Loading...

ข้อมูลโครงการพิเศษ

  PDF

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐาน สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (EPUB3) และผลิตเอกสารความรู้ที่ติดบาร์โค้ดสองมิติสำหรับการอ่านออกเสียง (GR) สำหรับนักเรียนพิการและนักเรียนทุกคนที่เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้

โรงเรียน : เขาย้อยวิทยา สพม.เพชรบุรี

ประเภท : โรงเรียนจัดการศึกษาพิเศษเรียนร่วม

ผลการประเมิน : 4.00

เผยแพร่เมื่อ : 13 ก.ย. 2561 โดย : allteacher khaoyoi จำนวนผู้เข้าชม 54 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐาน สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (EPUB3) และผลิตเอกสารความรู้ที่ติดบาร์โค้ดสองมิติสำหรับการอ่านออกเสียง (GR) สำหรับนักเรียนพิการและนักเรียนทุกคนที่เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้
ประเภท โรงเรียนจัดการศึกษาพิเศษเรียนร่วม
ปีการศึกษา 2560
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

     2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ

     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ที่แสดงเจตนารมณ์ในการยกระดับการศึกษาของประชาชนให้สูงขึ้น โดยกำหนดสิทธิและโอกาสของประชาชนในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี  ที่รัฐต้องจัดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย  เด็กและเยาวชนพิการทุกประเภทมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ  ซึ่งสอดคล้องเชื่อมโยงกับพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการพ.ศ.2551  ที่กล่าวถึงสิทธิทางการศึกษาของคนพิการในการได้รับโอกาสและบริการทางการศึกษาในทุกระบบและทุกรูปแบบที่หลากหลายอย่างมีคุณภาพและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตามศักยภาพของแต่ละบุคคล  และพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551  มาตรา 5 ที่กล่าวถึงสิทธิทางการศึกษาของคนพิการในการได้รับโอกาสและบริการทางการศึกษาในทุกระบบและทุกรูปแบบที่หลากหลายอย่างมีคุณภาพและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตามศักยภาพของแต่ละบุคคล และมาตรา 19  ที่กล่าวว่า  ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีหน้าที่ดำเนินการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการเรียนร่วม การนิเทศ  กำกับ  ติดตาม  เพื่อให้คนพิการได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพตามที่กฎหมายกำหนด  ตลอดจนกรอบทิศทางของแผนการศึกษาแห่งชาติ  ฉบับร่าง (พ.ศ.2560-2574) ซึ่งเป็นแผนแม่บทสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  อันจะทำให้สามารถขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ได้ให้ความสำคัญกับการนำแผนสู่การปฏิบัติโดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญของแผนคือ  การมุ่งเน้นการประกันโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา  การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และการศึกษาเพื่อการมีงานทำและสร้างงานได้  ภายใต้บริบทเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลกที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์  รวมทั้งมีความเป็นพลวัติ  ภายใต้สังคมแห่งปัญญา  สังคมแห่งการเรียนรู้ และการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้  รวมทั้งกล่าวถึงการจัดการศึกษาเพื่อความเท่าเทียมและทั่วถึง (Inclusive  Education) เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนให้เกิดเป็นรูปธรรม  เมื่อปีงบประมาณ  2559  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  จึงได้ประกาศเรื่องนำร่องการจัดตั้งกลุ่มงานการศึกษาพิเศษ (การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม) ในกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา และมีเป้าหมายขยายให้ครบทุกพื้นที่  เพื่อให้การดำเนินงานและการบริหารจัดการศึกษาแบบเรียนรวมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด  รวมถึงมีความคล่องตัวในการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  นอกจากนั้นได้ประกาศให้ “ปี 2559 ปีแห่งความร่วมมือด้านการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ” โดยมีแนวทาง 3 ประการ  คือ  1. เน้นการมีส่วนร่วมและบูรณาการอย่างยั่งยืน  2. จัดให้กับบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทุกคนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ 3. จัดให้มีรูปแบบ และนวัตกรรมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนมุ่งสู่ความเป็นสากล และขับเคลื่อนแนวทางความร่วมมือไปสู่ความสำเร็จ รวมทั้งมีกลไกและระบบในการขับเคลื่อนจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ตลอดจนเครือข่ายมีส่วนร่วมด้านการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษโดยกลุ่มเป้าหมายคือ  บุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษา  9  ประเภท  ดังนั้น  ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงเน้นการสร้างความเข้มแข็งให้แก่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  โรงเรียนต้นแบบการเรียนรวมที่เป็นศูนย์บริการทางการศึกษาพิเศษ และพัฒนาโรงเรียนที่จัดการเรียนรวมให้ได้ตามมาตรฐาน  โดยเน้นการมีส่วนร่วมเพื่อให้สามารถบริการนักเรียนพิการที่เข้าเรียนได้อย่างมีคุณภาพต่อไป

 
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้เด็กพิการเรียนรวมได้รับสิทธิและโอกาสที่เท่าเทียมกันในการได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในรูปแบบที่เหมาะสมอย่างเต็มศักยภาพเป็นรายบุคคล ได้รับบริการ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อเข้าถึงบริการทางการศึกษา พัฒนาศักยภาพ ทักษะการดำรงชีวิต และพื้นฐานอาชีพเพื่อพึ่งตนเองได้
2. เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้โรงเรียนที่จัดการเรียนรวม  ในรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับสภาพความพิการในแต่ละประเภท  โดยโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม มีรูปแบบการพัฒนาระบบบริการสนับสนุนและช่วยเหลือบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ (Student Support Services : SSS) กระจายในทุกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นศูนย์รวมสื่อการเรียนรู้ นวัตกรรม Best practice และแหล่งเรียนรู้ (Resource Center) ทั้งด้านหลักสูตร การเรียนการสอนและการวัดผลเด็กพิการ ฯลฯ ให้กับโรงเรียนทั่วไปที่มีเด็กพิการเรียนร่วม และพัฒนาโรงเรียนที่จัดการเรียนร่วมที่เหลือ ที่กระจายในทุกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้เป็นโรงเรียนที่จัดการเรียนรวมเพื่อรองรับเด็กพิการเข้าเรียนในโรงเรียนใกล้บ้าน
3. เพื่อพัฒนาโรงเรียนที่จัดการเรียนรวมเข้าสู่มาตรฐานการเรียนรวม และจัดระบบประกันคุณภาพทางการศึกษาทั้งการบริหารจัดการ คุณภาพครูและคุณภาพผู้เรียน
4. เพื่อพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการพัฒนาสมรรถภาพเด็กในแต่ละประเภทความพิการได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
 
เป้าหมาย 1. เชิงปริมาณ
1. นักเรียนพิการในโรงเรียนที่จัดการเรียนรวมได้รับสิทธิและโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด
2. ครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนที่จัดการเรียนรวมได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึง
ในรูปแบบที่เหมาะสมและหลากหลายวิธีการ

3. โรงเรียนที่จัดการเรียนรวม สามารถจัดการศึกษาให้กับเด็กพิการในรูปแบบ
ที่เหมาะสม และมีโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม ได้รับการพัฒนาให้หน่วยบริการ สนับสนุนและช่วยเหลือบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ (
Student Support Services Unit: SSS) สำหรับนักเรียนพิการเรียนรวมและเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับโรงเรียนใกล้เคียงที่รับเด็กพิการเข้าเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เชิงคุณภาพ
  1. นักเรียนพิการและนักเรียนตาบอดได้เรียนรู้ผ่านสื่อสัมผัส สื่อทดลอง สื่อจำลองและเข้าถึงสาระวิชาที่เรียนรู้ตามศักยภาพรายบุคคลด้วยสื่อที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะนักเรียนตาบอดที่มีความสามารถพิเศษ
           2. โรงเรียนมีรูปแบบการบริหารจัดการห้องเรียนพิเศษที่เป็นรูปธรรมมีประสิทธิภาพ และขยายผลสู่นักเรียนตาบอดในโรงเรียนเครือข่ายหรือคู่พัฒนาหรือโรงเรียนอื่นๆ ได้อย่างมีคุณภาพ
 
ระยะเวลา 1 ต.ค. 2560 - 30 มิ.ย. 2561
สถานที่ดำเนินการ โรงเเรมไดมอนด์ จังหวัดเพชรบุรี
ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีประเมิน เครื่องมือที่ใช้ประเมิน
1.นักเรียนตาทุกคนเข้าถึงเอกสารความรู้ที่ติดบาร์โค้ดสองมิติสำหรับการอ่านออกเสียง GR
อย่างมีประสิทธิภาพ
1.สังเกต
2.ทดสอบ
แบบทดสอบ/ข้อสอบ
2.นักเรียนตาบอดทุกคนเข้าถึงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (EPUB3) อย่างมีประสิทธิภาพ 1.สังเกต
2.ทดสอบ
แบบทดสอบ/ข้อสอบ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. นักเรียนพิการในวัยเรียนทุกคนมีสิทธิ โอกาสและความเสมอภาคในการเข้ารับการศึกษาร่วมกับเด็กทั่วไป และได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพเป็นรายบุคคล
2. โรงเรียนที่จัดการเรียนรวม สามารถจัดการศึกษาให้กับเด็กพิการในรูปแบบที่เหมาะสม โดยมีโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวมที่พัฒนาให้มีระบบบริการสนับสนุนและช่วยเหลือบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ (Student Support Services : SSS) กระจายทุกอำเภอในทุกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นศูนย์รวมสื่อการเรียนรู้ นวัตกรรม Best practice เป็นแหล่งเรียนรู้ (Resource Center) ทั้งด้านหลักสูตรการเรียนการสอนและการวัดผลเด็กพิการ เป็นศูนย์กลางของการยืมหรือจัดสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ที่เด็กเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ และมีโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมและโรงเรียนทั่วไปที่จัดการเรียนร่วมที่พัฒนาเป็นโรงเรียนที่จัดการเรียนรวม เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับโรงเรียนใกล้เคียงที่รับเด็กพิการเข้าเรียน
3. โรงเรียนมีความเข้มแข็งจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน ครู ผู้ปกครอง องค์กรส่วนท้องถิ่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และศูนย์การศึกษาพิเศษ
4. ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนพิการเรียนรวม
 
สรุปคะแนนประเมิน 4.00
ไฟล์ประกอบ แบบรายงาน
ขั้นเตรียมการ ประชุมเชิงปฏิบัติการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์  (EPUB3) และผลิตเอกสารความรู้ที่ติดบาร์โค้ดสองมิติสำหรับการอ่านออกเสียง (GR)  สำหรับนักเรียนพิการและนักเรียนทุกคนที่เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้  ผู้บริหารและคณะครูโรงเรียนเขาย้อยวิทยา
ขั้นดำเนินการ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (EPUB3) และผลิตเอกสารความรู้ที่ติดบาร์โค้ดสองมิติสำหรับการอ่านออกเสียง (GR) ให้กับคณะครูโรงเรียนเขาย้อยวิทยา จำนวน 65 คน ใช้เวลาในการอบรมจำนวน 4 วัน ณ ห้องคอมพิวเตอร์โรงเรียนเขาย้อยวิทยา
 
ขั้นตรวจสอบประเมินผล จัดอบรมเชิงปฏิบัติการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (EPUB3) และผลิตเอกสารความรู้ที่ติดบาร์โค้ดสองมิติสำหรับการอ่านออกเสียง (GR) ให้กับโรงเรียนดังต่อไปนี้ รวม 62 คน เวลาในการอบรมจำนวน 3 วัน ณ ห้องประชุมมุกดา โรงแรมรอยัลไดมอนด์ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี
  -  โรงเรียนนำร่องห้องเรียนวิทย์ – คณิตฯ สำหรับนักเรียนตาบอดโดยให้ครูสอนสาระวิทยาศาสตร์ 2 คน  และครูสาระคณิตศาสตร์ 2 คน    รวมโรงเรียนละ 4 คน ได้แก่
                    1. โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย กรุงเทพมหานคร           สพม.๑
                    2. โรงเรียนโยธินบูรณะพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี              สพม.๑๐
                    3. โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา 3 จังหวัดสุราษฎร์ธานี       สพม.๑๑
                    4. โรงเรียนสุราษฎร์พิทยาคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี          สพม.๑๑
                    5. โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน จังหวัดขอนแก่น              สพม.๒๕
                    6. โรงเรียนหอพระ จังหวัดเชียงใหม่                          สพม.๓๔
 - โรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม สพม.๑๐ โดยให้ครูสอนสาระวิทยาศาสตร์ 1 คน  และครูสาระคณิตศาสตร์ 1 คน  รวมโรงเรียนละ 2 คน ได้แก่
                    1. โรงเรียนหว้ากอวิทยาลัย
                    2. โรงเรียนบางกะพ้อม (คงลาภยิ่งประชานุสรณ์)
                    3. โรงเรียนสมุทรสาครวุฒิชัย
                    4. โรงเรียนโตนดหลวง
                    5. โรงเรียนท่ายางวิทยา
                    6. โรงเรียนบางสะพานน้อยวิทยา
                    7. โรงเรียนเมืองปราณบุรี
                    8. วัดแก้วเจริญอำนวยวิทย์
                    9. โรงเรียนกระทุ่มแบน “วิเศษสมุทรคุณ”
                    10. โรงเรียนดอนยางวิทยา
                    11. โรงเรียนห้วยทรายประชาสรรค์
                    12. โรงเรียนหนองจอกวิทยา
                    13. โรงเรียนหนองชุมแสงวิทยา
                    14. โรงเรียนวชิรธรรมโสภิต
                    15. โรงเรียนหนองหญ้าปล้องวิทยา
                    16. โรงเรียนคงคาราม
                    17. โรงเรียนบ้านแหลมวิทยา
                    18. โรงเรียนบ้านลาดวิทยา
                    19. โรงเรียนแก่งกระจานวิทยา

 
ขั้นสรุปและรายงาน ผลการดำเนินงาน
1. เชิงปริมาณ
ได้เอกสารความรู้ที่ติดบาร์โค้ดสองมิติสำหรับการอ่านออกเสียง GR วิชาคณิตศาสตร์จำนวน 9 เล่ม  ประกอบไปด้วย
1. เรื่องตัวหารร่วมมากและตัวคูณร่วมน้อย                                    จำนวน 3เล่ม
2. เรื่องระบบจำนวนเสียง                                                       จำนวน 2 เล่ม
3. เรื่องเลขยกกำลัง                                                              จำนวน 3 เล่ม
4. เรื่องพื้นฐานทางเรขาคณิต                                                    จำนวน 3 เล่ม
5. เรื่องทศนิยมและเศษส่วน                                                     จำนวน 2 เล่ม
6. เรื่องการประมาณค่า                                                         จำนวน 3 เล่ม
7. เรื่องคู่อันดับและกราฟ                                                       จำนวน 3 เล่ม
8. เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว                                             จำนวน 4 เล่ม
9. เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ                  จำนวน 3 เล่ม
ได้เอกสารความรู้ที่ติดบาร์โค้ดสองมิติสำหรับการอ่านออกเสียง GR วิชาวิทยาศาสตร์จำนวน 5 เล่ม  ประกอบไปด้วย
1. เรื่องเซลล์และกระบวนการดำรงชีวิตของพืช                                จำนวน 6 เล่ม
2. เรื่องสารรอบตัว                                                               จำนวน 5 เล่ม
3. เรื่องแรงและการเคลื่อนที่                                                    จำนวน 5 เล่ม
4. เรื่องพลังงานความร้อน                                                       จำนวน 5 เล่ม
5. เรื่องบรรยากาศ                                                              จำนวน 5 เล่ม
ได้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (EPUB3) วิชาคณิตศาสตร์จำนวน   9 เล่ม  ประกอบไปด้วย
1. เรื่องตัวหารร่วมมากและตัวคูณร่วมน้อย                                     จำนวน 3 เล่ม
2. เรื่องระบบจำนวนเสียง                                                       จำนวน 2 เล่ม
3. เรื่องเลขยกกำลัง                                                              จำนวน 3 เล่ม
4. เรื่องพื้นฐานทางเรขาคณิต                                                    จำนวน 3 เล่ม
5. เรื่องทศนิยมและเศษส่วน                                                     จำนวน 2 เล่ม
6. เรื่องการประมาณค่า                                                         จำนวน 3 เล่ม
7. เรื่องคู่อันดับและกราฟ                                                       จำนวน 3 เล่ม
8. เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว                                             จำนวน 4 เล่ม
9. เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ                  จำนวน 3 เล่ม
ได้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (EPUB3) วิชาวิทยาศาสตร์จำนวน 5 เล่ม  ประกอบไปด้วย
1. เรื่องเซลล์และกระบวนการดำรงชีวิตของพืช                                จำนวน 6 เล่ม
2. เรื่องสารรอบตัว                                                               จำนวน 5 เล่ม
3. เรื่องแรงและการเคลื่อนที่                                                    จำนวน 5 เล่ม
4. เรื่องพลังงานความร้อน                                                       จำนวน 5 เล่ม
5. เรื่องบรรยากาศ                                                              จำนวน 5 เล่ม
2. เชิงคุณภาพ
ทางโรงเรียนได้มีเอกสารความรู้ที่ติดบาร์โค้ดสองมิติสำหรับการอ่านออกเสียง GR วิชาคณิตศาสตร์และวิชาวิทยาศาสตร์ และมีหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (EPUB3) วิชาคณิตศาสตร์และวิชาวิทยาศาสตร์ไว้ใช้สอนนักเรียนตาบอดอย่างทั่วถึง
 
งบประมาณ รวมทั้งสิ้นจำนวน  ๓๙๕,๐๐๐  บาท 
 
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค 1. บางโรงเรียนส่งแบบตอบรับการเข้าร่วมอบรมช้ากว่ากำหนด
2.
 ในการอบรมครั้งนี้มีโรงเรียนที่ไม่มาเข้าร่วมอบรมทำให้เนื้อหาที่แบ่งไว้ไม่มีผู้รับผิดชอบในเนื้อหาส่วนนั้น
 
ข้อเสนอแนะ จะผลิตเอกสารความรู้ที่ติดบาร์โค้ดสองมิติสำหรับการอ่านออกเสียง GR วิชาคณิตศาสตร์และวิชาวิทยาศาสตร์ และผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (EPUB3) วิชาคณิตศาสตร์และวิชาวิทยาศาสตร์ให้มากขึ้น และพยายามให้ครบทุกหน่วยการเรียนรู้
รูปภาพประกอบ