ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนอู่ทอง |
ประเภท |
โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง |
ปีการศึกษา |
2561 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา 2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย 2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้ 3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก 3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน 3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ |
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริบางประการเกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช“ การสอนและอบรมให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธ์พืชนั้นควรใช้วิธีการปลูกฝังให้เด็กเห็นความงดงามความน่าสนใจ และเกิดความปิติที่จะทำการศึกษาและอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป การใช้วิธีการสอนหรือการอบรมที่ให้ความรู้สึกกลัวว่าหากไม่อนุรักษ์แล้วจะเกิดผลเสียเกิดอันตรายต่อตนเอง จะทำให้เด็กเกิดความเครียด ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อประเทศในระยะยาว ” โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้ดำเนินการตอบสนองพระราชดำริ จัดตั้งงาน “สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน”เพื่อเป็นสื่อในการสร้างจิตสำนึกด้านอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยให้เยาวชนนั้นใกล้ชิดกับพืชพรรณไม้ เห็นคุณค่าประโยชน์ ความสวยงามอันก่อให้เกิดความคิดที่จะอนุรักษ์พรรณพืชต่อไป
โรงเรียนอู่ทอง ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2561 เพื่อสนองพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนอู่ทองได้ตระหนักและเห็นคุณค่าของการสอนและอบรมให้นักเรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชพรรณ โดยการปลูกฝังให้เห็นความงดงาม ความน่าสนใจ เกิดความปีติที่จะทำการศึกษาและอนุรักษ์พืชพรรณให้ครบทุกองค์ ประกอบ ทั้งสาระธรรมชาติแห่งชีวิต สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว และประโยชน์แท้แก่มหาชน ทั้งนี้เพื่อเป็นการดำเนินการตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีสืบไป
|
วัตถุประสงค์ |
๑. เพื่อให้เยาวชนได้ร่วมสนองพระราชดาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ในงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เข้าใจงาน เข้าใจทรัพยากรรอบกาย และเข้าใจหน้าที่ของตนเอง
๒. เพื่อให้เยาวชนเกิดจิตสานึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรพืช เข้าถึงปัจจัยทางชีวภาพ และกายภาพที่เกี่ยวพันกับพรรณพืช
๓. เพื่อแสวงหาแนวทางในการอบรมสั่งสอนนักเรียนให้เรียนรู้จริงจากธรรมชาติรอบกายมีจิตสานึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร เกิดมีความรู้ทิ้งทางวิทยาการและทางปัญญา
๔. เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพืชพรรณไม้ต่างๆ
๕. เพื่อให้โรงเรียนเป็นแหล่งรวบรวม ตัวอย่างพรรณไม้ ข้อมูลพรรณไม้และการเก็บรักษา
|
เป้าหมาย |
๑. ด้านปริมาณ
นักเรียนโรงเรียนอู่ทอง จานวน ๒,๗๑๐ คน
ครูโรงเรียนอู่ทอง จำนวน ๑๗๕ คน
๒. ด้านคุณภาพ
นักเรียนมีความรู้ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของพืชกับปัจจัยทางชีวภาพและกายภาพ สามารถนาความรู้ ประสบการณ์ไปใช้ประโยชน์ เห็นคุณค่าของพรรณไม้และการจัดการเรียนรู้ และโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ในการดาเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
|
ระยะเวลา |
1 มิ.ย. 2561 - 15 มี.ค. 2562 |
สถานที่ดำเนินการ |
โรงเรียนอู่ทอง |
ตัวชี้วัด |
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
|
สรุปคะแนนประเมิน |
0.00 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
1. ประชุมวางแผนดำเนินงาน และแจ้งให้หมวด/ฝ่ายรับทราบ เพื่อให้เข้าใจจุดประสงค์ของโครงการ และผลงานหรือกิจกรรมที่แต่ละหมวด/ฝ่ายต้องรับผิดชอบ
|
ขั้นดำเนินการ |
2. ดำเนินงานตามขั้นตอนองค์ประกอบ ๕ ขั้น ในการดาเนินงานสวนพฤกษศาสตร์
3. ศึกษาค้นคว้าเพื่อให้เกิดความรู้และเชี่ยวชาญในพืชพรรณที่สนใจที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันเพื่อนำไปใช้ประโยชน์
4. ศึกษาให้ได้รายละเอียดของพืชที่สนใจคือขิงเพิ่มเติม รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์กับปัจจัยชีวภาพ โดยศึกษาธรรมชาติของชีวิต (รูปลักษณะ การเจริญเติบโต วงจรชีวิต)และพฤติกรรมของสัตว์ที่มีต่อพืชชนิดนั้น โดยใช้วิธีเผ้าสังเกตและเก็บรายละเอียดให้ได้มากที่สุด ศึกษาเกี่ยวพันกันระหว่างปัจจัยชีวภาพ ปัจจัยทางกายภาพ วิเคราะห์ศักยภาพให้เกิดประโยชน์ โดยเน้นประโยชน์ที่บังเกิดขึ้นแล้วมหาชนได้รับประโยชน์ทั่วกันเป็นการสร้างธรรมะขึ้นในจิตใจของเยาวชน เกิดเป็น “ประโยชน์แท้แก่มหาชน” ซึ่งมีหลักการ คือต้องเป็นประโยชน์ที่กับคนส่วนใหญ่หรือในชุมชน เป็นประโยชน์ที่สืบทอดยาวนาน เป็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วก่อให้เกิดความสะดวกทางกาย และก่อให้เกิดความเบิกบานทางจิตใจ
5. บูรณาการงานสวนพฤกษศาสตร์เข้าสู่การเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ในแต่ละเนื้อหาสาระนั้น ๆ เพื่อร่วมกันศึกษาหาแนวทางในการนำศักยภาพไปใช้ประโยชน์
|
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
6. จัดทำเอกสารรายงานผลการศึกษาพืชฉบับสมบูรณ์ส่งโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ |
ขั้นสรุปและรายงาน |
|
งบประมาณ |
|
การบรรลุตัวชี้วัด |
|
ความพึงพอใจ |
|
ปัญหาและอุปสรรค |
|
ข้อเสนอแนะ |
|
รูปภาพประกอบ |
|