ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
โรงเรียนมาตรฐานสากล |
ประเภท |
โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School) |
ปีการศึกษา |
2561 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน 2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา 2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย 2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ 2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ 2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้ 3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก 3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน 3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ |
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
โครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล เป็นนวัตกรรมการจัดการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมาใช้เป็นมาตรการเร่งด่วนในการยกระดับการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐานเทียบเท่าสากลผู้เรียนมีศักยภาพและความสามารถทัดเทียมผู้เรียนของนานาประเทศในปี 2551 สถาบันนานาชาติเพื่อการจัดการศึกษา IMD ได้จัดอันดับรวม 55 ประเทศ ประเทศไทยมีดัชนีด้านสมรรถนะภาพรวมการศึกษาได้อันดับที่ 43 ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาปรากฏผลให้เห็นว่าผลสัมฤทธิ์การศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวมได้คะแนนต่ำในการประเมินคุณภาพโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพบว่าโรงเรียนที่ไม่ได้เกณฑ์ตามมาตรฐานที่กำหนดมีถึงร้อยละ 65 แต่สิ่งที่เป็นปัญหาสำคัญคือ ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและคุณภาพการศึกษารวมทั้งคุณภาพของผู้เรียนด้านความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และ มีวิสัยทัศน์มีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ไม่ปรากฏผลให้เห็นเป็นรูปธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม อะไรเป็นสาเหตุจากการศึกษาวิเคราะห์ เชิงเปรียบเทียบ และเทียบเคียง หลักสูตรของหลายๆประเทศ นักวิชาการด้านการศึกษาผู้รับผิดชอบโครงการ พบจุดอ่อนของหลักสูตรของการศึกษาไทยซึ่งเป็นความแตกต่างจากหลักสูตรของประเทศอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบเคียงหลักสูตรไทยกับหลักสูตรของโรงเรียนนานาชาติ พบว่าหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความสำคัญกับการเรียนสาระการเรียนรู้เป็นลำดับแรกและให้ความสำคัญน้อยมากในเรื่องของการพัฒนาผู้เรียนด้านความสามารถในด้านการคิด กอรปกับปัจจุบันเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่สถานศึกษาจะต้องพัฒนา “ หลักสูตรสถานศึกษา ” ให้เชื่อมโยงสอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ การเรียนรู้ภาษายุคดิจิตัล ความสามารถในการสื่อสาร มีการคิดประดิษฐ์และสร้างงาน สามารถผลิตผลงานที่มีคุณภาพสูงเมื่อปี 2554 อีกทั้งเป็นโรงเรียนต้นแบบในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โดยเพิ่มเติมสาระความเป็นสากล 4 สาระ ได้แก่ ทฤษฎีความรู้ (Theory of Knowledge : TOK)การเขียนความเรียงขั้นสูง (Extended-Essay) โลกศึกษา (Global Education)และกิจกรรมสร้างสรรค์ประโยชน์ (Creativity, Action, Service : CAS)และให้ความสำคัญในการฝึกทักษะภาษาอังกฤษอย่างเข้มข้น เพื่อต่อยอดความรู้จากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑รวมทั้งเพิ่มความเข้มข้นในการเรียนรู้ให้มีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และเรียนภาษาต่างประเทศที่ 2 อีกหนึ่งภาษา เพื่อให้ผู้เรียนเป็นเยาวชน คนรุ่นใหม่ที่มีคุณลักษณะทัดเทียมกับนานาประเทศ และเพิ่มเครือข่ายการพัฒนาครบทุกโรงเรียน ตั้งแต่ปี 2558 |
วัตถุประสงค์ |
1. เพื่อเตรียมความพร้อมการรับการประเมินการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล
2. เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษา ยกระดับการบริหารการจัดการศึกษา และปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ให้มีประสิทธิภาพในการนำไปจัดกระบวนการเรียนการสอน การใช้สื่อเทคโนโลยี และการวัดประเมินผล ส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะเป็นพลโลก รองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน |
เป้าหมาย |
1) ผู้เรียนร้อยละ 80 ได้รับการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เทียบเคียงมาตรฐานสากล มีศักยภาพเป็นพลโลก มีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร พร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
2) ครูและบุคลากรร้อยละ ๘๐ทบทวน ปรับเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้ทันสมัย และพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ ตามรูปแบบที่เป็นสากล เน้นการปฏิบัติจริง และประเมินผลงานตนเองได้
3) ครูทุกคนมีความตระหนัก เห็นความสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และสามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในระดับเบื้องต้นได้
|
ระยะเวลา |
15 พ.ค. 2560 - 29 ก.ย. 2560 |
สถานที่ดำเนินการ |
โรงเรียนสายบุรี |
ตัวชี้วัด |
1. โรงเรียนผ่านการประเมินโรงเรียนมาตรฐานสากล
2. โรงเรียนสนับสนุนการสร้างผลงานของครู นักเรียน โรงเรียน และเผยแพร่สู่ชุมชน
3. นักเรียนทุกคนสามารถตั้งคำถาม ตั้งสมมติฐาน และศึกษาค้นคว้าอย่างอิสระด้วยตนเอง เพื่อหาคำตอบและสรุปองค์ความรู้ได้
4. นักเรียนทุกคนสามารถสื่อสาร เขียน นำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า โดยใช้สื่อที่เหมาะสมได้ โดยมีแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้
5. นักเรียนทุกคนสามารถประยุกต์องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองไปสู่การปฏิบัติหรือนำไปใช้ เพื่อประโยชน์แก่สังคม |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
- กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ได้พัฒนาเหมาะสมกับการศักยภาพผู้เรียน
- นักเรียนได้พัฒนาการเรียนรู้ มีแนวทางการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ
- ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทุกระดับให้สูงขึ้น
|
สรุปคะแนนประเมิน |
5.00 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
- ประชุม/วางแผนแต่ละฝ่ายงาน
- กำหนดโครงการ
- เสนอโครงการ เพื่ออนุมัติ
|
ขั้นดำเนินการ |
กิจกรรมที่ ๑ งานนำเสนอผลงาน
- จัดเวทีนำเสนอผลงาน อย่างน้อย ภาคเรียนละ ๑ ครั้ง
- จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์การนำเสนอผลงานของนักเรียน
- จัดทำเอกสารเกี่ยวกับการนำเสนอผลงานของนักเรียนและโรงเรียน
กิจกรรมที่ ๒ งานแข่งขันทักษะความสามารถทางวิชาการ
- ดูแล/จัดเตรียม/ฝึกซ้อมนักเรียน โดยประสานกับกลุ่มสาระการเรียนรู้
- นำนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันทักษะทางวิชาการ
|
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
- ติดตามและประเมินการดำเนินงาน
|
ขั้นสรุปและรายงาน |
สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน |
งบประมาณ |
35,000 |
การบรรลุตัวชี้วัด |
บรรลุครบทุกตัวชี้วัด |
ความพึงพอใจ |
อยู่ในระดับมาก |
ปัญหาและอุปสรรค |
การสนับสนุนงบประมาณในแต่ละปีค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับการดำเนินการจัดกิจกรรมในแต่ละกิจกรรม |
ข้อเสนอแนะ |
- |
รูปภาพประกอบ |

|