ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
โครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
ประเภท |
โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง |
ปีการศึกษา |
2561 |
มาตรฐาน |
2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน 2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา 2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย 2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
|
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
“เศรษฐกิจพอเพียง”เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยโดยตลอด รวมถึงการพัฒนาและบริหารประเทศตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง คำว่า “พอเพียง หมายถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่ต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี จากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการทำงานทุกขั้นตอน ขณะเดียวกันต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติทุกระดับให้มีจิตสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ตลอดจนดำเนินวิถีชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียร มีสติ และความรอบคอบเพื่อให้มีสมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอก”
โรงเรียนดอนฉิมพลีพิทยาคมจึงได้น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้และบูรณาการเข้ากับกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
|
วัตถุประสงค์ |
1. เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยการขับเคลื่อนวิถีเศรษฐกิจพอเพียงสู่ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
2. เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงลงสู่การปฏิบัติของโรงเรียน
อย่างยั่งยืน
3. เพื่อส่งเสริมให้ครู นักเรียน และชุมชน เกิดความตระหนัก และมีเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
|
เป้าหมาย |
เชิงปริมาณ
1) ครูร้อยละ 100 จัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2) นักเรียนร้อยละ 90 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3) ผู้ปกครอง และชุมชนร้อยละ 90 ให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เชิงคุณภาพ
1) ครูสามารถจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2) นักเรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมและปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3) ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง
|
ระยะเวลา |
13 ก.ย. 2561 - 13 ก.ย. 2561 |
สถานที่ดำเนินการ |
โรงเรียนดอนฉิมพลีพิทยาคม |
ตัวชี้วัด |
1. ครูร้อยละ 100 จัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. นักเรียนร้อยละ 90 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. ผู้ปกครอง และชุมชนร้อยละ 90 ให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4. ครูสามารถจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. นักเรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมและปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
6. ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
1. ครู และนักเรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้มีทักษะการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต
2. โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนของชุมชน ครู นักเรียน ผู้ปกครองภาคภูมิใจพึงพอใจและเป็นที่ยอมรับของชุมชน
|
สรุปคะแนนประเมิน |
0.00 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
- ประชุมวางแผน
- เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
- แต่งตั้งคณะกรรมการวางแผนดำเนินกิจกรรมต่างๆตามโครงการ |
ขั้นดำเนินการ |
- การจัดกิจกรรมโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง ดังนี้
- กิจกรรมบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- กิจกรรมพอเพียงตามรอยเท้าพ่อ
- กิจกรรมจิตอาสา
- กิจกรรมคนดีศรีดอนฉิมพลี
- กิจกรรมสองศาสนาสองวัฒนธรรมร่วมใจถักทอสายใยรักสู่ชายแดน
- กิจกรรมเวทีคนดีสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรม
- กิจกรรมคุณธรรมนำชีวิต
- กิจกรรมครอบครัวคุณธรรม
- กิจกรรมสืบสานวัฒนธรรมไทย
- กิจกรรมตลาดนัดพอเพียง |
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
- ประเมินผลการดำเนินการ
- ติดตามการดำเนินงาน
|
ขั้นสรุปและรายงาน |
สรุปการดำเนินงานและนำเสนอผลการดำเนินงาน |
งบประมาณ |
ใช้งบประมาณทั้งหมดจำนวน 10,000 บาท |
การบรรลุตัวชี้วัด |
|
ความพึงพอใจ |
|
ปัญหาและอุปสรรค |
|
ข้อเสนอแนะ |
|
รูปภาพประกอบ |
|