Loading...

ข้อมูลโครงการพิเศษ

  PDF

โครงการพัฒนาการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

โรงเรียน : กระบุรีวิทยา สพม.พังงา ภูเก็ต ระนอง

ประเภท : โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการประเมิน : 5

เผยแพร่เมื่อ : 30 ก.ค. 2563 โดย : จิดาภา อาวุธเพชร จำนวนผู้เข้าชม 9780 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการพัฒนาการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ประเภท โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปีการศึกษา 2562
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน
     2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
     2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
     2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา      ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 กำหนดให้สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ภารกิจหลักของครูคือการดำเนินการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างนักเรียนให้มีพัฒนาการทุกด้าน เต็มตามวัยและเต็มศักยภาพการพัฒนาการเรียนการสอนจะช่วยให้พัฒนาครู ให้มีประสบการณ์ในการสอนนักเรียนให้เป็นคนที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพบรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร สภาพ ปัจจุบันทันต่อเหตุการณ์ ให้อยู่บนพื้นฐานของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
     โรงเรียนกระบุรีวิทยาจึงจัดทำโครงการดังกล่าวขึ้นเพื่อพัฒนาครู นักเรียน และสถานศึกษาต่อไป

 
วัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้ครูมีการออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้กระบวนการ Backward Design
2.เพื่อส่งเสริมให้ครูใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมผนวกกับการนำบริบทและภูมิปัญญาของท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้
3.เพื่อส่งเสริมให้ครูมีการวัดและประเมินผลที่มุ่งเน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย
4.เพื่อให้ครูมีการศึกษา วิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ในวิชาที่ตนรับผิดชอบ และใช้ผลในการปรับการสอน
5.เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้ครูประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐานในการจัดการเรียนการสอน

 
เป้าหมาย เชิงปริมาณ    ร้อยละ 80 -ของครูและนักเรียน สามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารจักการ การจัดการเรียนรู้  และใช้ในชีวิตประจำวัน
เชิงคุณภาพ   โรงเรียนกระบุรีวิทยา  สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 
ระยะเวลา 1 ต.ค. 2559 - 30 ก.ย. 2560
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนกระบุรีวิทยา
ตัวชี้วัด 1. การดำเนินงานโครงการสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. ประโยชน์และการยอมรับเป็นแบบอย่างของโครงการสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. ผลงานโครงการสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการเผยแพร่เป็นที่ยอมรับ
4. ระยะเวลาในการดำเนินการตามโครงการสถานศึกษาพอเพียง
5. ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินงาน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ      ผลการดำเนินกิจกรรม  โครงการเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน ชุมชน และสังคม มีการดำเนินงานเพื่อให้ผู้บริหาร ครู บุคลากร นักเรียน ชุมชน และสังคมมีความรู้ความเข้าใจตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  บูรณาการในการบริหารจัดการ  การจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ก่อให้เกิดความตระหนักและฝังรากลึกภายในตนเองและผู้อื่นอย่างยั่งยืน
สรุปคะแนนประเมิน 5
ไฟล์ประกอบ New
91
ขั้นเตรียมการ 1. กำหนดนโยบายน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา และบูรณาการในแผนปฏิบัติงานประจำปี
2. โรงเรียนกระบุรีวิทยาจัดทำแผนงานโครงการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและดำเนินงานตามโครงการ
3. การวางแผนการปรับปรุงและพัฒนาโครงการทุกปี
4. การวางแผนการนิเทศติดตามและการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาพอเพียงอย่างต่อเนื่อง



 
ขั้นดำเนินการ
  1. สร้างความรู้ความเข้าใจ การพัฒนาศักยภาพครูแกนนำ และนักเรียนแกนนำเพื่อการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียง
  2. ดำเนินการตามนโยบาย และแผนปฏิบัติงานประจำปี ที่น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา
  3. จัดหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทุกระดับชั้น
  4. มีการนิเทศ/ติดตาม/ประเมินผล การนำหน่วยการการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน
  5. มีการศึกษา/วิเคราะห์/วิจัย เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนหน่วยการเรียนรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  6. มีแผนจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มสาระฯ ต่างๆ ทุกระดับชั้นอย่างมีคุณภาพ
  7. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในกลุ่มสาระฯ ต่างๆ โดยผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
  8. จัดหา/ผลิต/ใช้/เผยแพร่ สื่อการเรียนรู้ เพื่อบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนการสอน
  9. ใช้แหล่งเรียนรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน ที่ส่งเสริมการเป็นอยู่อย่างพอเพียงของผู้เรียน
  10. จัดทำ/ใช้เครื่องมือ วัด และประเมินผลที่หลากหลาย และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ขั้นตรวจสอบประเมินผล 1. นิเทศ ติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายและแผนปฏิบัติการประจำปีที่น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา
2. นำผลการติดตามมาพัฒนา นโยบาย/แผนงาน/โครงการ ขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา
ขั้นสรุปและรายงาน
  1. นำผลการติดตามมาพัฒนา ปรับปรุง นโยบาย/แผนงาน/โครงการ ขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา
  2. รายงานผลการประเมิน และนำมาปรับปรุง/พัฒนา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  3. จัดแสดง/เผยแพร่/ประกวด/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลงานของนักเรียน ที่เกิดจากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้
งบประมาณ งบประมาณ  24,000 บาท
การบรรลุตัวชี้วัด 1. โรงเรียนมีการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. การดำเนินกิจกรรมสถานศึกษาพอเพียงได้รับการยอมรับเป็นแบบอย่างของโครงการสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. ผลงานโครงการสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการเผยแพร่เป็นที่ยอมรับ
4. มีระยะเวลาในการดำเนินการตามโครงการสถานศึกษาพอเพียงอย่างต่อเนื่องทุกปี
5. ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค 1.  การดำเนินกิจกรรมพัฒนาฐานการเรียนรู้ยังไม่สามารถถอดบทเรียนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ตรงตามเป้าหมาย
2.  นักเรียนส่วนหนึ่งขาดความตระหนักในการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3.  การดำเนินกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนบางเนื้อหาสาระวิชา ไม่สามารถถอดบทเรียนได้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ข้อเสนอแนะ 1.  การดำเนินกิจกรรมพัฒนาฐานการเรียนรู้ยัง ให้เหมาะกับนักเรียน เพื่อสามารถถอดบทเรียนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ตรงตามเป้าหมาย ตรงตามศักยภาพของผู้เรียน
2.  จัดกิจกรรมกระตุ้นความตระหนักในการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง
3.  ควรมีการพัฒนาทักษะ การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ให้กับครูผู้สอน และนักเรียนในการเรียนรู้และเข้าในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำไปใช้ในการถอดบทเรียน และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างยั่งยืน
รูปภาพประกอบ