Loading...

ข้อมูลโครงการพิเศษ

  PDF

โครงการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้

โรงเรียน : วังหลวงวิทยาคม สพม.ร้อยเอ็ด

ประเภท : โรงเรียนนำร่องโครงการตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้

ผลการประเมิน : 0

เผยแพร่เมื่อ : 30 ก.ย. 2561 โดย : นางสาวรัตนา วงศ์ภูงา จำนวนผู้เข้าชม 191 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
ประเภท โรงเรียนนำร่องโครงการตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
ปีการศึกษา 2559
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
     3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงมีพระราชดำรัสในเรื่องการศึกษาว่าการจัดการศึกษาต้องดูภาพรวมทั้งประเทศ เพราะทุกวันนี้การศึกษาค่อนข้างอ่อนแอ และมุ่งเน้นการเรียนการสอนเนื้อหาบางเรื่องมากเกินไป ทรงมีพระราชดาริให้มีการนาองค์ ๔ แห่งการศึกษา คือ พุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษา และพลศึกษา และหัวใจนักปราชญ์ คือ สุ จิ ปุ ลิ หมายถึง การฟัง การคิด การถามและการเขียน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของนักปราชญ์และบัณฑิต อีกทั้งยังจะเป็นเทคนิคในการช่วยให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนเก่งมากขึ้น โดยทรงมีพระราชดาริให้นาทั้งสองเรื่องมาใช้ในการจัดการศึกษา
แนวทางการปฏิรูปการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม นโยบายหนึ่งของรัฐบาล คือ การลดเวลาเรียนภาควิชาการลง แต่ต้องไม่กระทบเนื้อหาหลักที่เด็กๆ ควรเรียนรู้ ซึ่งหมายความว่าครูต้องใช้ความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ให้นักเรียนได้สาระที่ต้องรู้ครบถ้วนอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากนโยบายการลดเวลาเรียนดังกล่าว จึงนามาสู่การปฏิบัติโดยกำหนดให้โรงเรียนเรียนภาควิชาการ ถึงเวลาบ่าย ๒ โมงครึ่งหรือเวลา ๑๔.๓๐ น. แต่เวลาที่โรงเรียนเลิกยังคงเหมือนเดิมตามกำหนดของ แต่ละโรงเรียนซึ่งมักจะเป็นช่วงบ่าย ๔ โมง หรือเวลา ๑๖.๐๐ น. ดังนั้นช่วงระยะเวลาระหว่าง หลังเลิกเรียนจนกว่านักเรียนจะกลับบ้านซึ่งนักเรียนยังคงอยู่ที่โรงเรียน โรงเรียนจะต้องจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ ให้นักเรียนปฏิบัติ และควรเป็นกิจกรรมที่มีความหลากหลายที่ช่วยเพิ่มพูนทักษะการคิดวิเคราะห์ ความมีน้าใจต่อกัน การทางานเป็นทีม และที่สำคัญควรมีกิจกรรมกระตุ้นให้เด็กได้ค้นหาศักยภาพและความชอบของตนเอง ซึ่งเชื่อว่าเด็กทุกคนมีความพิเศษ มีความสามารถในแบบฉบับของตนเอง การจัดกิจกรรมไม่จาเป็นต้องเปิดให้เฉพาะห้องเดียวกัน หรือระดับชั้นเดียวกัน บางกิจกรรมสามารถศึกษาหรือทาร่วมกันหลายระดับชั้นได้ เพื่อให้เด็กๆรู้จักปรับตัว การช่วยเหลือดูแลกัน การมีปฏิสัมพันธ์กับคนหลายช่วงวัย    โดยเป็นการจาลองสภาพจริงในสังคมให้เด็กได้เรียนรู้ ซึ่งจะยิ่งช่วยเพิ่มทักษะในการแก้ปัญหาให้กับเด็กไทยต่อไป
การลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เป็นกรอบวิสัยทัศน์ ด้านการศึกษา เพื่อเตรียมนักเรียนให้พร้อมเข้าสู่การเรียนรู้ในตวรรษที่ 21 ของไทยนั้น สอดคล้องกับของหลายประเทศที่เป็นผู้นาด้านการศึกษาของโลก ที่เห็นพ้องกันกับแนวคิดสำคัญในศตวรรษที่ 21 เรื่องของจิตสานึกต่อโลก ความรู้พื้นฐานการประกอบสัมมาอาชีพ ความรู้พื้นฐานด้านพลเมือง สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม และทักษะที่จาเป็นในศตวรรษที่ 21 อันได้แก่ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี ทักษะการทางาน ทักษะชีวิตที่ใช้ได้จริง (กับครอบครัว โรงเรียน ชุมชน รัฐ และประเทศชาติ) โลกกาลังเปลี่ยนแปลง คนที่มีความรู้และทักษะในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสามารถปรับตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ๆ ได้เท่านั้นที่จะประสบความสำเร็จ ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ จะช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ และปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลานอกจากนั้น จากผลการสังเคราะห์เอกสาร งานวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร และผลการใช้หลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ตลอดจนผลการประเมินคุณภาพการศึกษาต่าง ๆ พบว่า
          - ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของนักเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งผลการทดสอบ
ระดับชาติ (O-NET) ผลการสอบ PISA ทั้ง ๆ ที่โรงเรียนใช้เวลาจัดการเรียนการสอนมากขึ้น เป็นเวลา
๗ หรือ ๘ ชั่วโมงต่อวัน
          - เด็กคิดไม่เป็น วิเคราะห์ไม่ได้ ขาดทักษะชีวิต อัดแน่นเนื้อหาวิชาการมากกว่าให้เรียนรู้ด้วยตนเอง
          - เด็กนักเรียนมีภาระงาน การบ้านมากเกินไป หรือต้องนาการบ้านไปทาที่บ้าน
          - เด็กเครียด และต้องเรียนพิเศษมาก
          จากที่กล่าวข้างต้น สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสานักวิชาการและมาตรฐาน
การศึกษา ได้น้อมนาพระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และนโยบายของ
รัฐบาลเกี่ยวกับการบริหารจัดการเวลาเรียน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” มาสู่การปฏิบัติในโรงเรียนอย่าง
เป็นรูปธรรม ครูผู้สอนมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนได้ปฏิบัติและเรียนรู้ด้วย
ตนเองมากขึ้น นักเรียนได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพ และมีความสุขในการเรียนรู้อย่างแท้จริง
 
วัตถุประสงค์
        ๑. เพื่อขับเคลื่อนการนาหลักสูตรสถานศึกษา ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักการ
ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
          ๒. เพื่อให้สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มี
คุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ และได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ ตาม
ความสนใจและถนัดของนักเรียนแต่ละบุคคล
          ๓. เพื่อให้สถานศึกษาสามารถการบริหารจัดการเวลาเรียน และจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน
เพิ่มเวลารู้” ได้อย่างเหมาะสม ทั้งด้านวิชาการ ด้านปฏิบัติ นักเรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ
ตามความสนใจและถนัดของแต่ละบุคคล
          ๔. เพื่อให้นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ พัฒนา
ตนเองตามความสนใจและความถนัดอย่างเต็มตามศักยภาพ และมีความสุขกับการเรียนรู้
          ๕. เพื่อให้พ่อ แม่ ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษามีความพึงพอใจในการจัด
การศึกษาของโรงเรียนและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
เป้าหมาย           ๑.เชิงปริมาณ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๑  -  ๓  จำนวน  ๑๓๓   คน
          ๒. เชิงคุณภาพ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๑ - ๓  ได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพและมีความสุขในการเรียนรู้อย่างแท้จริง  สามารถคิดวิเคราะห์พัฒนาตนเองตามความสนใจ  ความถนัดอย่างเต็มที่ตามศักยภาพและมีความสุขกับการเรียนรู้
 
ระยะเวลา 25 ต.ค. 2559 - 22 ก.พ. 2560
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนวังหลวงวิทยาคม ตำบลวังหลวง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
ตัวชี้วัด ในการขับเคลื่อนโครงการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้สู่การปฏิบัติของโรงเรียนวังหลวงมีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายอาทิผู้บริหาร  ครูอาจารย์  นักเรียนผู้ปกครองคณะกรรมการสถานศึกษาชุมชน ดังนั้นการดำเนินกิจกรรมจะเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายโดยมีตัวชี้วัดภาพความสำเร็จดังนี้
          ๑. มีแนวทางการขับเคลื่อนและตัวชี้วัดความสำเร็จ ตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ระดับสถานศึกษาที่ชัดเจนและสามารถนาไปสู่การปฏิบัติได้
          ๒. มีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม การขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ
          ๓. ครูและบุคลากรของโรงเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนานโยบายไปสู่การปฏิบัติ
          ๔. มีตารางเรียนที่เอื้อต่อการบริหารจัดการเวลาเรียน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”
          ๕. ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ สื่อ แหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผลที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้
“ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”
          ๖. มีกิจกรรมการเรียนรู้ และกิจกรรมสร้างสรรค์ ตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”
          ๗. มีการนาผลการพัฒนานักเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนานักเรียนอย่างต่อเนื่อง
          ๘. มีระบบการนิเทศ กากับ ติดตาม และประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
          ๙. มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการนาเสนอผลงานที่ประสบผลสำเร็จ
          ๑๐. มีการสร้างเครือข่ายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
          ๑๑. มีการสรุปและรายงานผลการดาเนินงาน
          ๑๒. ชุมชนเข้าใจ ให้ความร่วมมือ สนับสนุนการบริหารจัดการเวลาเรียนของโรงเรียน
นักเรียน
          ๑. ได้เรียนรู้ และปฏิบัติกิจกรรมสร้างสรรค์ โดยใช้เวลาเรียนทั้งด้านวิชาการ และการปฏิบัติกิจกรรม
อย่างเหมาะสม
          ๒. มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีทักษะชีวิต และมีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองตามความถนัด ความสนใจ ตามศักยภาพของตนเองแต่ละคน
          ๓. มีการประเมินตนเอง และนำผลการประเมินไปพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง
          ๔. มีความสุขในการเรียนรู้ มีภาระงาน การบ้าน เหมาะสม และสอดคล้องกับมาตรฐาน การเรียนรู้
และตัวชี้วัด
          ๕. มีผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) ผลการทดสอบ PISA และผลการทดสอบคุณภาพการศึกษา
ต่าง ๆ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
ผู้ปกครอง  /คณะกรรมการสถานศึกษา
          ๑. มีความรู้ ความเข้าใจ และให้ความร่วมมือในการดาเนินงานตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”
          ๒. มีความพึงพอใจต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”
          ๓. มีความพึงพอใจต่อคุณภาพของนักเรียน
 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ           ๑. โรงเรียนสามารถนำหลักสูตรสถานศึกษา ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักการ
ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
          ๒. โรงเรียนสามารถบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ และได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ ตามความสนใจและถนัดของนักเรียนแต่ละบุคคล
          ๓. โรงเรียนสามารถการบริหารจัดการเวลาเรียน และจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ได้อย่างเหมาะสม ทั้งด้านวิชาการ ด้านปฏิบัติ นักเรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพตามความสนใจและถนัดของ
แต่ละบุคคล
          ๔.  นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ พัฒนาตนเองตามความสนใจและความถนัดอย่างเต็มตามศักยภาพ และมีความสุขกับการเรียนรู้
          ๕.  พ่อ แม่ ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษามีความพึงพอใจในการจัดการศึกษาของโรงเรียนและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
สรุปคะแนนประเมิน 0
ไฟล์ประกอบ โครงการลดเวลาเรียน-คำสั่ง-2.59วังหลวงวิทยาคม.doc
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ วิธีดำเนินการการขับเคลื่อนนโยบายการลดเวลาเรียน  เพิ่มเวลารู้ของโรงเรียนวังหลวงวิทยาคมมีขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมดังต่อไปนี้
          ๑. ศึกษาวิเคราะห์นโยบาย คู่มือการบริหารจัดการเวลาเรียน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” และชุดเอกสารกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”
          ๒. กำหนดตัวชี้วัดภาพความสำเร็จ ของการบริหารจัดการเวลาเรียน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”
ของโรงเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และนักเรียน อย่างชัดเจน มีความเข้าใจตรงกัน
          ๓. สร้างความตระหนัก ความเข้าใจในการดำเนินงานแก่ครูผู้สอน และผู้เกี่ยวข้องในสถานศึกษา
          ๔. จัดทำข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับความสนใจ ความถนัด และความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
          ๕. วิเคราะห์โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาและการนำหลักสูตรไปใช้ หลักสูตรระดับชั้นเรียน ความพร้อมของครูผู้สอน สื่อ แหล่งเรียนรู้ อาคารสถานที่ และห้องปฏิบัติการ
          ๖. ปรับและออกแบบตารางเรียนที่เอื้อต่อการ “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ตามแนวทางการบริหารจัดการเวลาเรียนที่ลดเวลาเรียนและเพิ่มเวลารู้ โดยแนวทางการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”มีรายละเอียดพร้อมตัวอย่างในเอกสารคู่มือการบริหารจัดการเวลาเรียน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” และในชุดเอกสารกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ประกอบการดำเนินงาน
          ๗. ออกแบบกิจกรรมที่หลากหลาย สอดคล้องกับช่วงวัย สนองความสนใจ ความถนัด และความต้องการของผู้เรียน ซึ่งอาจพิจารณาจากกิจกรรมที่โรงเรียนดำเนินการอยู่ และหรือเลือกจากกิจกรรมในชุดเอกสารกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” หรือจากสื่อและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ
          ๘. ดำเนินการจัดการเรียนรู้และจัดกิจกรรม ตามตารางเรียนที่กำหนด
          ๙. นิเทศ ติดตาม ประเมินผลการดาเนินงาน
          ๑๐. ประชุม เสวนา ทบทวนหลังการปฏิบัติงาน (After Action Review : AAR) นำผลไปใช้ในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
          ๑๑. สรุปรายงานและเผยแพร่ผลการดำเนินงาน
 
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ