ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
โรงเรียนวิถีพุทธ |
ประเภท |
โรงเรียนวิถีพุทธ |
ปีการศึกษา |
2562 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้ |
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
การปลูกฝัง อบรม ฝึกฝนนักเรียน ตามวิธีการของพระพุทธศาสนา โดยเน้นบูรณาการตามหลักไตรสิกขา อันมี ศีล สมาธิ ปัญญา เรียนรู้ผ่านการพัฒนา “ การกิน อยู่ ดู ฟังเป็น” ,มีปัญญารู้เข้าใจในคุณค่าและการปลูกฝัง การฝึกฝน ให้ผู้เรียนได้นำหลักธรรมคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันจะทำให้นักเรียนมีคุณธรรมนำความรู้ พัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพเป็นคนดี คนเก่งของสังคม ดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข
|
วัตถุประสงค์ |
๑. เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม เป็นคนดีของสังคม
๒. เพื่อพัฒนานักเรียน เรื่อง การกิน อยู่ ดู ฟัง ให้เป็น
๓. เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
|
เป้าหมาย |
ด้านปริมาณ
๑. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นร้อยละ ๘๐
๒. นักเรียนพัฒนา เรื่อง การกิน อยู่ ดู ฟัง เพิ่มขึ้นร้อยละ ๘๐
๓. นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐
ด้านคุณภาพ
๑. ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวิถีพุทธ ได้อย่างมีคุณภาพ
๒. นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ในตนเอง
|
ระยะเวลา |
1 ต.ค. 2559 - 30 ก.ย. 2560 |
สถานที่ดำเนินการ |
โรงเรียนกระบุรีวิทยา |
ตัวชี้วัด |
๑. ด้านกายภาพ ๗ ประการ
๑.๑มีป้ายโรงเรียนวิถีพุทธ
๑.๒มีพระพุทธรูปหน้าโรงเรียน
๑.๓มีพระพุทธรูปประจำห้องเรียน (อาจเป็นรูปภาพ หรือสัญลักษณ์)
๑.๔ มีพระพุทธศาสนสุภาษิต วาทะธรรม พระราชดำรัสติดตามที่ต่าง ๆ
๑.๕ มีความสะอาด สงบ ร่มรื่น
๑.๖ มีห้องพระพุทธศาสนาหรือลานธรรม
๑.๗ ไม่มีสิ่งเสพติดเหล้าบุหรี่ ๑๐๐ %
๒. ด้านกิจกรรมประจำวันพระ ๔ ประการ
๒.๑ ใส่เสื้อขาวทุกคน
๒.๒ ทำบุญใส่บาตร ฟังเทศน์
๒.๓ รับประทานอาหารมังสวิรัติในมื้อกลางวัน
๒.๔สวดมนต์แปล
๓. ด้านการเรียนการสอน ๕ประการ
๓.๑ บริหารจิต เจริญปัญญา ก่อนเข้าเรียน เช้า บ่าย ทั้งครู และ นักเรียน
๓.๒ บูรณาการวิถีพุทธ ทุกกลุ่มสาระ และในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
๓.๓ ครู พานักเรียนทำโครงงานคุณธรรม กิจกรรมจิตอาสาสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง
๓.๔ ครู ผู้บริหาร และ นักเรียน ทุกคน ไปปฏิบัติศาสนกิจที่วัดเดือนละ ๑ ครั้ง
มีวัดเป็นแหล่งเรียนรู้
๓.๕ ครู ผู้บริหาร และ นักเรียนทุกคน เข้าค่ายปฏิบัติธรรมอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
๔. ด้านพฤติกรรม ครู ผู้บริหารโรงเรียนและนักเรียน ๕ ประการ
๔.๑ รักษาศีล ๕
๔.๒ ยิ้มง่าย ไหว้สวย กราบงาม
๔.๓ ก่อนรับประทานอาหารจะมีการพิจารณาอาหาร รับประทานอาหารไม่ดัง ไม่หก ไม่เหลือ
๔.๔ประหยัด ออม ถนอมใช้ เงิน และ สิ่งของ
๔.๕ มีนิสัยใฝ่รู้ สู้สิ่งยาก
๕. ด้านการส่งเสริมวิถีพุทธ ๘ ประการ
๕.๑ ไม่มีอาหารขยะขายในโรงเรียน
๕.๒ ไม่ดุ ด่า นักเรียน
๕.๓ ชื่นชมคุณความดี หน้าเสาธงทุกวัน
๕.๔ โฮมรูมเพื่อสะท้อนความรู้สึก เช่นความรู้สึกที่ได้ทำความดี
๕.๕ ครู ผู้บริหาร และนักเรียน มีสมุดบันทึกความดี
๕.๖ ครู ผู้บริหาร และนักเรียน (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ขึ้นไป) สอบได้ธรรมศึกษาตรี
เป็นอย่างน้อย
๕.๗ บริหารจิต เจริญปัญญา ก่อนการประชุมทุกครั้ง
๕.๘ มีพระมาสอนอย่างสม่ำเสมอ
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
๑. นักเรียนมีคุณธรรม และจริยธรรม ในตนเอง
๒. นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
๓. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
|
สรุปคะแนนประเมิน |
5.00 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
๑. เสนอโครงการ
๒. ขออนุมัติโครงการ
๓. แต่งตั้งคณะกรรมการ
๔. ดำเนินงานตามโครงการ
๕. นิเทศ ติดตามผล
๖. สรุป ประเมินผล
|
ขั้นดำเนินการ |
กิจกรรม |
ระยะเวลา
|
ผู้รับผิดชอบ |
๑.กิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระแผ่เมตตาทำสมาธิระลึกถึงชาติศาสนาพระมหากษัตริย์ทุกวันและวันสุดสัปดาห์
๒.กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและจิตอาสา
๓.กิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและค่านิยมไทย
๔.กิจกรรมอบรมค่ายอบอุ่นด้วยพระธรรมนักเรียน
๕.กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม อัตลักษณ์โรงเรียนกระบุรีวิทยา
๖.กิจกรรมพัฒนาวิถีชีวิตประชาธิปไตย |
ตลอดปีการศึกษา
ตลอดปีการศึกษา
ตลอดปีการศึกษา
กรกฏาคม๒๕๖๐
ตลอดปีการศึกษาตลอดปีการศึกษา
|
ครูทุกคน
ครูทุกคน
ครูเดือนเพ็ญ
ครูทุกคน
ครูเดือนเพ็ญ
|
|
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
ตัวชี้วัดความสำเร็จ |
วิธีการวัดและประเมินผล |
เครื่องมือที่ใช้ |
ผลผลิต (Output)
- ร้อยละของนักเรียนที่มีคุณธรรม จริยธรรม
และมีระเบียบวินัยในตนเอง
|
-การสังเกต
-การสัมภาษณ์ |
แบบสังเกต
แบบสัมภาษณ์ |
ผลลัพธ์ (Outcomes)
- นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
ร้อยละ ๘๐
|
สังเกต
สัมภาษณ์
ทดสอบ |
แบบสังเกต
แบบสัมภาษณ์
แบบทดสอบ |
|
ขั้นสรุปและรายงาน |
ผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนดีวิถีพุทธ เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ
(๑.) สร้างความตระหนักแก่นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา
(๒.) เห็นความสำคัญ ของโรงเรียนวิถีพุทธ
( ๓.) พัฒนาผู้เรียนโดยใช้หลักไตรสิกขา และ
( ๔.) จัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้นักเรียนได้ ใกล้ชิดกับธรรมชาติมากที่สุด
โดยใช้ หลักการการดำเนินงานประกอบ
(๑.) มีการบริหารจัดการ สอนให้รู้ ทำให้ดูอยู่ให้เป็น และส่งเสริมการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
(๒.) มีการจัดการเรียนการสอน กำหนดหลักสูตรสถานศึกษา จัดทำ หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
( ๓.) ส่งเสริมด้านกายภาพ การจัดสถานที่แหล่ง เรียนรู้ สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาไตรสิกขา เน้นบรรยากาศสงบเรียบง่าย สะอาด มีระเบียบร่มรื่น ใกล้ชิดธรรมชาติ
(๔.) จัดกิจกรรมพื้นฐานชีวิตและผ่านการเรียนรู้จากวิถีชีวิตจริงเน้น “กิน อยู่ ดู ฟัง เป็น ”
(๕.) จัด บรรยากาศปฏิสัมพันธ์ การปฏิบัติต่อกันระหว่างครูกับครู ครูกับนักเรียน นักเรียนกับนักเรียน มีการเอื้ออาทร เป็น กัลยาณมิตรต่อกัน ส่งเสริมวัฒนธรรมเมตตา และวัฒนธรรมแสวงปัญญาส่วนขั้นตอนในการดำ เนินงานโครงการโรงเรียนดีวิถีพุทธ เริ่มจากการเสนอขออนุมัติโครงการ แต่งตั้ง คณะกรรมการ ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนงาน แล้วดำเนินกิจกรรมตามแผนงาน ซึ่งโครงการโรงเรียนดีวิถี พุทธ ประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้
๑.๑ กิจกรรมเยาวชนรุ่นใหม่ใส่ใจธรรมมะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ เป็นกิจกรรมเน้นให้ผู้เรียน มีระเบียบวินัย ในตนเอง รู้จักควบคุมตนเองด้านอารมณ์และจิตใจ มีสติ มีเมตตา กตัญญู ซื่อสัตย์ต่อตนเองและ ผู้อื่น โดยนิมนต์พระวิทยากรมาอบรมคุณธรรม สวดมนต์แปล ส่งเสริมจริยธรรมแก่นักเรียน สัปดาห์ละครั้ง วัดและประเมินผลจากการ สังเกตพฤติกรรม การปฏิบัติตนของนักเรียน แล้วนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาใน การดำเนินกิจกรรมครั้งต่อไป
๑.๓ กิจกรรมค่ายคุณธรรม อบอุ่นด้วยพระธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ เป็นกิจกรรมที่เน้นให้ ผู้เรียนเป็นคนดีมีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีวัฒนธรรมในการดำเนินชีวิต ปลูกฝังหลัก คุณธรรมทางพุทธศาสนาตามวัยของผู้เรียน ดำเนินกิจกรรมโดยเชิญพระวิทยากรมาอบรม และฝึกปฏิบัติด้าน คุณธรรม เป็นคนดี มีคุณธรรม รับผิดชอบต่อตนเอง และสังคม การปฏิบัติตนในการดำรงชีวิต วัด และประเมินผล จากการสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติตน สัปดาห์ละครั้ง แล้วนำผลการประเมินกิจกรรมมาปรับปรุงการดำเนิน กิจกรรมเพื่อพัฒนาในการดำเนินกิจกรรมครั้งต่อไป
๑.๓ กิจกรรมค่ายคุณธรรมแหล่งเรียนรู้กล้าแผ่นดิน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่๑-๖ เป็นกิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของการมีคุณธรรม และการปฏิบัติกิจกรรมคุณธรรมตามหลัก ของพระพุทธศาสนา โดยนำนักเรียนไปเรียนรู้ที่แหล่งเรียนรู้ ณ วัดสุวรรณคีรี จังหวัดระนอง มีพระวิทยากรของ วัดสุวรรณคีรี เป็นวิทยากรอบรม มีการวัดและประเมินผลด้วยการสังเกตพฤติกรรมในระหว่างการเข้าค่าย และหลังการไปเข้าค่าย นอกจากนี้ยังดำเนินการ กำกับ ติดตามกิจกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียนอย่าง ต่อเนื่อง นำผลการดำเนินการมาปรับปรุงกิจกรรมในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไปอย่างเป็นระบบ
๑.๔ กิจกรรมเยาวชนรุ่นใหม่มุ่งสู่ธรรมะ(โรงเรียนคุณธรรม) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ เป็นกิจกรรมเน้นให้ผู้เรียนมี ระเบียบวินัย ในตนเอง รู้จักควบคุมตนเองด้านอารมณ์และจิตใจ มีสติ มีเมตตา กตัญญู ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น โดยนิมนต์พระวิทยากรมาอบรมคุณธรรม จริยธรรมแก่นักเรียนเทอมละครั้ง การวัดและประเมินผลจากการ สังเกตพฤติกรรม การปฏิบัติตนของนักเรียน แล้วนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาใน การดำเนินกิจกรรมครั้งต่อไป
(๑.) กิจกรรมเยาวชนรุ่นใหม่ใส่ใจธรรมมะ(โรงเรียนคุณธรรม) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ เป็นกิจกรรมเน้นให้ผู้เรียน มี ระเบียบวินัย ในตนเอง รู้จักควบคุมตนเองด้านอารมณ์และจิตใจ มีสติ มีเมตตา กตัญญู ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น โดยนิมนต์พระวิทยากรมาอบรมคุณธรรม จริยธรรม แก่นักเรียนสัปดาห์ละครั้ง วัดและประเมินผลจากการสังเกต พฤติกรรม การปฏิบัติตนของนักเรียน แล้วนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาในการ ดำเนินกิจกรรมครั้งต่อไป
(๒.) กิจกรรมฟังธรรมจากพระธรรมทูต ชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ ๔ - ๖ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียน มีระเบียบวินัย ในตนเอง รู้จักควบคุมตนเองด้านอารมณ์และจิตใจ มีสติ มีเมตตา กตัญญู ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น โดยนิมนต์พระธรรมทูตเป็นพระวิทยากรมาอบรมคุณธรรม จริยธรรม แก่นักเรียน ภาคเรียนละครั้ง มีวัดและประเมินผล จากการสังเกตพฤติกรรม การปฏิบัติตนของนักเรียน แล้วนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินกิจกรรมเพื่อ พัฒนาในการดำเนินกิจกรรมครั้งต่อไป
(๓.) กิจกรรมเยาวชนไทยทำดีถวายในหลวง เป็นกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม ใฝ่ดี มีจิตอาสา ช่วยเหลือสังคม ซึ่งจะจัดกิจกรรมเมื่อมีวันสำคัญทางศาสนา คือ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และวันสำคัญของชาติ คือ วันปิยมหาราช วันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๙ หลังจากปฏิบัติกิจกรรมในวันสำคัญเสร็จแล้ว จะมี กิจกรรมฟังพระเทศนา อบรมคุณธรรม และกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์แก่สาธารณะ ได้แก่การทำ ความสะอาด ห้องเรียน ทำความสะอาดทางเดินวัดจันทาราม ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ใกล้เคียงสถานศึกษา มีการประเมินผลการจัดกิจกรรม และนำผลการประเมินมาปรับปรุงการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป
(๔.) กิจกรรมธรรมะ ๕ นาที เป็นกิจกรรมที่เน้นให้นักเรียนตระหนักถึงการทำความดี มีจิตอาสาทำ งานเพื่อสังคม และ เป็นคนดี ซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งกิจกรรมนี้จัดทำในกิจกรรมยามเช้าหน้าเสาธง หลังจากเคารพธงชาติ สวดมนต์เสร็จแล้ว ทุกวัน นักเรียนจะได้ชมและฟังธรรมะจากวีดีทัศน์ธรรมะ พร้อมกันที่สนามโดม มีการประเมินผล การชมและการ ฟังทุกครั้งด้วยตอบคำถามสรุปเรื่อง และการนำธรรมไปใช้ในชีวิตประจำหลังจากนั้น มีการประเมิน พฤติกรรมการปฏิบัติตนของนักเรียน นำผลการประเมินมาปรับปรุงการจัดกิจกรรมต่อไป จากการประเมินผลโครงการในปีการศึกษา ๒๕๖๐พบว่า ผลการดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย คือ ประกอบด้วย
( ๔.๑) ผู้บริหารมีบริหารการจัดการ คณะครูปฏิบัติการสอนให้ผู้เรียนได้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เป็น และ ส่งเสริมการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ร้อยละ ๑๐๐
(๔.๒) มีการจัดการเรียนการสอน กำหนดหลักสูตรสถานศึกษา จัดทำหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญร้อยละ ๑๐๐
(๔.๓) มีกิจกรรมส่งเสริมด้าน กายภาพ การจัดสถานที่ แหล่งเรียนรู้ สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาไตรสิกขา เน้นบรรยากาศสงบ เรียบง่าย สะอาด มีระเบียบ ร่มรื่น ใกล้ชิดธรรมชาติ
(๔.๔) จัดกิจกรรมพื้นฐานชีวิต และผ่านการเรียนรู้ จากวิถีชีวิตจริง เน้น “กิน อยู่ ดู ฟัง เป็น”ร้อยละ๘๗.๕๐
(๔.๕) จัดบรรยากาศปฏิสัมพันธ์ การปฏิบัติต่อกันระหว่าง ครูกับครู ครู กับนักเรียน นักเรียนกับนักเรียน มีการเอื้ออาทร เป็นกัลยาณมิตรต่อกัน ส่งเสริมวัฒนธรรมเมตตาและวัฒนธรรม แสวงปัญญา ร้อยละ ๑๐๐
จุดที่ควรพัฒนา คือ โรงเรียนควรจัดทำแนวปฏิบัติการจัดกิจกรรมโรงเรียนวิถีพุทธ ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ จากพระวิทยากรอย่างต่อเนื่องทุก ๆ เดือน จะส่งผลให้ผู้เรียนซึมซับหลักธรรมและนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ อย่างมีความสุข จากการประเมินผลโครงการปีการศึกษา ๒๕๕๙-๒๕๖๐ พบว่า ผลการดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย คือ
(๑.) มีการ บริหารจัดการ คณะครูปฏิบัติการสอนให้ผู้เรียนได้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เป็น และส่งเสริมการปฏิบัติในชีวิตประจำวันร้อยละ ๑๐๐
(๒) มีการจัดการเรียนการสอน กำหนดหลักสูตรสถานศึกษา จัดทำหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญร้อยละ๑๐๐
(๓) มีกิจกรรมส่งเสริมด้านกายภาพ การจัดสถานที่ แหล่งเรียนรู้ สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริม ให้เกิดการ พัฒนาไตรสิกขา เน้นบรรยากาศสงบเรียบง่าย สะอาด มีระเบียบ ร่มรื่น ใกล้ชิดธรรมชาติ ร้อยละ ๑๐๐
(๔) จัดกิจกรรมพื้นฐานชีวิต และผ่านการเรียนรู้จากวิถีชีวิตจริง เน้น “กิน อยู่ ดู ฟัง เป็น”ร้อยละ ๘๙.๗๕
(๕) จัดบรรยากาศปฏิสัมพันธ์ การปฏิบัติต่อ กันระหว่างครูกับครู ครูกับนักเรียน นักเรียนกับนักเรียน มีการเอื้ออาทร เป็นกัลยาณมิตรต่อกัน ส่งเสริมวัฒนธรรมเมตตา และวัฒนธรรมแสวงปัญญาร้อยละ ๑๐๐
จุดที่ควรพัฒนา คือ เนื่องจากการจัดกิจกรรมมีการจัดทำทุกระดับชั้นปี ทำให้สถานที่ในการปฏิบัติคับแคบ ไม่เพียงพอต่อการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับจำนวนผู้เรียน โรงเรียนควรจัดทำแนวปฏิบัติการจัดกิจกรรม โรงเรียนวิถีพุทธ ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ จากพระวิทยากรอย่างต่อเนื่องทุกๆ เดือนโดยไปปฏิบัติ กิจกรรมภายนอกโรงเรียน ส่งผลให้มีสถานที่ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมได้สะดวกมากขึ้น ผู้เรียนซึมซับหลักธรรม และนำไปปฏิบัติ ในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ส่วนในปีการศึกษา ๒๕๖๐ ข้าพเจ้าได้สนับสนุนให้ดำเนินโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินงาน บรรลุ ตามเป้าหมายตามเป้าประสงค์ประกอบด้วย
(๑) มีการบริหารจัดการ คณะครูปฏิบัติการสอนให้ผู้เรียนได้รู้ ทำให้ ดูอยู่ให้เป็น และส่งเสริมการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
( ๒) มีการจัดการเรียนการสอน กำหนดหลักสูตร สถานศึกษา จัดทำหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
(๓) มีกิจกรรมส่งเสริมด้านกายภาพ ( การจัด สถานที่ แหล่งเรียนรู้ สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาไตรสิกขา เน้นบรรยากาศสงบเรียบง่าย สะอาด มี ระเบียบ ร่มรื่น ใกล้ชิดธรรมชาติ
(๔ ) จัดกิจกรรมพื้นฐานชีวิต และผ่านการเรียนรู้จากวิถีชีวิตจริง เน้น ( “กิน อยู่ ดู ฟัง เป็น”)
(๕) จัดบรรยากาศปฏิสัมพันธ์ การปฏิบัติต่อกันระหว่างครูกับครู ครูกับนักเรียน นักเรียนกับนักเรียน มีการ เอื้ออาทร เป็นกัลยาณมิตรต่อกัน ส่งเสริมวัฒนธรรมเมตตา และวัฒนธรรมแสวงปัญญา และจะสรุปผลการ ดำเนินงานของโครงการ ช่วงปลายปีการศึกษาต่อไป |
งบประมาณ |
กิจกรรม
|
หมวด |
แยกตามรายการ |
รวม |
|
รายจ่ายอื่น |
ค่าตอบแทน |
ค่าใช้สอย |
ค่าวัสดุ |
|
๑.กิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระแผ่เมตตาทำสมาธิระลึกถึงชาติศาสนาพระมหากษัตริย์ทุกวันและวันสุดสัปดาห์
๒.กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมและจิตอาสา
๓.กิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและค่านิยมไทย
๔.กิจกรรมอบรมค่ายอบอุ่นด้วยพระธรรมนักเรียน
๕.กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม อัตลักษณ์โรงเรียนกระบุรีวิทยา
๖.กิจกรรมพัฒนาวิถีชีวิตประชาธิปไตยในโรงเรียน |
|
-
-
-
๔,๐๐๐
-
- |
-
-
-
๖,๐๐๐
๑๐,๐๐๐
-
|
-
-
-
-
- |
-
-
-
๑๐,๐๐๐
-๑๐,๐๐๐
- |
|
การบรรลุตัวชี้วัด |
๑. นักเรียนมีคุณธรรม และจริยธรรม ในตนเอง
๒. นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
๓. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
|
ความพึงพอใจ |
สรุปผลการประเมินโครงการวิถีพุทธ ปีการศึกษา ๒๕๖๐
โรงเรียนกระบุรีวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๔
**********************************************************************************
เกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
ระดับคะแนน |
ความหมาย |
4.51 – 5.00 |
ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับดีมาก |
3.51 – 4.50 |
ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับดี |
2.51 – 3.50 |
ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับ |
1.51 – 2.50 |
ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับ |
1.00 – 1.50 |
ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับ |
เกณฑ์การประเมิน ระดับคะแนนเฉลี่ย 3/51 ขึ้นไป ถือว่ายอมรับได้
รายการประเมิน |
ร้อยละ |
X |
S.D. |
ความพึงพอใจ |
1. กิจกรรมที่จดขึ้นสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียน |
90 |
4.78 |
0.86 |
ดีมาก |
2. กิจกรรมมีความหลากหลาย สอดคล้องกับความสนใจและความต้องการของผู้เรียน |
96 |
4.89 |
0.52 |
ดีมาก |
3. กิจกรรมเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติจริง |
90 |
4.90 |
0.87 |
ดีมาก |
4. ผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวมและรู้เท่าทันบริบทที่เปลี่ยนแปลง |
84 |
4.33 |
0.72 |
ดี |
5. ความร่วมมือของผู้เรียน |
90 |
4.67 |
0.44 |
ดีมาก |
6. ความร่วมมือของคณะครูในการจัดกิจกรรม |
92 |
4.67 |
0 |
ดีมาก |
7. การมีส่วนร่วมหรือความร่วมมือของผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรต่างๆ |
66 |
3.44 |
0.83 |
ดี |
8. ผู้เรียนเห็นคุณค่าในการจัดกิจกรรม |
96 |
4.89 |
0.52 |
ดีมาก |
9. โรงเรียนควรดำเนินโครงการต่อไป |
94 |
4.78 |
0.44 |
ดีมาก |
10. โรงเรียนควรเผยแพร่หรือขยายผลดำเนินการ |
92 |
4.67 |
0.52 |
ดีมาก |
รวม |
89.4 |
4.60 |
0.29 |
ดีมาก |
|
ปัญหาและอุปสรรค |
เนื่องด้วยการจัดทำโครงการนั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากครูบุคลากรทางการศึกษาและนักเรียน จึงทำให้โครงการนี้ต้องใช้ระยะเวลาและงบประมาณในการดำเนินงานมากพอสมควรร่วมถึงต้องตอบโจทย์ตัวชี้วัด๒๙ ประการของทางโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ จึงต้องทำความเข้าใจและถ่ายทอดให้สู่นักเรียนเพื่อถอดรูปแบบตามตัวชี้วัด ๒๙ ประการให้ได้อาจยังมีบางส่วนยังไม่เข้าใจในจุดนี้ จึงให้ความร่วมมือได้แค่เพียงตามศักยภาพของผู้เรียนเท่านั้นเอง |
ข้อเสนอแนะ |
ช่วยแก้ไขปัญหาระหว่างภาคเรียนทําให้นักเรียนและครูผู้สอนนำแนวทางมาจัดการเรียนการสอนส่งผลให้คุณภาพดีขึ้นและมีประโยชน์ต่อการพัฒนา ปรับปรุงติดตามและประเมินผลเพื่อปรับปรุงแก้ไขในครั้งต่อไปได้ |
รูปภาพประกอบ |






|