ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
โครงการโรงเรียนสุจริต |
ประเภท |
โรงเรียนเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา(โรงเรียนสุจริต) |
ปีการศึกษา |
2563 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
|
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ดำเนินการจำทำโครงการ “โรงเรียนสุจริต” (Upright School) ซึ่งเป็นโครงการที่มีการจัดการเรียนการสอน ที่เน้นถึงความสำคัญของการคิดอย่างมีเหตุผล คุณค่าความดี การรู้ผิดชอบชั่วดี การภูมิใจในการทำความดีและรังเกียจการโกง รวมถึงการเติบโตไปเป็นคนเก่ง
ที่ไม่โกง
การเรียนการสอน แบบดังกล่าว เริ่มขึ้นจากการฝึกสอนเด็กในเรื่องง่ายๆ อย่างเช่น การเคารพกฎกติกาสังคมพื้นฐาน อย่างการรู้จักต่อแถว ไม่พูดปด เพื่อให้เมื่อเด็กเติบโตไปจะได้สามารถเคารพกฎของสังคมที่ใหญ่
ขึ้นได้ สพฐ. ได้ตั้งความหวังไว้ว่า เมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 นั้น เด็กไทยจะมีทั้งความเป็นไทย และมีความกล้าหาญทางจริยธรรมควบคู่กันไป ดังนั้น นอกจากการจัดกิจกรรมฝึกอบรมจริยธรรมให้เด็กๆ แล้ว โรงเรียนต่างๆ ที่เข้าร่วมในโครงการ “โรงเรียนสุจริต” ก็ยังได้ร่วมปฏิญญาตน ดังนี้:
- เราจะร่วมมือกันป้องกันและต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ
- เราจะปลูกฝังค่านิยมความซื่อสัตย์สุจริตระหว่างโรงเรียนและชุมชนให้เป็น รูปธรรมและ
มีความยั่งยืน
- เราจะสร้างเครือข่ายความซื่อสัตย์สุจริตระหว่างโรงเรียน และชุมชน ให้เป็นรูปธรรมและ
มีความยั่งยืน
สพฐ. ยังมีความคาดหวังอีกว่าเครือข่ายดังกล่าวจะไม่หยุดอยู่เพียงในโรงเรียน แต่จะต้องสะท้อนไปสู่พ่อแม่ผู้ปกครอง ให้รับรู้และร่วมดำเนินกิจกรรมด้วย ควบคู่กันไปกับการแก้ปัญหาสังคมไทยปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงที่เต็มไปด้วยการเอารัดเอาเปรียบ การทุจริต (Corruption) และความอยุติธรรมต่างๆ
สพฐ. กล่าวว่า รัฐบาล ได้พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง จัดตั้งองค์กรอิสระในการดำเนินงาน พัฒนา กระบวนการตรวจสอบ ที่เข้มงวดรัดกุม ไปจนถึงสร้างเครือข่ายความร่วมมือกันในทุกภาคส่วนของสังคม
อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหา “เชิงรับ” หรือการแก้ปัญหาที่ “ปลายเหตุ” แบบนี้ ไม่สามารถทำให้ปัญหาหมดไปอย่าง ถาวร เนื่องจากมีภาระค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ดังนั้นจึงเกิดมีการเสนอแนะวิธีแก้ปัญหา “เชิงรุก” หรือการแก้ปัญหาที่ “ต้นเหตุ” ซึ่งสะท้อนออกมาในรูปของโครงการ “โรงเรียนสุจริต” ขึ้น
ดังนั้นฝ่ายกิจการนักเรียน โรงเรียนทุ่งกะโล่วิทยา จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีระบบและวิถีพอเพียง มีความสุจริต รับผิดชอบ ปลอดอบายมุข และเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เน้นทักษะกระบวนการคิด มีจิตสาธารณะ มีความซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรมและป้องกันการทุจริตให้เกิดกับผู้เรียน
|
วัตถุประสงค์ |
- นักเรียนมีกระบวนการเรียนรู้ที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีทักษะกระบวนการคิด มีวินัย มีความ
ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียงมีจิตสาธารณะ ยึดมั่นในคุณธรรมและป้องกันการทุจริต
- ครู ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนทุ่งกะโล่วิทยามีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริต
|
เป้าหมาย |
- ร้อยละ 80 ของนักเรียน ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ การปลูกจิตสำ นึกมีความเข้าใจและประยุกต์ใช้หลักทักษะกระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์ อยู่อย่างพอเพียงมีจิตสาธารณะ ยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรมในการดำ เนินชีวิตและต่อต้านการทุจริต
- ร้อยละ 100 ของครูและบุคลากร ที่ผ่านกระบวนการพัฒนาระบบงานแบบวิถีพอเพียง มีความสุจริต มีความรับผิดชอบ ปลอดอบายมุขและมีการเรียนรู้และจัดการความรู้อย่างเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง
|
ระยะเวลา |
1 ต.ค. 2563 - 30 ก.ย. 2564 |
สถานที่ดำเนินการ |
|
ตัวชี้วัด |
1. นักเรียนมีกระบวนการเรียนรู้ที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีทักษะกระบวนการคิด มีวินัย มีความซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียงมีจิตสาธารณะ ยึดมั่นในคุณธรรมและป้องกันการทุจริต
2. ครู ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียน ทุ่งกะโล่วิทยามีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริต
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
- นักเรียนมีกระบวนการเรียนรู้ที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีทักษะกระบวนการคิด มีวินัย
มีความซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียงมีจิตสาธารณะ ยึดมั่นในคุณธรรมและป้องกันการทุจริต
- ครู ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนทุ่งกะโล่วิทยามีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริต
|
สรุปคะแนนประเมิน |
0.00 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติจากผู้บริหาร
2. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคระกรรมการดำเนินงานตามโครงการ
3. ประชุมคระกรรมการเพื่อวางแผนการดำเนินงาน |
ขั้นดำเนินการ |
โรงเรียนได้ดำเนินงานตามโครงการ/ งาน /
กิจกรรม ดังต่อไปนี้
1. งานค่ายเยาวชนคนดีศรี ท.ว.
2. กิจกรรมปลูกจิตสำนึกเด็ก ท.ว. โตไปไม่โกง"
3. กิจกรรมเด็ก ท.ว. สุจริต มีจิตสาธารณะ
4. กิจกรรม 5 ห้องชีวิตพิชิตนิสัย
คุณลักษณะ 5 ประการ
- ทักษะกระบวนการคิด
- มีวินัย
- ซื่อสัตย์
- อยู่อย่างพอเพียง
- มีจิตสาธารณะ
5. กิจกรรมโรงเรียนสุจริตพอเพียง
6. เยาวชนรุ่นใหม่มีวินัย ใส่ใจการออม
7. กิจกรรมเยาวชนวัยใส รักษ์ ห่วงใย ใส่ใจ
สิ่งแวดล้อม |
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
1. แบบสอบถาม
2. สังเกตพฤติกรรม
3. จัดทำเอกสารรวบรวมผลงาน |
ขั้นสรุปและรายงาน |
1. สรุปผลการดำเนินโครงการ
2. รายงานผู้บริหาร |
งบประมาณ |
จำนวนเงิน 1,000 บาท |
การบรรลุตัวชี้วัด |
1. นักเรียนมีกระบวนการเรียนรู้ที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีทักษะกระบวนการคิด มีวินัย มีความซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียงมีจิตสาธารณะ ยึดมั่นในคุณธรรมและป้องกันการทุจริต
2. ครู ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียน ทุ่งกะโล่วิทยามีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริต
|
ความพึงพอใจ |
ค่าเฉลี่ย 4.43 |
ปัญหาและอุปสรรค |
ไม่มี |
ข้อเสนอแนะ |
ไม่มี |
รูปภาพประกอบ |
|