานที่ 3  ประเด็นที่ 1 )



 
เป้าหมาย  ด้านปริมาณ
- นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ พัฒนางานทวิศึกษา ประกอบด้วยนักเรียนหลักสูตรทวิศึกษา
จำนวน  ๙ ห้อง นักเรียน 203 คน
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔                จำนวน  70  คน
          นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕                จำนวน  67  คน
          นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖                จำนวน  66  คน


ด้านคุณภาพ
- นักเรียนร้อยละ 85 ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ทวิศึกษา ได้รับการพัฒนาตามความถนัดและความสนใจด้านอาชีพอย่างเต็มศักยภาพสู่มาตรฐานสากล
ระยะเวลา 1 ก.ค. 2563 - 31 มี.ค. 2564
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม
ตัวชี้วัด
เป้าหมาย / ตัวชี้วัด วิธีการประเมิน เครื่องมือที่ใช้
1. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ พัฒนาการจัดการเรียนรู้ทวิศึกษา ได้รับการพัฒนาตามความถนัดและความสนใจ
2. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ พัฒนาการจัดการเรียนรู้ทวิศึกษา มีความรู้และทักษะ สามารถไปสมัครเรียนต่อในสายอาชีวะ หรือประกอบอาชีพได้
ให้นักเรียนทำแบบสอบถาม
 
แบบสอบถาม
 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑. ผู้เข้าร่วมโครงการได้ศึกษาด้านอาชีวศึกษาตามความถนัดและความสนใจ
๒. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าเรียนด้านอาชีวศึกษาเพิ่มมากขึ้น
๓. นักเรียนได้รับวุฒิกาศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพคู่กับการเรียนสายสามัญ
สรุปคะแนนประเมิน 4.53
ไฟล์ประกอบ โครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ทวิศึกษา.pdf
โครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ทวิศึกษา.pdf
ขั้นเตรียมการ จัดทำโครงการ
ขั้นดำเนินการ ขออนุมัติโครงการ
- แต่งตั้งคณะกรรมการและประชุมคณะกรรมการ
- ดำเนินการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนทวิศึกษา
ขั้นตรวจสอบประเมินผล - ติดตาม ตรวจสอบและ
ประเมินผลการดำเนินตามโครงการ
ขั้นสรุปและรายงาน - สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ
งบประมาณ
รายการ จำนวนหน่วย ราคา/หน่วย งบประมาณ
1.  งบดำเนินงาน
ค่าวัสดุ  (ค่าวัสดุการศึกษา ค่าเครื่องเขียน ค่าวัสดุ เวชภัณฑ์ ค่าซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์สิน เป็นต้น)
- วัสดุการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนางานทวิศึกษาเกษตร     37,500
- วัสดุการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนางานทวิศึกษาช่าง     40,000
- วัสดุการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนางานทวิศึกษาคอมพิวเตอร์     20,000
รวมค่าวัสดุ 97,500
รวมทั้งสิ้น 97,500
การบรรลุตัวชี้วัด ๑. ผู้เข้าร่วมโครงการได้ศึกษาด้านอาชีวศึกษาตามความถนัดและความสนใจ
๒. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าเรียนด้านอาชีวศึกษาเพิ่มมากขึ้น
๓. นักเรียนได้รับวุฒิกาศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพคู่กับการเรียนสายสามัญ

 
ความพึงพอใจ  แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนโครงการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลาย
ตามโครงการพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ข้อ รายการ ระดับความพึงพอใจ
X S.D ระดับความพึงพอใจ  
1 การประชาสัมพันธ์ หลักสูตรเรียนร่วม อาชีวศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลาย 4.38 0.82 มาก  
2 หลักสูตรเรียนร่วม อาชีวศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลายที่เปิดสอนตอบสนองความสนใจ ความต้องการศึกษา 4.54 0.59 มาก  
3 ความรู้ความสามารถของครูผู้สอนในแต่ละหลักสูตร 4.67 0.64 มาก  
4 เทคนิคและทักษะในการถ่ายทอดความรู้ของครูผู้สอน 4.50 0.59 มาก  
5 สถานที่ / โรงฝึกใช้จัดการเรียนการสอนในแต่ละสาขาวิชา 3.88 0.74 มาก  
6 ได้รับทักษะความรู้ที่สามารถนำไปต่อยอดประกอบอาชีพ 4.29 0.86 มาก  
7 ครูผู้สอนมีความเอาใจใส่ในการฝึกทักษะ การให้ความรู้ 4.75 0.44 มาก  
8 ควรจัดให้มีการเรียนสอนหลักสูตรเรียนร่วมอาชีวศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลาย ต่อเนื่องในปีการศึกษาถัดไป 4.79 0.51 มาก  
รวม 4.48 0.649           มาก
สรุปผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครอง
โครงการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลาย
ตามโครงการพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ณ  โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม
 แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนโครงการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลาย
ตามโครงการพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ข้อ รายการ ระดับความพึงพอใจ
X S.D ระดับความพึงพอใจ  
1 การประชาสัมพันธ์ หลักสูตรเรียนร่วม อาชีวศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลาย 4.18 0.62 มาก  
2 หลักสูตรเรียนร่วม อาชีวศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลายที่เปิดสอนตอบสนองความสนใจ ความต้องการศึกษา 4.46 0.53 มาก  
3 ความรู้ความสามารถของครูผู้สอนในแต่ละหลักสูตร 4.49 0.67 มาก  
4 เทคนิคและทักษะในการถ่ายทอดความรู้ของครูผู้สอน 4.53 0.57 มาก  
5 สถานที่ / โรงฝึกใช้จัดการเรียนการสอนในแต่ละสาขาวิชา 3.68 0.82 มาก  
6 ได้รับทักษะ ความรู้ที่สามารถนำไปต่อยอดประกอบอาชีพ 4.16 0.65 มาก  
7 ครูผู้สอนมีความเอาใจใส่ในการฝึกทักษะ การให้ความรู้ 4.46 0.54 มาก  
8 ควรจัดให้มีการเรียนสอนหลักสูตรเรียนร่วมอาชีวศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลาย ต่อเนื่องในปีการศึกษาถัดไป 4.84 0.68 มาก  
รวม 4.53 0.64           มาก


            นักเรียนและผู้ปกครองมีระดับความพึงพอใจสูงสุด ที่ควรให้มีการจัดการเรียนสอนหลักสูตรเรียนร่วมอาชีวศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลาย ต่อเนื่องในปีการศึกษาถัดไป  และมีระดับความพึงพอใจน้อยสุด คือ สถานที่ /โรงฝึกใช้จัดการเรียนการสอนในแต่ละสาขาวิชา
 
ปัญหาและอุปสรรค 1. หลักสูตร/พานิชยกรรม/คอมพิวเตอร์ธุระกิจ  ร่วมกับวิทยาลัยเทคนิคตาก 
ปัญหาอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรคอมพิวเตอร์ธุรกิจในภาคเรียนที่ 1               ปีการศึกษา 2558   
1.1 เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้จัดการเรียนการสอนในรายวิชาชีพ ในโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม           มีไม่เพียงพอ และรองรับการจัดการสอน ในสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
1.2 ปัญหาสัญญาณอินเทอร์เน็ต ที่ความแรงสัญญาณไม่เพียงพอสำหรับการจัดการเรียนการสอนเพื่อการสืบค้นข้อมูล การใช้จัดการเรียนในรายวิชาชีพ

         2. หลักสูตร/อุตสาหกรรม/ช่างยนต์   ร่วมกับวิทยาลัยเทคนิคตาก 
              ปัญหาอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรช่างยนต์ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558   
                        2.1 ไม่มีโรงฝึกงาน ที่ใช้จัดการเรียนการสอนในรายวิชาชีพช่างยนต์ ในโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม
              2.2 ปัญหาการขนย้ายวัสดุฝึกในสาขาวิชาช่างยนต์ จากวิทยาลัยเทคนิคตากมาจัดการเรียนการสอนที่โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม ที่มีค่าใช้จ่ายในการขนย้าย จำนวนมากที่เป็นภาระจ่ายของวิทยาลัยเทคนิคตาก

3. หลักสูตร/เกษตรกรรม/พืชศาสตร์   ร่วมกับ  วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตาก 
                        3.1 ปัญหาการพานักเรียนไปเรียน ฝึกปฏิบัติ ในรายวิชาชีพ บางรายวิชา ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตาก เรื่องที่พัก เบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าใช้จ่ายในการดูแลนักเรียน ตลอดการฝึกปฏิบัติ เป็นภาระค่าใช้จ่ายของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตาก

         4. หลักสูตรอาชีพระยะสั้น
              4.1 นักเรียนในโครงการฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น ยังขาดสถานที่จัดจำหน่าย แสดงสินค้าผลงาน ผลิตภัณฑ์ของนักเรียน
                        4.2 นักเรียนในโครงการฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น ต้องการการสนับสนุนเงินทุนเพื่อการต่อยอดกิจกรรม

 
ข้อเสนอแนะ
ปัญหา/อุปสรรค
(ระดับสถานศึกษา ระดับหน่วยงาน ระดับกระทรวง)
ข้อเสนอแนะ
(ระดับสถานศึกษา ระดับหน่วยงาน ระดับกระทรวง)
- หลังสูตร
- สถานที่ฝึก
- งบประมาณ
-ระดับหน่วยงาน - ต้นสังกัดของโรงเรียนจัดทีมนิเทศให้ความช่วยเหลือด้านหลักสูตร
- ระดับกระทรวง – จัดสนับสนุนงบประมาณ
รูปภาพประกอบ


ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0