ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
สำรวจแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นภายในอำเภอเขาย้อย |
ประเภท |
โรงเรียนในฝัน (Lab School) |
ปีการศึกษา |
2560 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้ 3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ |
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
เป้าหมายการจัดการเรียนรู้ต้องมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเป็นสำคัญ เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้และสื่อต่างๆ อย่างกว้างขวาง สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับการเรียนรู้ในห้องเรียนและชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี เกิดคุณลักษณะใฝ่รู้ ใฝ่เรียน เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และรักการเรียนรู้ตลอดชีวิต การศึกษาค้นคว้าดังกล่าวสามารถศึกษาได้จากแหล่งการเรียนรู้ทั้งในสถานศึกษาและท้องถิ่น ดังนั้นสถานศึกษาต้องจัดให้มีแหล่งการเรียนรู้ทุกรูปแบบและหลากหลาย พร้อมทั้งแนะนำผู้เรียนให้ใช้แหล่งการเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์ ทั้งจัดทำทะเบียนแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเป็นข้อมูลแก่บุคลากร พร้อมทั้งส่งเสริมให้ครูใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ครูและนักเรียน ร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง |
วัตถุประสงค์ |
1 เพื่อให้มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
2 เพื่อให้ครูใช้แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญา และชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและจัดทำทะเบียนสื่อ
3 ส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำโครงงานเชิงสำรวจหรือศึกษาภูมิปัญญาในท้องถิ่นอำเภอเขาย้อย |
เป้าหมาย |
1. โรงเรียนมีทะเบียนแหล่งเรียนรู้ภายใน แหล่งเรียนรู้ภายนอกและภูมิปัญญาท้องถิ่นในอำเภอเขาย้อย
2. ครูร้อยละ 70 ใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้บูรณาการการจัดการเรียนรู้
3. นักเรียนร้อยละ 90 ใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
|
ระยะเวลา |
13 พ.ย. 2560 - 31 ม.ค. 2561 |
สถานที่ดำเนินการ |
วัดยาง อำเภอเขาย้อย , วัดท้ายตลาด , ฟาร์มไส้เดือน, โรงเรียนเขาย้อยวิทยา |
ตัวชี้วัด |
1 ครูร้อยละ 85 สามารถเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
2 ครูร้อยละ 80 สามารถใช้แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญา และชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและจัดทำหลักสูตร
3 นักเรียนมีความพึงใจที่ครู ใช้แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญา และชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ร้อยละ 95 |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
-นักเรียนเสียสละเวลา และมีความอดทนในการทำโครงงานหรือชิ้นงานเพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้
-นักเรียนได้รับการฝึกฝนให้เป็นคนเท่าทันต่อเหตุการณ์ วิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร สถานการณ์ รักและสนใจอ่านหนังสือ
-นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิต ประเพณีที่สำคัญของชุมชน
-นักเรียนได้เรียนรู้การดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
สรุปคะแนนประเมิน |
4.25 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
1 สำรวจแหล่งเรียนรู้บริเวณใกล้โรงเรียน
2 เขียนโครงการและนำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
|
ขั้นดำเนินการ |
1) รับสมัครนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่มีจิตอาสาเข้าร่วมกิจกรรมโครงการศึกษาแหล่งเรียนรู้ภายในชุมชน โดยขอความร่วมมือจากคณะครูบางท่านเป็นที่ปรึกษาโครงการ
2) ดำเนินการสำรวจภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้านและแหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษา
3) แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มโดยมีครูเป็นที่ปรึกษาดำเนินการเก็บข้อมูล
4) จัดทำทะเบียนแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
5) แจ้งคณะครูภายในโรงเรียนเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกรณรงค์ให้ครูนำนักเรียนเข้าศึกษาและใช้แหล่งเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม
|
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
ดำเนินการนิเทศ ติดตาม และสังเกตการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของนักเรียน |
ขั้นสรุปและรายงาน |
1) จัดทำเว็บไซด์หรือป้ายนิเทศนำเสนอการใช้แหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกโรงเรียน
2) สรุปผลการดำเนินโครงการ |
งบประมาณ |
ค่าวัสดุอุปกรณ์ทำป้ายนิเทศโครงงาน 1,000 บาท
ค่าอาหาร 2,000 บาท
ค่าของตอบแทนวิทยากรให้ความรู้ 3,000 บาท
รวมเงิน 6,000 บาท |
การบรรลุตัวชี้วัด |
บรรลุตัวชี้วัด |
ความพึงพอใจ |
|
ปัญหาและอุปสรรค |
นักเรียนอยู่บ้านไกล ทำให้การเดินทางมาทำกิจกรรมในช่วงเสาร์อาทิตย์ไม่สะดวก |
ข้อเสนอแนะ |
ดำเนินการจัดทำโรงเรือนปุ๋ยขี้ไส้เดือนของโรงเรียน
|
รูปภาพประกอบ |

|