Loading...

ข้อมูลโครงการพิเศษ

  PDF

ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้

โรงเรียน : บ้านลาดวิทยา สพม.เพชรบุรี

ประเภท : โรงเรียนนำร่องโครงการตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้

ผลการประเมิน : 4

เผยแพร่เมื่อ : 13 ก.ย. 2561 โดย : Banlat3  wittaya3 จำนวนผู้เข้าชม 54 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
ประเภท โรงเรียนนำร่องโครงการตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
ปีการศึกษา 2560
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน
     2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
     2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
     2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
     2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
     3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก
     3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
     3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา ตามที่สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการได้นำพระราชดำรัสของ  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในเรื่องการศึกษาว่า   การจัดการศึกษาต้องดูภาพรวมทั้งประเทศ เพราะทุกวันนี้การศึกษาค่อนข้างอ่อนแอ และมุ่งเน้นการเรียน การสอนเนื้อหาบางเรื่องมากเกินไป ทรงมีพระราชดำริให้มีการนำองค์ ๔ แห่งการศึกษา คือ พุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษา และพลศึกษา และหัวใจนักปราชญ์ คือ สุ จิ ปุ ลิ หมายถึง การฟัง การคิด การถาม และการเขียน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของนักปราชญ์และบัณฑิต  อีกทั้งยังจะเป็นเทคนิคในการช่วยให้ผู้เรียนมี ทักษะการเรียนเก่งมากขึ้น โดยทรงมีพระราชดำริให้นำทั้งสองเรื่องมาใช้ในการจัดการศึกษา แนวทางการปฏิรูปการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม จึงทำให้รัฐบาลได้นำมากำหนดเป็นนโยบายหนึ่ง  คือ การลดเวลาเรียน   ภาควิชาการลง แต่ต้องไม่กระทบเนื้อหาหลักที่เด็กๆ ควรเรียนรู้ เพื่อเตรียมนักเรียนให้พร้อมเข้าสู่ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ของไทยนั้น สอดคล้องกับของหลายประเทศที่เป็นผู้นำด้านการศึกษาของโลก ที่ เห็นพ้องกันกับแนวคิดสำคัญในศตวรรษที่ ๒๑ เรื่องของจิตสำนึกต่อโลก ความรู้พื้นฐานการประกอบ     สัมมาอาชีพ ความรู้พื้นฐานด้านพลเมือง สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑   อันได้แก่ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี ทักษะการทำงาน ทักษะ ชีวิตที่ใช้ได้จริง
วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อขับเคลื่อนนโยบายตามโครงการ “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ สพฐ. และการบริหารจัดการเวลาเรียน ทั้งด้านวิชาการ และด้านปฏิบัติ
๒. เพื่อขับเคลื่อนการนำหลักสูตรสถานศึกษา ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักการ ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑  ส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มี คุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑
๓. เพื่อนักเรียนพึงพอใจที่ได้เรียนรู้ตามความสนใจและถนัดของตนเอง และพัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพและทักษะทั้ง ๔ ด้าน คือ Heart  Hand  Head  Health
 
เป้าหมาย  เชิงปริมาณ     ๑.) นักเรียนทุกระดับชั้น น เข้าร่วมโครงการ
เชิงคุณภาพ     ๑.) นักเรียนร้อยละ ๑๐๐  เข้าร่วมกิจกรรม
                       ๒.) นักเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๕ มีความพึงพอใจ ในการจัดกิจกรรม ในระดับดี
ระยะเวลา 16 พ.ค. 2560 - 31 มี.ค. 2561
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนบ้านลาดวิทยา
ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีการประเมิน เครื่องมือ
๑.) นักเรียนทุกคนเข้าร่วมโครงการ สรุปจำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ แบบสรุปจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 
๒.) นักเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๕ ขึ้นไป มีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ในระดับดีขึ้นไป สอบถามความพึงพอใจ แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียน
การสอน 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.นักเรียนมีทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  มีความสนใจ สามารถ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
 2.นักเรียนมีผลงานที่เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  จากงานที่ตัวเองสนใจ

3.ได้ขับเคลื่อนนโยบายตามโครงการ “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ สพฐ. และการบริหารจัดการเวลาเรียน ทั้งด้านวิชาการ และด้านปฏิบัติ
4.ได้ขับเคลื่อนการนำหลักสูตรสถานศึกษา ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักการ ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑  ส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มี คุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑
5.นักเรียนมีพึงพอใจที่ได้เรียนรู้ตามความสนใจและถนัดของตนเอง และพัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพและทักษะทั้ง ๔ ด้าน คือ Heart  Hand  Head  Health
 
สรุปคะแนนประเมิน 4
ไฟล์ประกอบ ประมวนรูปทักษะ2560.docx
ขั้นเตรียมการ
วางแผน (Plan)
๑.) ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน
๒.)เสนอโครงการและแผนงานแก่ผู้บริหาร
ดำเนินการ(Do) ตามแผนที่กำหนด คือ
๑). กิจกรรมลดเวลาเพิ่มเวลารู้
 
ตรวจสอบประเมินผล (Check)
๑.) สรุปกิจกรรมแต่ละกิจกรรม
๒.) สังเกต ประเมินชิ้นงาน
๓.) สอบถามความพึงพอใจ
ปรับปรุง (Action)
๙.) คณะกรรมการประชุมสรุปโครงการเสนอผู้บริหาร
ขั้นดำเนินการ โรงเรียนได้ดำเนินการตามโครงการ “ลดเวลาเรียน  เพิ่มเวลารู้” ซึ่งเป็นไปตามบริบทของโรงเรียนที่มุ่งเน้นให้นักเรียนได้คิดออกแบบกิจกรรมด้วยตนเองโดยได้ดำเนินงาน  ดังนี้
  • พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและปรับโครงสร้างเวลาเรียนและจัดทำตารางเรียนให้เหมาะสมกับการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน  เพิ่มเวลารู้”
  • ทำความเข้าใจกับคณะครู  นักเรียน และผู้ปกครอง เพื่อให้นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมได้ตอบสนองความต้องการและวุฒิภาวะของผู้เรียน
  • ส่งเสริม สนับสนุน ปัจจัยให้เอื้อต่อการจัดกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ
  • กำกับ ติดตามการจัดกิจกรรมอย่างเป็นระบบ

โรงเรียนได้กำหนดบทบาทสำหรับครู นักเรียน  วิทยากรที่นักเรียนจะปรึกษาตามแต่กิจกรรมที่ตนเองถนัด
สำหรับครูที่ปรึกษา
๑. ให้คำแนะนำในการวางแผนการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน
๒. รวบรวมและสรุปผลการเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียน เมื่อนักเรียนปฏิบัติกิจกรรมเสร็จเรียบร้อย
สำหรับครู/วิทยากร
๑. ให้คำปรึกษา  แนะนำ อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน
๒. ลงลายมือชื่อเมื่อนักเรียนสิ้นสุดการปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละวัน
สำหรับนักเรียน
๑. ให้นักเรียนวางแผนกิจกรรมการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้  วันจันทร์ ชั่วโมงที่ ๖-๘ โดยมีครูที่ปรึกษาให้คำแนะนำ
๒. ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมตามที่วางแผนไว้ให้ครบถ้วน  และให้ครู/วิทยากรในแต่ละวัน
๓. ให้นักเรียนสรุปผลการปฏิบัติกิจกรรม สัปดาห์ละ  ๑ ครั้ง  ส่งครูที่ปรึกษาใน  พร้อมทั้งวางแผนกิจกรรมในสัปดาห์ต่อไป
๔. ครูที่ปรึกษารวบรวมผลการปฏิบัติกิจกรรมและสรุปผลเมื่อสิ้นภาคเรียน
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ตรวจสอบประเมินผล (Check)
๑.) สรุปกิจกรรมแต่ละกิจกรรม
๒.) สังเกต ประเมินชิ้นงาน
๓.) สอบถามความพึงพอใจ
ขั้นสรุปและรายงาน สรุปผลการจัดกิจกรรมแต่ละกิจกรรมโดยการจัทำรายงานผลและประเมินกิจกรรม
งบประมาณ -
การบรรลุตัวชี้วัด จากการประเมินตามตัวชี้วัดที่ตั้งไว้ บรรลุตามตัวชี้วัดที่ตั้งไว้
๑.) นักเรียนทุกคนเข้าร่วมโครงการ
๒.) นักเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๕ ขึ้นไป มีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ในระดับดีขึ้นไป
ความพึงพอใจ สรุปผลการประเมินความพึงพอใจ กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
โรงเรียนบ้านลาดวิทยา อ. บ้านลาด จ. เพชรบุรี  
ปีการศึกษา 2560
 
รายการประเมิน ระดับความพึงพอใจ
มากที่สุด มาก ปลานกลาง น้อย น้อยที่สุด
1.มีทักษะในการประกอบอาชีพ 45.10% 26.51% 3.92%    
2.มีความสามัคคีในการทำงานกลุ่ม 23.53% 45.10% 25.49% 5.88%  
3.มีความสุขกับการทำกิจกรรม 47.06% 45.10% 7.84%    
4.มีทักษะในการแก้ปัญหา 29.41% 58.82% 11.76%    
5.มีทักษะการวางแผนการทำงาน 31.37% 50.98% 17.65%    
6.มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 39.22% 37.25% 23.53%    
7.มีความกล้าแสดงออก 33.33% 39.22% 27.45%    
8.มีรายได้เสริมระหว่างเรียน 64.71% 31.37% 1.96%   1.96%
9.มีความรู้เกี่ยวกับการทำบัญชี รายรับ -รายจ่าย 52.94% 33.33% 11.76% 1.96%  
10.มีความรู้เกี่ยวกับการลงทุน กำไร ขาดทุน 66.67% 29.41% 1.96% 1.96%  
11.รู้จักคุณค่าของเงิน 78.43% 17.65% 1.96% 1.96%  

ผลที่ได้จากกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ กลุ่มอาชีพ “ตามความสนใจ” ดังนี้
  1. รู้จักคุณค่าของเงิน (78.43%)
  2. มีความรู้เกี่ยวกับการลงทุน กำไร ขาดทุน (66.67%)
  3. มีรายได้เสริมระหว่างเรียน (64.71%)
  4. มีความรู้เกี่ยวกับการทำบัญชี รายรับ –รายจ่าย (52.94%)
  5. มีความสุขกับการทำกิจกรรม (47.06%)
  6. มีทักษะในการประกอบอาชีพ (45.10%)
  7. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (39.22%)
  8. มีความกล้าแสดงออก (33.33%)
  9. มีทักษะการวางแผนการทำงาน (31.37%)
  10. มีทักษะในการแก้ปัญหา (29.41%)
  11. .มีความสามัคคีในการทำงานกลุ่ม (23.53%)

 
ปัญหาและอุปสรรค บางกิจกรรมนักเรียนคิดไว้แต่ไม่ได้ลงมือปฏิบัติ  เนื่องจากติดปัญหาเรื่องเงินงบประมาณ หรืออาจต้องใช้เวลาในการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องหลายชั่วโมง
ข้อเสนอแนะ ควรจัดสรรเรื่องงบประมาณมาให้บ้าง
รูปภาพประกอบ